Tuesday, April 16, 2013

รถตัดในความชอบแบบจริงๆจังๆ




รถตัดในความชอบแบบจริงๆจังๆ เพื่อเหมาะสมกับ บอร์ด สอน. มีดังนี้(ขอเรียนว่าต้องใช้ภาษาสุภาพ)
1. ใช้เครื่องยนต์ ชนิด(ไบโอ)ดีเซล อัตรารับประทานน้ำมัน เฉลี่ยต่อตัน(ย้ำ ต่อ ตัน) ไม่เกิน 1 ลิตร ณ.สภาพอ้อย กติกาบังคับ ประมาณ 12 ตันต่อไร่ ร่องยาวไม่น้อยกว่า 90 เมตร มีที่กลับรถ(ถนนรอบหัวแปลง)- ผมไม่แน่ใจว่าการใช้เครื่องยนต์ไบโอดีเซลแท้ๆ จะใช้ต้นทุนเท่าไหร่  แต่ถ้าเป็นการปรับปรุงเครื่องยนต์เดิมให้ใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซลนั้นคงใช้ ต้นทุนไม่มาก โดยการเพิ่มอุปกรณ์อุ่นเชื้อเพลิงป้องกันเชื้อเพลิงเป็นไขอีกสักชุดก็น่าจะ พอ  ปัญหาที่เหลือคือการหาน้ำมันไบโอดีเซลมาเติมให้ได้  พร้อมกันนี้ผมอยากเสนอให้มองการนำแกส NGV หรือ LPG มาเป็นเชื้อเพลิง  ..แนวคิดนี้ได้มาจาก ศิษย์รุ่นน้อง ที่ทำงานอยู่ Double A ซึ่งได้นำเอาระบบแกส NGV มาใช้ในเครื่องจักรกลหนัก-แบ็คโฮล์  โดยการใช้แพ็ค(ถัง)แกสซึ่งยกเปลี่ยนได้เพื่อนำไปเติมหรือสลับกับแพ็คแกสชุด ใหม่  แต่การดัดแปลงเครื่องยนต์ให้ใช้แกสได้นี้เป็นเรื่องใหญ่ต้องค่อยๆคุยกันใน รายละเอียด ไม่อยากให้มองข้ามไป เพราะโดยส่วนตัวเชื่อว่าน้ำมันเชื้อเพลิงจะไม่มีวันลดราคาลง
2. มีระบบที่ไม่ซับซ้อน บำรุงรักษาง่าย มีเกลียวดึงอ้อยด้านหน้า มีพัดลมสับและเป่าใบอ้อยอย่างน้อย 1 ชุด
3. น้ำหนักรถตัด ไม่เกิน 5 ตัน รวมน้ำมันเต็มถัง- ข้อนี้คงเพื่อป้องกันการอัดตัวแน่นของชั้นดินที่เกิดจากน้ำหนักเครื่องจักร และรถบรรทุก  ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะขณะตัดอ้อย แต่เกิดตลอดเวลาที่มีการนำเครื่องจักรเข้าดูแลรักษาอ้อย.. น้ำหนักเครื่องจักรเป็นสาเหตุประการหนึ่ง คือยิ่งหนักชั้นดินก็ยิ่งมีการอัดแน่นมาก  เราพอจะช่วยได้โดยการเปลี่ยนระบบรองรับน้ำหนักเป็นแบบสายพาน.. ผมเคยอธิบายไว้ในกระทู้หนึ่งว่าเครื่องจักรสายพานจะมีพื้นที่รับแรงเท่ากับ ความกว้างหน้าแทร็คคูณความยาวช่วงแทร็ค เมื่อเฉลี่ยแล้วพื้นที่ 1 ตารางนิ้วจะรับน้ำหนักไม่กี่กิโลกรัม  ขณะที่เครื่องจักรแบบล้อยาง น้ำหนักเครื่องจักรจะเฉลี่ยลงเฉพาะที่จุดสัมผัสระหว่างจุดล่างของยางกับผิว ดิน (นึกภาพวงกลม-ล้อ แตะเส้นตรง-ผิวดิน) ซึ่งมีพื้นที่ไม่มาก ดังนั้นแรงกดที่ดินต้องรับจึงมีมากกว่า.. คุณ-นายส่งเสริม กับ Mr.Tommy อาจจะนึกเปรียบเทียบระหว่างการใช้นิ้วกดเส้นกับการใช้ฝ่ามือคลึงคลายความ เครียดกล้ามเนื้อ ว่าจะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน  ส่วนท่านอื่นอาจจะเปรียบเทียบระหว่างการใช้ 2 มืออุ้มถุงข้าวสาร 5 กก. กับการใช้นิ้วเดียวเกี่ยวหิ้วถุงข้าว 5 กก. ก็พอจะทราบโดยคร่าวๆเกี่ยวกับความหมายของคำว่าพื้นที่รับแรง
4. สามารถ สลับล้อยางและแทร็กได้ ในเวลา ไม่มาก- ข้อนี้ดีมากครับ  ระหว่างทำงานเราใช้แทร็คเพื่อลดแรงกดที่กระทำต่อชั้นดินและเพิ่มแรงเสียดทาน ต่อพื้นผิว เครื่องจักรใช้กำลังขับเคลื่อนได้เต็มที่ไม่ลื่นไถล ไม่ปัดป่ายซ้ายขวา ความยาวของช่วงแทร็คช่วยให้รักษาระดับได้ง่ายไม่มุดไม่ยกไปตามระดับผิวดิน  คนขับควบคุมระดับใบมีดตัดอย่างเดียว  และเมื่อต้องการย้ายแปลงไปที่ไกลๆ นับสิบ กม.ก็เปลี่ยนเป็นล้อยางเพื่อให้แล่นได้เร็วขึ้น และเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อเทรลเลอร์(ต้องเสียรถบรรทุกอีกคันมาลาก) แทร็คยางไม่สึกเพราะถนนกัด และในกรณีที่เป็นแทร็คเหล็ก ซี่แทร็คจะสร้างความเสียหายให้ผิวถนนเป็นร่องๆ.. เคยได้ยินว่าทางหลวงที่รักคิดค่าปรับกันเป็นจำนวนรอย!


ขอข้ามมาคุยใน"ข้อคิดเห็นที่11"ก่อนนะครับ
1. คนงานตัดอ้อยเกลียดเถ้าแก่.!!!!.. ใช้คำไม่สร้างสรรค์ครับ  ควรใช้คำว่า คนงานรักเถ้าแก่ มากเท่ากับที่เถ้าแก่รักคนงาน ไอคนที่แอบจุดเผาอ้อยแปลงที่กำลังจะเอารถตัดเข้าทำงาน  น้ำมันก็เสียเท่าเดิมแต่ไม่ได้ใบอ้อย ถูกหักค่าอ้อยไฟ  แถมยังต้องแบ่งอ้อยไฟให้ เจ้าคนจุดช่วยตัดซะอีกแน่ะ
2. ค่าซ่อม/อะไหล่แพง (ถ้าจะเล่นแต่ของแท้ ไม่แปลง)
.. อะไหล่พวกโอริงบางตัว พึ่งให้ลูกน้องเอาเวสป้าไปซื้อมาแพ็คถุงกะมือเมื่อกี้แท้ๆ ว่างั้นเหอะ
3. เกิดการแพ๊คหน้าดินระหว่างร่อง(ก็รถมันวิ่งทุกร่อง 10ล้อมันก็วิ่งทุกร่อง)
.. ทำริบเปอร์ติดท้ายรถบรรทุกซะเลยดีมั้ย วิ่งรับอ้อยไป ระเบิดดานไปด้วยซะให้รู้แล้วรู้รอด
4. จ่ายค่าน้ำมันเพิ่ม..
.. ในราคาแพงขึ้นทุกวัน
5. โรงงาน บางโรงงาน ไม่ชอบ.
.. ????????????
6. ทางหลวง ไม่ชอบ จับน้ำหนักก็ไม่ได้ จับใส่สูงก็ไม่ได้ จับท้ายยื่นก็ไม่ได้  สม..
.. แต่ก็หาเรื่องจับจนได้สิน่า.. ฮ่าๆๆๆ
7. รัฐฯไม่ชอบ เพราะเก็บภาษีได้น้อย (ก็เขาถอดมาเป็นชิ้นๆแล้วตีว่ามือสองเซียงกง...จบ)
.. ถือว่าหนทางเพื่อการอยู่รอดตามวิถีแบบไทยๆก็แล้วกันครับ
8. คนงานคลุกใบไม่ชอบ  ก็มีงานเพิ่ม..ต้องขับรถคลุกใบ..  มันไม่เท่ย์....
.. เท่ย์กว่าอีตอน มอมแมม หูตาเหลือก ช่วยกันดับไฟไหม้ใบแห้งตอนหน้าแล้งละกัน ขอ บอก
9. ชาวบ้านไม่ชอบ  เพราะเดี๋ยวนี้ เจ้าของไร่ ไม่ให้ตบนกแล้ว..(เวลาตัดอ้อย จะมีนกนางแซวมาบินจับแมลง ชาวบ้านจะเอาด่าง มาตบนก วันนึงเฉลี่ยได้เกือบ 30 ตัว.. )
.. สงสัยเถ้าแก่เนี้ยจะไม่ชอบมากกว่ามั้ง  เพราะท้ายที่สุดเถ้าแก่เหมานกมาทอดกระเทียม มาวกะลูกน้องคาไร่ไม่เข้าบ้าน..
10. ออสซี่ไม่ชอบ  เพราะเราคนไทย เอามาแล้วดัดแปลงจน ฝรั่งเสียหน้า..
.. เมื่อวานได้คุยกับบริษัทเครื่องมือนำเข้าตัวใหม่  แนะไปว่าเวลาจะขายให้คนไทยต้องนำเข้ามาเป็นล็อต แล้วขายรวดเดียวให้หมด  จะ 10 ตัวก็ต้องหมดรวดเดียว  ขืนอ้อยสร้อยนำเสนอขายทีละตัวโดนพี่ไทยลอกแบบหมด แถมปรับปรุงจนดีกว่าซะอีกแน่ะ.. ก็พูดได้แค่นี้ ไม่กล้าแนะนำอะไรมากกว่านี้ เดี๋ยวเซล์จะมองหน้าย้อนว่า "ถ้าพี่รู้ดีนัก ไหงโหงวเฮ้งกระจอกจัง ไม่เห็นรวยสักที"
จบแล้ว
.. ยัง.. ยังไม่ให้จบครับ  ช่วยผมป่วนพี่เว็บต่อก่อนเหอะ

