Tuesday, April 16, 2013

อ้อยแดง (อังกฤษ:Sugar-cane)


อ้อย หรือ อ้อยแดง (อังกฤษ:Sugar-cane, ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum officinarum Linn. GRAMINEAE ) ชื่ออื่นคือ อ้อยขม หรืออ้อยดำ เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก
อ้อยมีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อและสีของลำต้น อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อ้อยที่นำมาคั้นน้ำสำหรับดื่ม เป็นอ้อยที่ปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว ประชาชนเรียกว่า อ้อยเหลือง หรือ อ้อยสิงคโปร์ นิยมปลูกกันมากในบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็นต้น
 

พ.ศ. 2550 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยขึ้นมาใหม่ คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 80 ซึ่งได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ 85-2-352 กับพันธุ์พ่อ K84-200 ใช้ระยะเวลาคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์นานกว่า 11 ปี มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตในอ้อยปลูกน้ำหนักเฉลี่ย 17.79 ตัน/ไร่ ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.66 ตันซีซีเอส/ไร่ นอกจากนี้ยังสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ดำได้ระดับปานกลางด้วย
ตำรายาไทยใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำ แบ่งดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองในและขับนิ่ว แพทย์พื้นบ้านใช้ขับเสมหะ รายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง
 
จากการเก็บข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในช่วงเดือน มกราคม 2551 ถึงเดือนธันวาคม 2551 พบว่าน้ำตาลทรายทั้งน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ มียอดจำหน่ายรวม 4,882,364.75 ตัน มูลค่าทั้งสิ้น 47,534,165,415.53 ล้านบาท ดังนั้นเป็นตัวชี้ว่า อ้อย เป็นพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ocsb.go.th/uploads/contents/43/attachfiles/F8574_ExportInt01122551.pdf
 
โรคของอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ โรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ โรคใบขาว โรคกอตะไคร้ โรคใบขีดแดงและยอดเน่า โรคเน่าคออ้อย โรครากโคนเน่าจากเชื้อเห็ด โรคกลิ่นสัปปะรด โรคลำต้นเน่า โรคเหี่ยว โรครากเน่า โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม
ข้อมูลจาก :: ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี
 
แมลงศัตรูอ้อยที่ สำคัญ  ได้แก่ หนอนกอลายเล็ก (ลายจุดเล็ก) , หนอนกอลายจุดใหญ่,หนอนกอสีชมพู , หนอนกอสีขาว, ด้วงหนวดยาวอ้อย,ด้วงงวงอ้อย,ตั๊กแตนปาทังก้า,ตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส หรือตั๊กแตนข้าว,ตั๊กแตนโลกัสต้า,เพลี้ยอ่อนสำลี,เพลี้ยแป้งสีชมพู
,แมลง หวี่ขาวอ้อย,เพลี้ยกระโดดดำ,มวนอ้อย,เพลี้ยหอยอ้อย,แมลงนูนหลวง,หนอนบุ้ง, ตั๊กแตนไมเกรทอเรีย,ตั๊กแตนผี,จิ้งหรีดทองดำ,เพลี้ยจั๊กจั่นแดง,เพลี้ยจั๊ก จั่นหัวเหลือง,เพลี้ยจั๊กจั่นอ้อยสีน้ำตาล,เพลี้ยไก่แจ้อ้อย,เพลี้ยกระโดดไพ ริลล่า,เพลี้ยอ่อนอ้อย,ด้วงกว่าง,ด้วงกุหลาบ,หนอนกัดโคนหน่ออ้อย,แมลงดำหนาม อ้อย,หนอนสีครีม,หนอนเจาะยอดอ้อยผีเสื้อสีขาวขนสีน้ำตาล,หนอนเจาะยอดอ้อย ผีเสื้อสีขาวขนสีชมพู,หนอนเจาะยอดอ้อยลายจุด,ไรอ้อยใยสีขาว,ไรอ้อยสีแดงหรือ ไรข้าวฟ่าง,หนอนกอลายใหญ่,ปลวก 
 
เข้าชมข้อมูลแมลงศัตรูธรรมชาติเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaibiocontrol.org

0 comments:

Post a Comment