Sunday, January 6, 2013

อ้อยสายพันธู์ต่างๆ

อ้อยสายพันธู์ต่างๆ

ขอนแก่น3
  พันธุ์อ้อยแนะนำจากหน่วยงานต่าง ๆ
พันธุ์จากต่างประเทศ คือ
จากไต้หวัน ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษร เอฟ. (F) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น อาร์โอซี. (ROC-Taiwan Republic of Chian) มี พันธุ์ เอฟ.140, เอฟ.154, เอฟ.156, อาร์โอซี.1, อาร์โอซี.10
จาก ฟิลิปปินส์ (ฟิล-Phill) มีพันธุ์ ฟิล. 58-260, ฟิล.63-17, ฟิล.66-07 (มาร์กอส-Marcos) และ ฟิล. 67-23
จากออสเตรเลีย จากรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) มี คิว.83, คิว.130 และจากเอกชน ซีเอสอาร์ .(CSR-Colonial Sugar Refining Co.) คือไตรตัน (Triton)
จากอินเดีย ซีโอ. (CO – Coimbatore) มีพันธุ์ ซีโอ.419, ซีโอ.1148, ซีโอ.62-175
จากฮาวาย เอช. (H-Hawaii) H.483166 H.47-4911 (เอฟ.ใบลาย)
พันธุ์อ้อยที่เกิดในประเทศไทย โดย นักวิชาการชาวไทย คือ
พันธ์จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) โดยศูนย์เกษตรอ้อยภาคกลาง ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ชื่อย่อว่า เค.(K) พันธุ์ เค. ทั้งหลาย ได้แก่ เค.76-4, เค.84-69, เค.84-200, เค.86-161, เค.88-87 , เค.88-92 และ เค.92-102
พันธุ์อู่ทอง จากสถาบันวิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง มีพันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 และอู่ทองแดง (80-1-128)
พันธุ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (กพส.-Kps) ได้แก่ พันธุ์ ม.ก.50, พันธุ์ กพส.85-2 (85-11-2), กพส.89-20 และ กพส.89-26
ในจำนวนนี้พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด คือ เค.84-200 ซึ่งปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และกำลังขยายไปในภาคอื่น ๆ การปลูกอ้อยพันธุ์เดียวเกินกว่าร้อยละ 30 นับว่าเสี่ยงมากเพราะถ้าอ้อยพันธุ์นี้เกิดโรคระบาดรุนแรงก็จะเสียหายมากเช่น เดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปลูกพันธุ์มาร์กอสมากกว่า 40% ขณะนี้อ้อยตอของพันธุ์มาร์กอสกำลังเป็นโรคมาก โดยเฉพาะอ้อยตอ หลังจากไถรื้อตอแล้วชาวไร่ควรหาอ้อยพันธุ์ใหม่มาปลูกทดแทน


http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=33665

0 comments:

Post a Comment