ต่อด้วย "ความคิดเห็นที่8" ครับ
รถตัดที่เป็นรถตัดในฝ้นของกระผม...
1. ราคาไม่เกิน 30 บาทรักษาทุกโรค  ...ล้อเล่น...   ราคา ไม่เกิน 1 ล้าน และ 2 ล้าน

.. ราคา 30 บาท ซื้อดอกไม้จันทร์ได้ทุกโรคครับ.. อ๊ะ ล้อเล่นเหมือนกัน..
ราคาไม่เกิน 1 ล้าน ทำได้นะครับ แต่เป็นแบบไม่สางใบ ตัดยอด ตัดโคน วางกอง ใช้รถไถเป็นต้นกำลัง
ราคา 2 ล้านหรือกว่าไปหน่อยๆ "ดูเหมือนจะทำได้จริงๆ นะครับ" แต่เป็นราคาชิ้นส่วนในประเทศที่ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ค่าภาษีนำเข้า   และต้อง..ไม่ได้บอกผ่านเลยครับเฮีย  อะไรทำนองเนี้ย
2. ใช้เครื่องยนต์ รถสิบล้อ หรือ รถไถ  (ร้อยกว่าแรง ก็พอ ไม่ต้องเวอร์มาก).. ต้องใช้เครื่องยนต์ รถยนต์รุ่นที่มีจำหน่ายในประเทศอยู่แล้วครับ เพราะง่ายต่อการสต็อคอะไหล่  และโดยเทคนิคแล้วเราต้องการใช้เครื่องยนต์มาขับปั้มไฮดรอลิก จึงเน้นที่แรงม้า แรงบิด รอบเครื่อง  ไม่เกี่ยวกะหน้าตาเครื่อง
3. อะไหล่ หาได้ตามท้องตลาด ... ไม่ใช่ต้องสั่งจาก บ. โดยตรง (แม่ง..โขกราคา).. แต่ยังไงก็ต้องให้มีบริษัทเป็นผู้รวบรวมข้อมูลอะไหล่อยู่ดีแหละครับ เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพอะไหล่  อะไหล่หน้าตาคล้ายกัน แต่ราคาที่ต่างกัน คุณภาพอาจจะต่างกันมาก ถ้าใช้อะไหล่คุณภาพต่ำเพราะเอาราคาถูกเข้าว่า อาจจะมีผลต่ออายุการใช้งาน ทำให้ต้องเสียค่าแรงรื้อเปลี่ยนบ่อยๆ  Mr.Tommy เล่นระบบไฮดรอลิคมานานคงทราบดีว่า อะไหล่โอริงราคาร้อยเดียว ค่าแรงรื้อซ่อมราคาพัน!  ค่าใช้จ่ายเดินทางมาบริการของบริษัทอีกหลายพัน!!!
  ของแพง-อาจจะไม่ใช่ของดี  แต่ของดี-ต้องแพงเสมอ  ของดีราคาถูก-ไม่มี  อะไรประมาณนั้น
4. สามารถใช้ประโยชน์มากกว่าตัดอ้อย !!! นั่นคือ หมดหน้าตัด ก็เอาอุปกรณ์อื่นๆไปติดตั้ง ใช้เป็นบักแบ็คโฮมั่ง เป็นเครื่องขุดมันสำปะหลังมั่ง เอาไปเกี่ยวข้าวมั่ง (โอ้ย..บ้าไปกันใหญ่แล้ว)
.. เอ้า ข้อนี้ไปกันใหญ่แล้วครับคุณพี่ครับ  โดยโครงสร้างของเครื่องตัดอ้อยมันคงไม่เหมาะที่จะทำอะไรอื่นมากกว่าตัดอ้อย  จะทำเป็นแบ็คโฮล์ก็ติดชุดสายพานลำเลียง จะไปขุดมันก็ติดชุดใบตัดที่อยู่ใต้ท้อง  จะเอาไปฉุดลากอะไรมันก็วิ่งช้าเหลือใจแถมซดน้ำมัน..
เอ้อ.. แต่อาจมีทางเป็นไปได้เหมือนกันนะครับ พึ่งนึกได้ว่าเวลานั่งกินข้าวอยู่ร้านโต้รุ่ง จะเห็นควาญพาช้างมาขอค่าอ้อย สอบถามได้ความว่าหมดหน้าเทศกาลงานช้างที่สุรินทร์ก็เอาช้างมาตระเวนหาเงิน..
ฉะนั้น แล้วหมดหน้าตัดอ้อย Mr.Tommy ล้างรถตัดให้สะอาด ลงสีให้แจ่มรูปการ์ตูน ขนไปจอดกลางงานตลาดนัด เก็บตังค์เด็กคนละ 5 บาทให้มาปีนเล่น  จากบ่ายถึงมืดคงพอได้ค่าโซดาอยู่หรอกกระมัง
5. รัฐฯสนับสนุนเงินกู้ซื้อรถตัด ปลอดดอก 10 ปี ให้ชาวไร่ ...55555.. บ้าสุดๆ..
.. ทำเป็นเล่นไป เป็นไปได้นะเออ.. โดยการเลือกพรรคการเมืองที่รู้ใจชาวไร่ให้จัดตั้งรัฐบาล  รัฐฯจะหาทางตั้งงบฉุกเฉินไว้ล่วงหน้าเผื่อวิกฤตทางการเกษตร  จากนั้นรัฐฯจะสนับสนุนโครงการ"เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้เครื่อง จักร" ให้ชาวไร่กู้เงินซื้อรถตัด ผ่านกองทุนอ้อยซึ่งไม่มีเงิน จึงส่งต่อให้ธนาคารพานิชย์เป็นผู้ปล่อยกู้โดยมีรัฐบาลค้ำประกัน.. ค้ำประกันโดยเอางบฉุกเฉินนั้นแหละมาต่อรอง
กรณีเกิดวิกฤตจนชาวไร่ไม่มี เงินคืนค่ารถตัด.. ก็ไม่ต้องคืน ก็..มันเป็นวิกฤตนี่คุณ ต้องช่วยๆกัน  ชาวไร่ก็สามารถเอาเงินค่ารถตัดไปจ่ายให้ลูกเรียนโรงเรียนเอกชนค่าเทอมแพงได้ จะได้จบไปเป็นเจ้าคนนายคน  ส่วนลูกคนงานก็ปล่อยให้โตเป็นคนงานตัดอ้อยต่อไปเพราะงบสร้างโรงเรียนใกล้ บ้านถูกแปรเป็นงบฉุกเฉินหมดแล้ว..
  ประชดครับ ประชด ไม่ใช่สนับสนุน  โธ่.. ทั่นก็
6. ใครใช้รถตัดรุ่นนี้ รัฐฯต้องช่วยค่าน้ำมัน 30%(เรียนแบบประมง).. ยอมให้ชักค่าต๋งมั้ยล่ะครับ  แบบว่าหักเป็นอ้อยไปสักหลายๆ เปอร์เซ็นต์เพื่อให้รัฐฯเอาไปผลิตเอทานอลออกขายในตลาดทั่วไปแบบไม่ย้อนกลับ มาคืนชาวไร่อีก
7. บริษัท ที่ผลิต ต้อง เป็น คนไทย และรัฐฯ สนับสนุนเงินกู้..  (บ้า)
.. อยู่แล้วล่ะครับ  ระเบียบพัสดุของทางราชการกำหนดให้จ้างให้ซื้อจากบริษัทคนไทยก่อน ส่วนบริษัทที่ว่านั้นจะเป็นนอมินีของใครหรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง
8. โรงงานฯต้องให้เข้าเทอ้อยภายใน 3 ชม. และไม่กระแดะ หักคิว..(ตลกสุดๆ)
.. ข้อนี้ไม่เข้าใจครับ  จะกรุณาขยายความได้หรือไม่..หมายความว่าถ้าอธิบายแล้วจะยังส่งอ้อยได้เป็นปกติหรือไม่ 55555
9. ทางหลวง ต้องไม่ทำนา ช่วง เปิดหีบ ... อ้าว เละแล้ว...คร้าบนายtommy
.. กลับเข้าทางก่อนครับ เรื่องรถตัดอ้อยในความฝันไม่เกี่ยวกะทางหลวงครับพี่ครับ  เว้นแต่พี่กำลังวิ่งเพื่อย้ายแปลงอยู่บนทางหลวง
10. เฮ้อ... ไม่เอาแล้ว นอกเรื่องไปเรื่อย... จบครับ..
.. ไม่นอกเรื่องเลยครับ  ในเรื่องเลยล่ะ  แค่เกินกรอบความรู้ของผมและอาจจะเป็นประโยชน์กับอีกหลายๆท่านที่ได้อ่าน  ยังไงก็ช่วยกันเล่าอะไร ๆที่นอกตำรากันอีกนะครับ  ได้ความรู้ดีมั่กๆ
.. แถมยังหาเรื่องมาให้ผมพลอยเสียวไปด้วยอย่างมั่กๆ

เครื่องยนต์ใหม่ครับใช้ NGV 100% ผลิตมาจากเมืองจีน ยี่ห้อ เซี่ยงไฮ้ ดีเชล 260 แรงม้า  ราคาไม่ทราบ แต่ถ้าจับยัดลงในรถตัดอ้อยได้ ก็ทำงานได้  เพียงแต่ปัญหาของทางอุดรคือมีปั้มแกส NGV ปั้มเดียว คงไม่สะดวกที่จะนำระบบนี้มาใช้งานได้จริง  จึงขอให้ถือว่าเป็นการอ่านเอาความรู้ไปพลางก่อนละกัน
ระหว่างนี้ผมกำลังหาข้อมูลกับศิษย์รุ่นพี่ รุ่นน้อง เกี่ยวกับวิธีแปลงเครื่องดีเซลให้ใช้แกส LPG ได้  เบื้องต้นทราบว่าทุกเครื่องที่ดัดแปลงแล้ว เจออาการลูกสูบแตกทุกเครื่อง กำลังวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขอยู่ครับ  มีอะไรคืบหน้าจะเอามาบอกเล่าให้ทราบ ครับผม




รถตัดที่เป็นรถตัดในฝ้นของกระผม...



