Saturday, May 18, 2013

การปลูกอ้อย ด้วยวิธี SSI + ดูงานโครงการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่


เป็นทางเลือกในการเพิ่มผลผลิต อ้อย และลดการสูญเสียของท่อนพันธุ์ลงได้

หลังจากผมลงบันทึกแรก

เรื่อง ตามติดชีวิตเกษตรกร ไปในตอนแรก

เป็นเรื่องของ "การจัดระเบียบการปลูกข้าว"

ไปแล้ว ก็เป็นตอนที่สอง มาว่ากันด้วย "อ้อย"

ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ



เป็นแนวทางศึกษาเเบบเปรียบเทียบในการหาวิธีการเพาะปลูกในแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่(Yield) การลดต้นทุนการผลิต เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม และรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย


เรื่องข้าว ก็เป็นวิธีการเเบบ SRI ติดตามข้อมูลได้ที่

http://info.worldbank.org/etools/docs/library/245848/overview.html

เรื่องอ้อย ก็เป็นวิธีการเเบบ SSI ติดตามข้อมูลได้ที่

http://assets.panda.org/downloads/ssi_manual.pdf 

สรุปย่อ

เป็นแนวทางปลูกอ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ส่งเสริมในอินเดีย

ลดการใช้ท่อนพันธุ์ลง ใช้เฉพาะตาอ้อย

ลำอ้อยที่เหลือ ก็เอาไปขายได้

แตกต่างจากวิธีการเพาะปลูกเเบบเดิม ที่ใช้

อ้อยทั้งลำ ใส่ลงในเครื่องปลูก และผ่านชุดตัดท่อน และวางลงในดิน (มีเปอร์เซนต์ในการสูญเสียมากกว่า อาจตาย หรือไม่งอก)

วิธีนี้เอาตาอ้อย มาอนุบาล ก่อนลงเเปลงปลูก 25-35 วันในกะบะหลุม แล้วบ่มให้รากงอก ก่อนลงเเปลงเเผ่

ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพการปลูกได้มากขึ้น (จำนวนต้นต่อไร่)

 

อ้อย มีพื้นที่ว่าง รับแสง ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร (5 ฟุต) และปลูกเเบบสลับฟันปลา เพื่อไม่ให้อ้อยเบียดเเย่งเเสงกัน อ้อยมีการแตกลำ ได้มากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต ต่อไร่

 

พัฒนาการคล้าย การทำนาดำ ด้วยรถ คือมีการอนุบาลกล้า ก่อนลงเเปลงปลูก

ก่อนการใช้รถปักดำ ครับ

ข้อจำกัดด้วยวิธีนี้ ยังไม่สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ (ปลูกในเเปลงใหญ่)  ต้องใช้เครื่องปลูกต้นอ้อย อนุบาลมาต่อยอด สามารถทดลองปลูกในพื้น ก่อนได้ครับ สำหรับชาวไร่อ้อย ที่มีพื้นที่น้อย ครับ


ตามไปชม...> อ้อยในประเทศไทย

โครงการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่

นับเป็นความภูมิใจของกลุ่มวังขนาย และมุ่งมั่นที่จะนำความสำเร็จนี้ขยายสู่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดได้ อีกทั้งยังรองรับแผนการขยายอ้อยพันธุ์ดีเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกขยายพันธุ์ในรูปแบบอ้อยอินทรีย์ ซึ่งเป็นอ้อยธรรมชาติบริสุทธิ์ที่นำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ที่แท้จริงได้ในที่สุด

ที่มา:

http://www.wangkanai.co.th/new/activity.php?Id=109

http://wangkanai.co.th/new/activity.php?Id=108



ในอนาคตคาดว่า น่าจะมีรถสำหรับปลูกด้วยวิธีการดังกล่าวได้

ตาม concept เดิมครับ

0 comments:

Post a Comment