ต่อครับ   
รถตัดที่เป็นรถตัดในฝ้นของกระผม...
1. ราคาไม่เกิน 30 บาทรักษาทุกโรค  ...ล้อเล่น...   ราคา ไม่เกิน 1 ล้าน และ 2 ล้าน
2. ใช้เครื่องยนต์ รถสิบล้อ หรือ รถไถ  (ร้อยกว่าแรง ก็พอ ไม่ต้องเวอร์มาก)
3. อะไหล่ หาได้ตามท้องตลาด ... ไม่ใช่ต้องสั่งจาก บ. โดยตรง (แม่ง..โขกราคา)
4. สามารถใช้ประโยชน์มากกว่าตัดอ้อย !!! นั่นคือ หมดหน้าตัด ก็เอาอุปกรณ์อื่นๆไปติดตั้ง ใช้เป็นบักแบ็คโฮมั่ง เป็นเครื่องขุดมันสำปะหลังมั่ง เอาไปเกี่ยวข้าวมั่ง (โอ้ย..บ้าไปกันใหญ่แล้ว)
5. รัฐฯสนับสนุนเงินกู้ซื้อรถตัด ปลอดดอก 10 ปี ให้ชาวไร่ ...55555.. บ้าสุดๆ..
6. ใครใช้รถตัดรุ่นนี้ รัฐฯต้องช่วยค่าน้ำมัน 30%(เรียนแบบประมง)
7. บริษัท ที่ผลิต ต้อง เป็น คนไทย และรัฐฯ สนับสนุนเงินกู้..  (บ้า)
8. โรงงานฯต้องให้เข้าเทอ้อยภายใน 3 ชม. และไม่กระแดะ หักคิว..(ตลกสุดๆ)
9. ทางหลวง ต้องไม่ทำนา ช่วง เปิดหีบ ... อ้าว เละแล้ว...คร้าบนายtommy
10. เฮ้อ... ไม่เอาแล้ว นอกเรื่องไปเรื่อย... จบครับ..

สวัสดี
  นานๆ มาที   ตอนนี้กำลังตัดอ้อย ขายอ้อย 
 ทำงานไป ยิ้มไป  ว่างๆมาอ่านกระทู้  ยิ่ง ฉีกยิ้ม  5555 5555
กระทู้ผ่านๆมา พูดเรื่องสอดไส้   อูยยยยยย   นึกว่าอะไร
สอดแบบนี้ มีเห็นบ่อยๆ  ก็เพราะราคามันเป็นอย่างนี้  (แหนะ..โทษราคา...)
เพื่อความอยู่รอด เขาก็ต้องหาทางออก....  อันนี้ ฉาน บ่ ได้ แก้ตัวแทนเด้อ
แต่แบบนี้  ไม่รู้ว่า สอดไส้อะป่าว......เอ้า อ่านบรรทัดต่อไป...

นาย ก. (อีกแล้วครับท่าน) ส่งอ้อยไปยังโรงงาน  ข. (อีกๆแล้วๆ)
อ้อย fire ทั้ง คัน  
เข้าเท จ้วด....(เทเร็วอะ)
ใบชั่งออกมา...... 5555   5555   ............... (เติมเอาเอง)....
แล้วนาย ก.  เป็น คราย....   แล้วโรงงาน ข.  เป็น คราย....

น้องส้มจุก ลองเป็น เจสัน บอรน์ อันเทอะเมทั่ม ตามสืบเอาเองเด้อ...

ท่านๆ ชาวไร่ อย่าไปสนเลยครับ  ตราบใด ที่ สถานะการณ์ มันเป็น ฉะนี้.....
เป็นผม  ก็จะไปขอส่งมั่งเหมือนกัลย์....... 555555  
แต่เรื่องยัดไส้ มันบ่ดีดอก  เรา เอากัน จะจะ ไปเลย...
ไหม้ก็ไหม้  สด ก็สด   เปิดเผยไปเลย ไม่ต้องนอมินีใคร....อ้าว...

(สงสัยโดนลบแน่...เอ้า ท่านพี่ อูดอนแค้น...เฮ้ย  อุดรเคน ตามแก้เอาเอง)

เข้าประเด็น...  รถตัด ตามกระทู้...
รถตัดอ้อย มันตัดตั้งแต่ เช้า สาย บ่าย ค่ำ ดึก (บางคัน) อ้อยที่พ่นสำรอกออกมา จะแตกต่างกัน...!!!!!!!
ตัดก่อนอาทิตย์ขึ้น จนเริ่มทอแสง  อ้อย จะมี ใบมามาก(กรณีอ้อยสดครับ) เพราะว่า มันมีน้องน้ำค้าง มาปกคลุม เป่าเท่าไหร่ ก็ออกไม่หมด ครับ
ตัดสายๆ เริ่มสะอาด   ตัดบ่ายๆ แผลเริ่มมีดินทรายสัมผัส  ตัดเย็นๆ หร่อน(สะอาด)แต่ตอไม่ค่อยดีเพราะคนขับเริ่มเมื่อยล้าอยากพัก ตัดค่ำๆ ไม่ดี เพราะเริ่มกะระยะชิดพื้นไม่ได้ แถมคนขับเริ่มจิบเหล้า...  ตัดดึกๆ ไม่แนะนำ มีแต่สูญเสียมากกว่าได้ เพราะ ต้องมี เด็กๆ มาให้กำลังใจ...555555

จบไม่ลง ครับ
ต่ออีก 
รถตัดในความชอบแบบจริงๆจังๆ เพื่อเหมาะสมกับ บอร์ด สอน. 
มีดังนี้(ขอเรียนว่าต้องใช้ภาษาสุภาพ)
1. ใช้เครื่องยนต์ ชนิด(ไบโอ)ดีเซล อัตรารับประทานน้ำมัน เฉลี่ยต่อตัน(ย้ำ ต่อ ตัน)
ไม่เกิน 1 ลิตร ณ.สภาพอ้อย กติกาบังคับ ประมาณ 12 ตันต่อไร่ ร่องยาวไม่น้อยกว่า 90 เมตร มีที่กลับรถ(ถนนรอบหัวแปลง)
2. มีระบบที่ไม่ซับซ้อน บำรุงรักษาง่าย มีเกลียวดึงอ้อยด้านหน้า มีพัดลมสับและเป่าใบอ้อยอย่างน้อย 1 ชุด
3. น้ำหนักรถตัด ไม่เกิน 5 ตัน รวมน้ำมันเต็มถัง
4. สามารถ สลับล้อยางและแทร็กได้ ในเวลา ไม่มาก
5. ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ตาม แรงม้าของรถ(100 แรง สัก 1 ล้าน เกินนั้นหากมีออฟชั่นอื่นๆ ก็ตามสภาพ)
จบ..


เครื่องตัดอ้อยขนาดเล็ก

.. อย่างไรก็ตาม  เครื่องตัดอ้อยขนาดเล็กที่เราเห็นกันอยู่มากมายหลายรุ่นนี้ ส่วนใหญ่จะตัดแบบไม่ลิดใบ  ชาวไร่ซื้อมาแล้วก็ต้องเผาอ้อยก่อนตัดอยู่ดี  ข้อนี้อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวไร่ลังเลที่จะซื้อ.. ก็.. แหม  อุตส่าห์เสียเงินซื้อเครื่องตัดอ้อยมาใช้แล้วยังต้องถูกหักค่าอ้อยไฟไหม้ อีก..
คงจะเคยได้ยิน "เครื่องสางใบอ้อย" นะครับ  เจ้าเครื่องสางใบนี้ ใช้วิ่งเข้าระหว่างแถวอ้อยเพื่อสางใบอ้อยก่อนตัด  ผมได้ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ซึ่งพัฒนาเครื่องนี้อยู่ ทราบว่าเครื่องสางใบดังกล่าว สามารถสางใบอ้อยโดยเฉลี่ย 16 เมตร/ นาที หรือ 1 ไร่ ใช้เวลา 1 ชม. 10 นาที

เห็นแล้วน่าใช้นะครับ  ราคาก็ไม่น่าจะสูงนัก แต่ดูแล้วก็คงตัดอ้อยแบบไม่ลิดใบ(อีกแล้ว)..
เรื่องการจัดสร้างเครื่องตัดอ้อยขึ้นใช้งานนี่นะ  ผมว่าพี่ไทยเราก็เก่งไม่หยอก  มุดดูต้นแบบแป๊บเดียวก็ลอกแบบมาทำเองได้แล้ว  ผมว่าปัญหาส่วนหนึ่งอยู่ที่การตั้งราคาขายซึ่งต้องให้ได้กำไร
เราลองตั้งราคากันเล่นๆ ก่อนดีมั้ยครับ  เผื่อผู้ผลิตมาอ่านเจอแล้วสนใจว่าน่าจะทำกำไรได้ จะได้ออกแบบโดยเอาราคาเป็นตัวตั้ง  และประสิทธิภาพก็เป็นไปตามราคา
..ราคาที่ชาวไร่เห็นว่าสู้ได้ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ?
หรือจะเอาปริมาณงาน/วันเป็นตัวตั้ง  แล้วออกแบบไปเรื่อยๆ เสร็จเมื่อไหร่ถึงจะรู้ราคา
.. ปริมาณการตัดอ้อย/วัน ที่ชาวไร่เห็นว่าเหมาะสม ควรเป็นเท่าไหร่ ?
หรือจะตั้งโจทย์โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  อย่างเช่น ปรับปรุงดัดแปลงจากรถไถเดินตาม  ดัดแปลงจากรถไถเล็ก  ดัดแปลงจากรถไถใหญ่.. ก็คงต้องช่วยๆ กันคิดนะครับ

.. โดยส่วนตัวเชื่อว่า "เครื่องสางใบอ้อย" จะเป็นกุญแจอีกดอกหนึ่งที่จะช่วยไขประตูความฝันให้กับชาวไร่ได้  การใช้เครื่องสางใบอ้อยนำหน้าแรงงาน  น่าจะช่วยให้แรงงานตัดได้เร็วขึ้น  ลดข้ออ้างที่ว่าไม่อยากตัดอ้อยสดเพราะตัดยาก ตัดได้น้อยกว่าอ้อยเผา    หรือกรณีใช้ร่วมกับเครื่องตัดขนาดเล็ก จะช่วยให้เครื่องตัดอ้อยขนาดเล็กมีคุณภาพงานดีขึ้น คือตัดอ้อยสดได้  ถ้าปรับปรุงเครื่องสางใบอ้อยให้สามารถใช้งานได้จริงแล้ว เรื่องเครื่องตัดขนาดเล็กเป็นเรื่องจิ๊บๆ เพราะมีรอให้ซื้ออยู่เยอะแยะ
ผมว่า..แทนที่เราจะฝากความหวังไว้ที่การพัฒนาเครื่องตัดอ้อยราคาถูกแต่ เพียงอย่างเดียว  เราน่าจะลองพิจารณาการพัฒนาเครื่องสางใบให้ใช้งานได้จริง  ซึ่งเราจะได้เครื่องมือราคาถูกกว่ามาก เพื่อสนับสนุนการตัดอ้อยสด ไม่ว่าจะโดยแรงงาน หรือเครื่องตัดก็ตาม





ได้ยินมาว่า แต่ละปี สอน.ค้นหาเพื่อมอบรางวัลสำหรับชาวไร่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการไร่อ้อย  และใช้เงินงบประมาณอีกไม่น้อยในงานทดลองวิจัย.. เป็นไปได้หรือไม่ที่ สอน.จะเจียดเงินบางส่วนเพื่อตั้งเป็นรางวัลสำหรับนวัตกรรมหรือคำตอบทีดีที่ สุด ตามโจทย์ที่ตั้งไว้.. ไม่ใช่นวัตกรรมอะไรก็ได้ซึ่งนั่นเป็นงานของ สวทช.  แต่ขอให้เป็นไปตามโจทย์ของ สอน.เอง
เช่น ถ้า สอน.จะตั้งรางวัลสัก.. สมมุติว่า 100,000 สำหรับเครื่องสางใบอ้อยที่ทำงานได้ดีที่สุด และเกินระดับที่กำหนด ก็น่าจะสร้างแรงจูงใจให้นักประดิษฐ์ไทยสนใจลงสนามประลองปัญญา  โดยที่รู้ว่าปลายทางของการลงแรงลงความคิด จะไม่สูญเปล่า
.. เคยมีส่วนร่วมในการออกแบบชิ้นงานด้านเครื่องกลของภาครัฐ ซึ่งเมื่อดำเนินการไปค่อนทาง อยู่ระหว่างการทดสอบ พบว่าการออกแบบเดิมจะใช้ไม่ได้ผลอย่างที่คาด การใช้เทคโนโลยีใหม่จะได้ผลดีกว่า แต่จำเป็นจะต้องดำเนินการต่อเพราะมีเงี่อนไขสัญญาเดิมบังคับไว้ สุดท้ายได้ชิ้นงานที่ตรงตามเงื่อนไข แต่ประสิทธิ์ภาพไม่สูงเท่าที่ควร.. ครับ  ไม่มีการปรับปรุงต่อเพราะหมดงบและเจ้าของทุนมองว่าการทำต่อโครงการที่ 2 เพื่อปรับปรุงชิ้นงานเดิม แสดงให้เห็นความไม่สมบูรณ์ของโครงการที่ 1 .. ในอีกมุมหนึ่งอาจมองได้ว่าเป็นความไม่รู้รอบของเจ้าของทุนหรือไม่
.. การตั้งรางวัลสำหรับชิ้นงานที่สำเร็จแล้วจะให้ผลที่ต่างออกไป  นักออกแบบจะสามารถปรับเปลี่ยนหลักการหรือเทคโนโลยีได้ตลอดเวลา ไม่ถูกจำกัดโดยเงื่อนไข ข้อบังคับ กฏระเบียบของทางราชการ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระโดยมุ่งความสำเร็จสูงสุดเป็นเป้าหมาย  แน่ล่ะ นักออกแบบก็ต้องยอมรับการขาดทุนหากงานไม่สำเร็จหรือประสิทธิภาพสูงไม่เท่า นักออกแบบรายอื่น.. ในส่วนของเจ้าของรางวัลจะไม่เสียค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้  .. หรืออาจไม่เสียเลย..
.. บังเอิญแอบได้ยินพี่ๆชาว สอน.คุยว่าปีนี้ สอน.ใช้เงินงบประมาณจำนวนมากเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับอ้อย.. หลายหัวข้อแทบจะต้องปีนบันไดไปนั่งฟังเพราะเป็นความรู้ระดับสูงส่งเป็น อุดมคติเหลือเกิน ทำให้อดน้อยใจ เสียดายแทนชาวไร่อย่างเราไม่ได้ เพราะอันที่จริงประดาความรู้ที่ได้สั่งสมกันมานานยังหาโอกาสนำมาใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน ไม่มีโครงการดีๆ สนับสนุน.. การรวบรวมองค์ความรู้ ณ วันนี้จะได้นำไปใช้เมื่อไร ในลักษณะใดกันอีกหนอ
.. อดคิดไม่ได้ว่า  บางที  ชาวไร่หน้าดำๆ ก็ไม่ได้ต้องการความรู้ระดับบริสุทธุ์ สูงส่งชนิดที่จับใช้ไม่ถึง  แค่ต้องการ การสนับสนุนขั้นพื้นฐาน กับความรู้ระดับธรรมดาๆ ที่ใช้ได้ผลจริงสักครึ่ง ก็ได้นะเออ..




การใช้ประโยชน์จากอ้อย 3

การใช้ประโยชน์จากอ้อย 3


การใช้ประโยชน์จากอ้อย 2


3. ผลิตผลที่ได้จากการหมัก

3.1 เหล้ารัม
น้ำ เหล้าที่ได้จากการกลั่นเมรัยของน้ำอ้อย หรือกากน้ำตาล เราเรียกว่า เหล้ารัม เหล้ารัมดูเหมือนจะเป็น เครื่องหมายการค้าของอุตสาหกรรมน้ำตาลในแถบทะเลแคริบเบียน ในสมัยโบราณมนุษย์รู้ว่าน้ำอ้อยถ้าเอาไปหมักจะทำให้ได้ เมรัยชนิดหนึ่ง แต่กำเนิดของเหล้ารัมนั้นเพิ่งจะเริ่มเอาเมื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลรุ่งเรือง ขึ้นมา ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสในคริตส์ ศตวรรษที่ 17 นี่เองในสมัยที่น้ำตาลจากอ้อยพ่ายแพ้น้ำตาลจากหัวผักกาดหวาน บรรดาโรงงานน้ำตาลสามารถดำรงอยู่ได้ก็ โดยการผลิตเหล้ารัมออกมาจำหน่าย ดังจะเห็นได้ว่าด้านหนึ่งของโรงงานน้ำตาลมักจะมีถังหมักเหล้า โรงกลั่น และโรงเก็บเหล้า อยู่ใกล้ ๆ จนแทบจะเรียกได้เป็นสัญญลักษณ์ของโรงน้ำตาลเลยทีเดียว
ลักษณะการผลิตเหล้ารัมในอดีตนั้น อาศัยความชำนาญของผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ หรือเคมีเข้าไปช่วยแต่อย่างใด ความสามารถส่วนตัวของผู้ผลิตก็ไม่เคยเผยแพร่ให้ผู้ใดรู้นอกจากลูกหลานผู้สืบ สกุลเท่านั้น แม้แต่ลูกจ้างแรงงานที่เข้ามารับจ้างทำงานถือเสมือนว่ามาขอรับการถ่ายทอด วิชาจากผู้ผลิต จึงได้รับค่าจ้างแต่เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เท่านั้น เล่ากันว่าผู้ผลิตเหล้ารัมบางยี่ห้อเมื่อหมักเหล้าได้ที่แล้ว ต้องการหยุดปฏิกริยาของเชื้อยีสต์ก็จะโยนเนื้อ สักก้อนหนึ่ง หรือซากสัตว์ตายสักตัวหนึ่งลงไปในถังหมักเพื่อให้ได้รสชาติที่เป็นลักษณะ เฉพาะตัวของเหล้ารัมยี่ห้อนั้น ๆ ดังนั้นเหล้ารัมแต่ละยี่ห้อจึงมีรสชาติเฉพาะตัว ไม่มีการเลียนแบบกันได้ บางเจ้าของก็มักจะอ้างว่าที่เหล้ารัมของเขา มีรสชาติ อร่อยก็เพราะเนื้อดินที่ปลูกอ้อยเอามาทำรัมนั้น ไม่เหมือนใครผู้ผลิตเหล้ารัมแต่ละเจ้าของก็พยายามรักษา คุณสมบัติรสชาติ เหล้ารัมของตนเองไว้ จวบจนถึงยุคน้ำตาลซบเซาเจ้าของที่ดินรายย่อยจำเป็นต้องมารวมกันเพื่อสร้าง โรงงานน้ำตาลกลางขึ้น จึงทำให้เจ้าของที่ดินรายย่อยหลายเจ้าของมารวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว แต่มีเหล้ารัมหลายยี่ห้อทั้งนี้ เพราะผู้ผลิตเหล้ารัม แต่ละเจ้าของต่างก็พยายามรักษาสูตรของตัวไว้เป็นความลับถึงแม้เหตุการณ์ผ่าน มานานเป็นศตวรรษ แต่เหล้ารัมยี่ห้อเก่าก็ ยังคงรักษารสชาติและกลิ่นของตัวเองตลอดมา
เหล้ารัมที่ผลิตจากหมู่เกาะเวสต์อินดิส มักจะมีลักษณะเฉพาะตัว มีกลิ่นและรสชาติพิเศษ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะ เหล้าเหล่านี้ ถูกหมักในถังหมัก ที่ไม่มีการถ่ายเท (pot stills) ทำให้สารบางชนิดที่ประกอบอยู่ในน้ำอ้อย หรือกากน้ำตาลถูก เชื้อยีสต์เข้าย่อยจนครบถ้วนขบวนการทำให้ได้สารเอสเทอร์ของเอธิลและบิวธิล อาซีเตท ซึ่งเรียกเป็นภาษาตลาดว่า “อีเทอร์” ในเหล้ารัมที่จัดว่าเป็นพวก “หนัก” จะมีอีเทอร์มากกว่ารัมที่เป็นพวก “เบา” ในเหล้ารัมเราจะพบกรดอินทรีย์ อัลดีไฮด์ (โดย เฉพาะอาซีตัลดีไฮด์) น้ำมันฟูเซล (fusel oil) และเฟอฟิวราลเหล้ารัมจากจาไมกามีกลิ่นหอมพิเศษ เนื่องมาจากสารประกอบ ในน้ำอ้อยบางชนิดถูกสร้างขึ้นโดยบักเตรีชนิดอาซีติค, แลกติก และบิวทีริค ในอดีตคอเหล้ารัมนิยมเหล้ารัม ชนิดหนักมาก กว่าแต่เนื่องจากมันมีกลิ่นติดริมฝีปากอยู่นาน ปัจจุบันคนจึงไม่ค่อยนิยมหันมานิยมชนิด “เบา” มากกว่าซึ่งชนิด “เบา” นี้ใช้ หมักและกลั่นในถังแบบคอลัมน์ และมีลักษณะคล้ายวิสกี้และยินมากกว่าถังหมักชนิดถ่ายเทได้ (continuous stills) ทำให้ สามารถแยกกลิ่นที่ไม่ต้องการออกไปได้ทำให้เหล้ารัมในปัจจุบันนี้มีกลิ่นและ รสชาติไม่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
เมื่อกลั่นออกมาใหม่ ๆ เหล้ารัมจะมีความแรง 40 ถึง 60 ดีกรี ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเฉพาะตัวเหมือนเหล้ารัม เมื่อจะส่งสู่ตลาดจึง ผสมคาราเมลลงไปเพื่อทำให้มีสีน่าดื่ม ผู้ผลิตจะเก็บรัมไว้เพื่อให้ได้อายุ และผสมกลิ่นสีให้ถูกใจผู้ซื้อเมื่อได้อายุตามที่ต้องการ
การ ผลิตเหล้ารัมมีขบวนการคล้ายกับการผลิตแอลกอฮอล์มาก เพียงแต่ว่ากากน้ำตาลที่นำมาผลิตแอลกอฮอล์นั้น ไม่มีการทำให้สะอาดเสียก่อน และยีสต์ที่ใช้ใส่ลงไปก็ไม่บริสุทธิ์ ยีสต์ที่ใช้ก็คือ Saccha-romyces cerevisiae ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสเตรน (Strain) และมักจะมีอยู่แล้วในน้ำอ้อยหรือติดอยู่ตามถังหมัก กากน้ำตาล 2 ถึง 3 แกลลอนจะ ผลิตปรูฟรัม (proof rum) ได้ 1 แกลลอน การเปลี่ยนแปลง น้ำตาลจะเกิดขึ้นสมบูรณ์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์และจาก ปรูฟรัมนี้ จะกลั่นแอลกอฮอล์ได้ 40-60 เปอร์เซ็นต์
จนกระทั่งประมาณ ปี 1950 การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตรัม ยังมีอยู่น้อยมาก ดังนั้น ประสิทธิภาพจึงต่ำ ผู้ผลิตก็ไม่ ติดใจที่จะปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้น เพราะวัตถุดิบมีต้นทุนต่ำ ต่อมาจึงได้มีความต้องการเหล้ารัมชนิด “เบา” มากขึ้น จึงมีการไหว ตัวตามตลาด โดยปรับปรุงการทำให้กากน้ำตาลบริสุทธิ์มากขึ้น การคัดพันธุ์ยีสต์ที่ใช้ เหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น
3.2 อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์
ประเทศที่ผลิตน้ำตาลมาแต่ดั้งเดิมส่วนมากรู้จักทำแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาล ประเทศเกิดใหม่บางประเทศ แม้จะไม่ปลูกอ้อยก็พยายามนำเข้ากากน้ำตาลจากประเทศอื่น เพื่อนำไปผลิตแอลกอฮอล์ใช้ภายในประเทศ ปัจจุบันเทคนิค ในการผลิตแอลกอฮอล์ นับว่าได้ประสิทธิภาพสูงมากตรงตามทฤษฎี ประเทศอาเยนตินาและไต้หวันรู้จักใช้แอลกอฮอล์ จากอ้อยสำหรับเติมรถแทรกเตอร์ และกำเนิดไฟฟ้ามานานหลายสิบปี ขบวนการผลิตแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาลที่ เรียกว่า azeotropic process เป็นการผลิตแอลกอฮอล์แอนไฮดรัส (anhydrous alcohol) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินในท่อไอดีรถยนต์ หรือรถแทรกเตอร์ เนื่องจากแอลกอฮอล์แบบนี้ผสมกับเบนซินในอัตราส่วน 20-30 % ได้ ผิดกับแอลกอฮอล์ชนิดที่ใช้ทำเหล้า (rectified spirit) นักวิทยาศาสตร์ของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า แอลกอฮอล์ผสม กับเบนซินอัตรา 14-25 เปอร์เซ็นต์ทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์เดินได้ดี เรื่องการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยนี้ เป็นเรื่องที่ กำลังสนใจกัน โรงงานแอลกอฮอล์ของกรมสรรพสามิต จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการผลิตแอลกอฮอล์ จากกากน้ำ ตาลมาเป็นเวลานานกากน้ำตาล inver

การใช้ประโยชน์จากอ้อย 2

การใช้ประโยชน์จากอ้อย2

การใช้ประโยชน์จากอ้อย 1




2. กากน้ำตาล (Molasses)

เป็น ของเหลวสีดำที่เหนียวข้น ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีกด้วยเครื่องจักรของโรงงานน้ำตาลธรรมดา กากน้ำตาลเป็นเนื้อของสิ่งที่มิใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมีเช่น ปูนขาว ซึ่งใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส ส่วนประกอบของกากน้ำตาลจะปรวนแปรไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าได้มาจากอ้อยพันธุ์ไหนและผ่านกรรมวิธีอย่างไร แต่มักจะหนีไม่พ้นน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ทกับน้ำ
ปัจจุบัน นี้ โรงงานน้ำตาลทันสมัยมีความสามารถในการสกัดน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลได้เกลี้ยง ที่สุด แต่ก็ไม่หมด เสียทีเดียว เพราะถ้าสกัดให้ออกหมดจริงจะสิ้นค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงมีน้ำตาลซูโครสบางส่วนที่สูญเสียไปกับกากน้ำตาล ซึ่งมักจะสูญเสียไปมากที่สุดกว่าที่สูญเสียไปทางอื่น โดยทั่วๆ ไปจะมีซูโครสปนอยู่ในกากน้ำตาลเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์
2.1 ส่วนประกอบของกากน้ำตาล
ต่อไปนี้ คือ ส่วนประกอบของกากน้ำตาล 32 ตัวอย่าง ที่ได้จากโรงงานน้ำตาลในอาฟริกาใต้ ในปี 1957 จากโรงงาน 17 แห่ง
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
น้ำ 20.65
ซูโครส 36.60
รีดิวซิงชูการ์ 13.00
น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อได้ทั้งหมด 50.50
เถ้าของซัลเฟต 15.10
ยางและแป้ง (gum & starch) 3.01
แป้ง 0.42
ขี้ผึ้ง 0.38
ไนโตรเจนทั้งหมด 0.95
ซิลิกา ในรูป SO2 0.46
ฟอสเฟตในรูป P2 O5 0.12
โพแทสในรูป K2 O 4.19
แคลเซียมในรูป CaO 1.35
แมกนีเซียมในรูป Mg O 1.12
 
สิ่งสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของกากน้ำตาลก็ คือ น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อได้ทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก กากน้ำตาลจากบางโรงงานมีส่วนประกอบนี้ ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นน้ำตาลชนิดอินเวอร์ท
2.2 ประโยชน์ของกากน้ำตาล
อุตสาหกรรม การผลิตเหล้าและแอลกอฮอล์ เป็นแหล่งใหญ่ที่ต้องการกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ สำคัญในอุตสาหกรรม ผลิตน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ผลผลิตที่ได้จากการหมักกากน้ำตาลได้แก่เอทิลแอลกอฮอล์ บิวธิลแอลกอฮอล์ อาซีโตน กรดซิตริก กลีเซอรอล (glycerol) และยีสต์ เอทิลแอลกอฮอล์ใช้ทำกรด อาซีติค เอธีลอีเธอร์ ฯลฯ สารประกอบอื่นที่ ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอธิลอาซีเตท บิวธิลอา-ซีเตท อามีลอาซีเตท น้ำส้มสายชู และคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง ในอดีตชาวเกาะเวสต์อินดีส ผลิตเหล้ารัมจากกากน้ำตาล นอกจากนั้นถ้านำกากน้ำตาลที่ทำให้ บริสุทธิ์ไปหมักและกลั่นจะได้ เหล้ายิน (gin) ส่าเหล้าหรือยีสต์ที่ตายแล้ว เป็นผลพลอยได้ซึ่งนำไปทำอาหารสัตว์ นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้ทำยีสต์สำ หรับทำขนมปังและเหล้าได้ด้วย ยีสต์บางชนิดที่ให้โปรตีนสูงคือ Torulopsis utilis ก็สามารถเลี้ยงขึ้นมาได้จาก กากน้ำตาล กากน้ำตาลสามารถนำมาทำกรดเป็นแลคติคได้ แม้ว่าจะทำได้น้อยมาก
ใน อดีตชาวปศุสัตว์ ใช้กากน้ำตาลผสมลงในอาหารสัตว์ แต่ก็มีขีดจำกัด กล่าวคือ วัวตัวหนึ่งไม่ควรรับกากน้ำตาล เข้าไปเกิน 1.5 ปอนด์ สัตว์ชอบกินกากน้ำตาลคลุกกับหญ้าเพราะช่วยทำให้รสชาติดี รวมทั้งการใส่กากน้ำตาลในไซเลจ (silage) อีกด้วย
มี ผู้วิจัยทดลองใส่แอมโมเนียลงใน กากน้ำตาล พบว่า สามารถผลิตโปรตีนได้และสัตว์สามารถกินกากน้ำตาล นี้เข้าไปและทำให้สร้างโปรตีนขึ้นในร่างกายสัตว์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ประหลาดที่กากน้ำตาลเป็นสารคาร์โบไฮเดรต สามารถถูกสัตว์ เปลี่ยนไปเป็นโปรตีน ได้ผลดี
ส่วน ประกอบสำคัญของน้ำอ้อยอีกชนิดหนึ่งก็คือ กรดอโคนิติค ซึ่งจะผสมรวมอยู่ในกากน้ำตาล ซึ่งเราสามารถแยก ได้โดยการตกตะกอนด้วยเกลือแคลเซียม กรดอโคนิติคนี้มีความสำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ พลาสติก เรซิน และสาร ชักเงา
ประโยชน์ สุดท้ายของกากน้ำตาลก็คือ การใช้ทำปุ๋ยหรือปรับคุณภาพดิน กากน้ำตาลมีส่วนประกอบของโพแทสเซียม อินทรีย์วัตถุ และธาตุรองอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับปรับสภาพดินทราย หรือดินเลวที่ไม่มีการเกาะตัว เนื่องจากขาดอินทรีย์วัตถุอีกด้วย ประโยชน์สุดท้ายใช้ผสมกับชานอ้อยสำหรับทำถ่านใช้ในครัวเรือน

การใช้ประโยชน์จากอ้อย 1

การใช้ประโยชน์จากอ้อย


อ้อย
     
เป็น ไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก
         
      อ้อย มีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อและสีของลำต้น อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อ้อยที่นำมาคั้นน้ำสำหรับดื่ม เป็นอ้อยที่ปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว ประชาชนเรียกว่า อ้อยเหลือง หรือ อ้อยสิงคโปร์ นิยมปลูกกันมากในบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็นต้น
น้ำตาลจากอ้อย
น้ำตาล ที่ได้จากอ้อยแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ 1) centrifugal และ 2) non-centrifugal ชนิดแรกเป็นน้ำตาลที่ถูกแยกเอาน้ำตาลโมลาส หรือที่ชาวโรงงานน้ำตาลชอบ เรียกว่า น้ำเหลือง ออกจากผลึกของน้ำตาล โดยวิธีอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centrifugal) ส่วนน้ำตาลชนิดที่สอง เป็นน้ำตาลที่ไม่มีการแยกเอาน้ำตาลโมลาสออก นอกจากนี้อาจจะมีน้ำตาลชนิดที่ 3 ได้เรียกว่า เป็นน้ำตาลชนิดไซรับ (syrup) เราเรียกว่า ไซรับ เพราะมีลักษณะเป็นของเหลวข้น ไซรับเกิดจากโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก หีบเอาน้ำอ้อยมาทำให้ข้น แล้วส่งไปทำเป็นน้ำตาลดิบ หรือน้ำตาลทรายที่โรงงานน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่กว่า เราสามารถจัดกลุ่มน้ำตาลได้ดังนี้คือ
Centrifugal sugar :
  • น้ำตาลดิบสามารถส่งไปทำเป็นน้ำตาลทรายขาว, ขาวพิเศษในโรงงานน้ำตาลใหญ่ต่อไปได้
  • น้ำตาล ทรายแดง มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ เช่น golden brown, yellow, washed grey, standard white, plantation white และ Khandsari
Non centrifugal sugar :
  • มี ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ กัน เช่น Gur, jaggery, panela, desi ปกติผลิตในโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก (cottage industries) เพื่อใช้บริโภคในหมู่บ้าน ในกรณี ของน้ำตาล jaggery ชาวบ้านนำไปใช้เพื่อทำเมรัยด้วยการหมักต่อไปอีก
Liquid sugars :
  • ได้แก่ น้ำตาลชนิดข้น มีชื่อเรียกเป็นภาษา อังกฤษ เช่น fancy molasse edible syrup
นอก จากจะหีบอ้อย เอาน้ำอ้อยไปทำ น้ำตาลแล้ว ส่วนประกอบส่วนอื่น ๆ ของอ้อยที่เหลือ เช่น ชานอ้อย กากน้ำตาลหรือโมเลส (molasses) และขี้ผึ้ง ฯลฯ ก็สามารถนำไปดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ทาง อื่นได้อีกด้วย
1. ชานอ้อย (bagasse)
หมาย ถึงเศษเหลือจากการหีบเอาน้ำ อ้อยออกจากท่อนอ้อยแล้ว เมื่อท่อนอ้อยผ่านลูกหีบชุดแรก อาจจะมี น้ำอ้อยตกค้างเหลืออยู่ยังหีบออกไม่หมด แต่พอผ่านลูกหีบชุดที่ 3-4 ก็จะมีน้ำอ้อย ตกค้างอยู่น้อยมาก หรือแทบจะไม่เหลือ อยู่เลย คือเหลือแต่เส้นใยล้วนๆ ผลพลอยได้อันดับต่อมา ได้แก่ ฟิลเตอร์มัด (filter mud) หรือบางแห่งก็เรียกฟิลเตอร์ เพรสเค็ก หรือฟิลเตอร์เค็ก หรือฟิลเตอร์มัด (filter-press cake, filter or filter muck) ซึ่งจะถูกแยกหรือกรองหรือ ทำให้น้ำอ้อยบริสุทธิ์โดยวิธีอื่นใดก็ตาม สิ่งสกปรกที่แยกออกมาก็คือ ฟิลเตอร์เค็ก ผลพลอยได้ อันดับสุดท้ายจากโรง งานน้ำตาลก็ได้แก่ กากน้ำตาล หรือโมลาส (molasses) ซึ่งมีลักษณะข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ ที่ไม่ สามารถจะสกัดเอาน้ำตาล ออกได้อีกโดยวิธีปกติ
ใน อดีตใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงสำหรับ ต้มน้ำในหม้อน้ำให้เดือดแล้ว ใช้กำลังไอน้ำสำหรับเดินเครื่องจักรไอน้ำและสำหรับกำเนิดไฟฟ้าในระยะเวลาต่อ มา ชานอ้อยในยุคก่อน ๆ ยังมีน้ำตาลที่หีบ ออกไม่หมดหลงเหลืออยู่มาก และเป็นการสะดวกในการที่ป้อนชานอ้อยจากลูกหีบลูกสุดท้ายเข้าสู่เตาต้มน้ำ หรือ boiler ได้ทันที ถึงกระนั้นก็ตามชานอ้อยก็ยังคงเหลืออยู่อีกมาก เนื่องจากหม้อน้ำใช้ไม่หมดทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด และทำลาย ให้หมดไปจากบริเวณโรงงานแม้ว่าบางโรงงานในแถบเวสต์อินดีสจะดัดแปลงไปใช้ กลั่นเหล้ารัมหรือแอลกอฮอล์บ้าง ชานอ้อยก็ ยังคงเหลืออยู่มากมาย
1.1 การใช้ประโยชน์ชานอ้อยในการอุตสาหกรรม
นัก วิจัยได้พยายามคิดค้นหาวิธี นำชานอ้อยไปประดิษฐ์ใช้ให้เป็น ประโยชน์แก่มนุษย์ผลสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ โดยการนำไปอัดเป็นแผ่นคล้ายไม้อัด และใช้ทำเยื่อกระดาษตลอด จนพลาสติกและสารเฟอฟิวราล (furfural) เป็นที่ทราบกันดีว่ากระดาษอัดที่ทำจากชานอ้อย มีคุณสมบัติเก็บเสียงได้ดี และใช้ทำฝ้าเพดาน ตลอดจนใช้บุผนังห้องในบ้านหรือแม้แต่ในเรือและรถยนต์ ในบรรดาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จากชานอ้อย ต่างก็มีชื่อการค้าจดทะเบียนสิทธิ์ต่าง ๆ กัน เช่น ซีโลเท็กซ์ และเคเน็ก (Celotex and Canec) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของเส้นใยหรือไฟเบอร์ที่ได้จากอ้อยก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ใช้ มากนัก หรือแม้แต่โรงงานทำเยื่อกระดาษ ห่อของก็ยังต้องการให้ชานอ้อยมีเส้นใยยาวกว่านี้
เมื่อ มองในแง่ พลังงาน ซึ่งกำลังมีราคาแพงขึ้นในทุกวันนี้ ชานอ้อยแม้ว่าจะให้พลังงาน น้อยกว่าน้ำมันหรือถ่านหิน แต่ก็เป็นผลพลอยได้ที่โรงงานน้ำตาลไม่ต้องลงทุนซื้อหามาเหมือนน้ำมัน ปิโตรเลียม มีผู้คำนวณไว้ว่า ชานอ้อยหกตันที่มีความชื้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มี ไฟเบอร์ประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำตาลเหลืออยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ จะมีความร้อนเทียบเท่ากับน้ำมันเตาหนึ่งตันทั้งนี้ ถ้าชานอ้อยยิ่งมีความชื้นน้อยมีเปอร์เซ็นต์ไฟเบอร์สูง และมีน้ำตาลซูโครสที่เหลืออยู่สูงก็จะให้ความร้อนสูงมากยิ่งขึ้น โดยวัดค่าความร้อนออกมาเป็น L.C.V. (lower calorific value) ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 2,800 ถึง 3,700 B.T.U. ต่อปอนด์
การ ทำเยื่อกระดาษจากชานอ้อยมี ประวัติมานาน และมีผู้จดทะเบียนสิทธิ์มาตั้งแต่ปี 1838 ต่อมาก็มีการผลิตกระ ดาษชนิดต่าง ๆ จากเยื่อกระดาษที่ได้จากชานอ้อย ในปี 1856 มีรายงานว่า มีผู้ประดิษฐ์กระดาษชนิดกระดาษหนังสือ พิมพ์ได้จากชานอ้อย จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตเยื่อกระดาษจากชานอ้อยได้รุดหน้าไปไกล มาก ชานอ้อยที่จะ ถูกนำมาแยกสิ่งสกปรกและสิ่งที่ละลายปนมาตลอดจน pith ออกก่อนโดยวิธีทำให้เปียกแล้วทำให้แห้งทันที แล้วนำไป ผสมกับเยื่อกระดาษที่ได้จากไม้ไผ่และเยื่อกระดาษจากกระดาษเก่าๆ (cellulosic material) อีกวิธีหนึ่งในการแยก pith ออก ก็โดยวิธีที่เรียกว่า ไฮดราพัลเพอร์ (hydrapulper) คือการใช้น้ำล้างอย่างแรงและชะให้ pith แยกออกโดยผ่านตะแกรง หมุนแล้วทำให้แห้ง
ใน แง่ของการทำเยื่อกระดาษ เส้นใยของวัตถุดิบที่นำมาทำเยื่อนับ ว่ามีความสำคัญที่สุด อันดับต่อไปก็คืออัตราส่วนสัมพันธ์ระหว่างความยาวของเส้นใย ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใย นับเป็นความสำคัญถัดไป Barnes (1964) ได้แยกอัตราส่วนดังกล่าวของพืชต่าง ๆ เทียบกับอ้อยไว้ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงความยาวของเส้นใยวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ทำเยื่อกระดาษเปรียบเทียบกับ อ้อย

เส้นใย
ความยาว (มม.)
เส้นผ่าศูนย์กลาง
(เฉลี่ย มม.)
อัตราส่วนของ
ความยาวกับเส้นผ่าศูนย์กลาง
ความยากง่ายในการทำเยื่อ*
เส้นใยเอสปาร์โต (esparto)
1.10 - 1.50
0.009 - 0.013
110 - 120 : 1
1
ลำต้นของกก (reed)
1.00 - 1.80
0.008 - 0.020
80 - 120 : 1
2
อ้อย
1.70
0.02
85 : 1
2
ไม้ไผ่
2.70
0.014
200 : 1
4
สน
2.70 - 3.60
0.032 - 0.043
57 - 90 : 1
4
* 1 = ง่าย , 4 = ยาก

ส่วน ประกอบ ทางเคมีของชานอ้อยคล้ายกับของไม้เนื้อแข็ง (ไม้เนื้อแข็ง ในแง่การทำเยื่อกระดาษ) ส่วนประกอบดังกล่าวปรวนแปรไปตามชนิดพันธุ์ อายุและสภาพที่อ้อยเติบโตขึ้นมา ชานอ้อยมีลิกนิน (lignin) น้อยกว่าไม้ยืนต้น มีสารเพนโตแซน (pentosan) มากกว่าไม้สนไม้สปรูซ (spruce) และไม้ยืนต้น อื่น ๆ บางชนิด ส่วนประกอบเซลลูโลส ชนิด Cross และ Bevan ของอ้อยมีลักษณะคล้ายกับไม้ที่ใช้ทำกระดาษชนิดอื่น ๆ ขี้เถ้าของอ้อยมีส่วนประกอบผิดแผกจากไม้ชนิดอื่น คือมี ซิลิกา (silica) สูงมาก และมีโพแทสกับแคลเซียมต่ำ เส้นใยอ้อยยก เว้น pith เหมาะสมที่จะนำมาทำเยื่อกระดาษมาก คือ จัดเป็นเยื่อชนิดดี และฟอกสีได้ง่าย ข้อเสีย คือ จำเป็นจะต้องแยก pith ออกก่อนทำเยื่อและ pith ที่แยกออกมาสามารถนำไปสังเคราะห์ทำอาหารสัตว์ได้โดยผสมกับกากน้ำตาล หรือสามารถ ใช้ทำส่วนประกอบของวัตถุระเบิดได้
การทำเยื่อกระดาษก็เพื่อที่จะละลายส่วนที่เป็นลิกนินและเฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ออกจากชานอ้อย ลิกนินเป็นส่วน หนึ่งซึ่งยึดเส้นใยของชานอ้อยให้ติดกัน ทำให้ไม่สามารถทำให้ได้กระดาษแผ่นบาง ๆ ได้ ส่วนเฮมิเซลลูโลสถ้ามีอยู่เกิน 20% จะทำให้กระดาษที่ได้ขาดง่ายเกินไป ไม่เหนียวและหยุ่นตัว
ก่อนทำเยื่อกระดาษ จะต้องนำชานอ้อยมาล้าง และแยกส่วนที่เรียกว่า “พิท” (pith) ออกก่อน เยื่อที่เหลืออยู่จะถูกนำ ไปย่อย หรือผสมกับส่วนผสมหนึ่ง หรือมากกว่าตามสูตร ซึ่งมักจะปิดบังไม่เปิดเผย เสร็จแล้วนำไปผ่านความร้อน 10 - 12 นาที สิ่งที่ได้เรียกว่า เยื่อกระดาษ ต่อมาเยื่อกระดาษจะถูกนำไปทำให้ขาวโดยการฟอกด้วยนม หรือสารเคมี แล้วแต่ว่าจะนำ เยื่อกระดาษนั้นไปใช้ทำอะไร
1.2 เฟอฟูราล (Furfural)
เฟอ ฟูราล ซึ่งเป็นสารประกอบที่สกัด ได้จากชานอ้อย มีชื่ออื่นอีก คือ ฟูรอล, เฟอฟูรอล, เฟอฟูราลดีไฮด์ (furol, furfurol, furfuraldehyde) เป็นสารเคมีที่ไม่มีสี ไม่ติดไฟมีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่าย เมื่อถูกแสงสว่างหรืออากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดงน้ำตาล เฟอฟูราล ใช้ในอุตสาหกรรม กลั่นไม้และน้ำมันหล่อลื่น หรือใช้เป็นส่วนผสมของกาว หรือตัวการที่ทำให้พลาสติกแข็งตัว นอกจากนี้เฟอฟูราลยังเป็นตัว ละลายชนิดเดียวของสารบูตาดีน (butadiene) ในอุตสาหกรรมผลิตยางสังเคราะห์ และใช้ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม ส่วน มากในปัจจุบันใช้เป็นวัตถุประกอบสำคัญในการผลิต “ไนลอน 5-6” วัตถุดิบอื่นที่นำมาใช้ผลิตเฟอฟูราลได้อีก ได้แก่ ซังข้าว โพด เปลือกข้าวโอ๊ต เมล็ดฝ้าย แกลบ และชานอ้อย ซึ่งวัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีเพนโตแซนและเซลลูโลส ซึ่งเมื่อถูกนำมา ย่อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจาง ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูงถึง 153 องศาเซลเซียส ก็จะได้สารเฟอฟูราลบริสุทธิ์ 98-99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อน้ำ และใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้
ส่วนประกอบเพนโตแซนในชานอ้อยมีอยู่ประมาณ 24 ถึง 32 เปอร์เซ็นต์ และใน pith จะมีอยู่ประมาณ 27.5 ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันนี้ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันเป็นผู้ผลิตสารเฟอฟูราลได้มากที่สุด คือประมาณ ปีละ 30 ล้านปอนด์
1.3 แอลฟา-เซลลูโลส (µ-cellulose)
เป็น สารที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็นสารขั้นต้นของเยื่อกระดาษซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว วิธีการสกัดสารนี้ ใช้วิธีของ de la Roza (1946) ซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิ์เอาไว้ ผลผลิตตามวิธีนี้จะได้เยื่อกระดาษแอลฟาเซลลูโลส จากการกลืนย่อยโดยใช้กรด และด่างถึงประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์
อีก วิธีหนึ่งที่ ใช้สกัดแอลฟาเซลลูโลส เป็นวิธีของ Lynch และ Aronowsky โดยการย่อย ด้วยกรดไนตริค ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เสร็จแล้วล้างและทำให้สะเด็ดน้ำ แล้วย่อยต่อด้วยโซดาไฟ
สาร แอลฟาเซลลูโลส นี้ นำไปผลิตสิ่งต่าง ๆ ได้อีก เช่น เซลโลเฟน เรยอง พลาสติก วิสโคส (viscose) เซลลูโลสอาซีเตท ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งเป็นสารที่ใช้ทำวัตถุระเบิด เป็นต้น
1.4 พลาสติก (plastics)
พลาสติก มีกรรมวิธีผลิตได้หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ การใช้ชานอ้อยที่บริสุทธิ์ปราศจาก pith ปั่นให้เป็นผง ใช้เป็นฟิล เลอร์ (filler) ของพลาสติก อีกวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ลิกนิน (lignin) บริสุทธิ์เป็นเนื้อพลาสติก เรียกว่าพลาสติกแท้ ชานอ้อย เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับทำพลาสติกมาก เนื่องจากหาได้ง่าย ราคาถูกและมีส่วนประกอบทางเคมีเหมาะสมมาก ชานอ้อยมีส่วน ประกอบของลิกนิน 13 ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับสารพลาสติไซส์ วัสดุอื่นที่ได้จากชานอ้อยในการแยกชานอ้อย เพื่อทำพลาสติก ได้แก่สารอนิลินฟินอล และเฟอฟิวราล ซึ่งแยกโดยการไฮโดรไลซ์เพนโตแซนในชานอ้อย
กรรมวิธี อีกแบบหนึ่ง ได้แก่ การย่อยชานอ้อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจางหรือย่อยด้วยน้ำผสมกับ อนิลิน สารเฮมิเซลลูโลสจะถูกละลายออกมา ซึ่งจะทำให้ ส่วนประกอบที่เป็นลิกนินมีมากขึ้น หลังจากนั้นก็ใช้สารละลายชะล้างสิ่งที่ละลายได้ออกไป นำไปทำให้แห้งและบดเป็นผงนำไป ผสมหรือเข้าแบบหล่อร่วมกับสารพลาสติไซส์ จะได้สารชนิดหนึ่งที่มีประกายแข็งสีดำและไม่ละลายน้ำและเป็นฉนวนไฟฟ้า สารที่ได้นี้สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีได้สารเรซินที่เรียกว่า “โนโวแลค” (Novolak) ซึ่งเป็นสิทธิจดทะเบียนของบริษัท ล็อค พอร์ดแห่งหลุยเซียนา
1.5 โปรดิวเซอร์แก๊ส (Producer gas)
ได้ มีผู้ค้นพบว่าชานอ้อยสามารถผลิตโปรดิวเซอร์แก๊สได้ ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานเผาไหม้ชานอ้อยที่มีความชื้น 30-50 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาผลิตแก็สที่มีค่าพลังงานดังต่อไปนี้
ส่วนประกอบเป็นเปอร์เซ็นต์ Calorific value
CO2 11.2 666 BTU/lb
CO 17.0 1,200 Cal/kg
CH4 6.2 120 BTU/cu ft.
Hydrogen 5.9
Oxygen 0.3
Nitrogen 59.4
 
เมื่อต้องการใช้จะต้องให้อากาศ 1 cu.ft ทำปฏิกิริยากับแก๊สนี้ปริมาตรเท่ากัน อัตราการสิ้น เปลืองชานอ้อยต่อหนึ่งแรงม้า/ชั่วโมง มีน้ำหนัก 0.9 ถึง 1.8 กิโลกรัม ถ้าเผาชานอ้อยได้ความร้อนเท่ากับ 100 เปรียบเทียบกับ โปรดิวเซอร์แก๊สน้ำหนักเท่ากันจะให้ความร้อนในการผลิตไอน้ำเท่ากับ 1.8 (เครื่องจักรชนิด non-condensing) และจะได้ ความร้อน 252 Btu จากเครื่องจักรชนิด condensing engine
1.6 การทำไม้อัดชนิด Medium density fiber particle board (MDFB)
โรงงานน้ำตาลส่วนมากจะใช้ชานอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงต้มหม้อน้ำ เพื่อใช้ไอน้ำในการทำน้ำตาลและปั่นกระแส ไฟฟ้าในโรงงาน ทุกปีจะมีชานอ้อยเหลืออยู่มากมายเป็นภาระแก่โรงงาน ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยอย่างน้อย สองโรงงานที่ใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตกระดานไม้อัดชนิดความหนาแน่นปานกลาง (MDFB) การผลิตไม้อัดดังกล่าวถือเป็นความ ลับ ของโรงงานซึ่งไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน
กรรมวิธี การทำไม้อัด เริ่มจากล้างทำความสะอาดชานอ้อยให้สะอาดปราศจากน้ำตาลโดยการใช้น้ำร้อนหรือ ไอน้ำ ในถังล้างซึ่งหมุนรอบตัวเอง เมื่อสะอาดแล้วชานอ้อยจะถูกส่งเข้าเครื่องทำไม้อัด โดยการผสมกับ resin แล้วอัดลงในกรอบ แผ่นไม้อัดที่ผ่านเครื่องออกมาจะยังคงอ่อนตัวและยังชื้นอยู่ ดังนั้นแผ่นไม้อัดจะถูกส่งเข้าสู่เครื่องรีดอัด เพื่อรีดน้ำออกและ ทำให้แห้งให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ หลังจากนั้นก็นำมาตัดและอบให้แห้ง ไม้อัดที่ได้จะไม่บิดเบี้ยวและทาสีได้ไม่ดูดสี ไม้อัดที่ได้จะสามารถทำให้ทนต่อการทำลายของแมลง เชื้อรา หรือทนต่อฝนหรือน้ำค้างก็สามารถทำได้โดยการอาบน้ำยา ไม้อัด ดังกล่าวมักจะทำให้มีขนาด 153 x 350 ซม. มีความหนา 4 ถึง 40 มม. เพื่อให้เหมาะสมแก่ความต้องการของตลาด (Langreney, F and Hugot, 1969)

อ้อยแดง (อังกฤษ:Sugar-cane)


อ้อย หรือ อ้อยแดง (อังกฤษ:Sugar-cane, ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum officinarum Linn. GRAMINEAE ) ชื่ออื่นคือ อ้อยขม หรืออ้อยดำ เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก
อ้อยมีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อและสีของลำต้น อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อ้อยที่นำมาคั้นน้ำสำหรับดื่ม เป็นอ้อยที่ปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว ประชาชนเรียกว่า อ้อยเหลือง หรือ อ้อยสิงคโปร์ นิยมปลูกกันมากในบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็นต้น
 

พ.ศ. 2550 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยขึ้นมาใหม่ คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 80 ซึ่งได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ 85-2-352 กับพันธุ์พ่อ K84-200 ใช้ระยะเวลาคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์นานกว่า 11 ปี มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตในอ้อยปลูกน้ำหนักเฉลี่ย 17.79 ตัน/ไร่ ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.66 ตันซีซีเอส/ไร่ นอกจากนี้ยังสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ดำได้ระดับปานกลางด้วย
ตำรายาไทยใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำ แบ่งดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองในและขับนิ่ว แพทย์พื้นบ้านใช้ขับเสมหะ รายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง
 
จากการเก็บข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในช่วงเดือน มกราคม 2551 ถึงเดือนธันวาคม 2551 พบว่าน้ำตาลทรายทั้งน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ มียอดจำหน่ายรวม 4,882,364.75 ตัน มูลค่าทั้งสิ้น 47,534,165,415.53 ล้านบาท ดังนั้นเป็นตัวชี้ว่า อ้อย เป็นพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ocsb.go.th/uploads/contents/43/attachfiles/F8574_ExportInt01122551.pdf
 
โรคของอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ โรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ โรคใบขาว โรคกอตะไคร้ โรคใบขีดแดงและยอดเน่า โรคเน่าคออ้อย โรครากโคนเน่าจากเชื้อเห็ด โรคกลิ่นสัปปะรด โรคลำต้นเน่า โรคเหี่ยว โรครากเน่า โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม
ข้อมูลจาก :: ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี
 
แมลงศัตรูอ้อยที่ สำคัญ  ได้แก่ หนอนกอลายเล็ก (ลายจุดเล็ก) , หนอนกอลายจุดใหญ่,หนอนกอสีชมพู , หนอนกอสีขาว, ด้วงหนวดยาวอ้อย,ด้วงงวงอ้อย,ตั๊กแตนปาทังก้า,ตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส หรือตั๊กแตนข้าว,ตั๊กแตนโลกัสต้า,เพลี้ยอ่อนสำลี,เพลี้ยแป้งสีชมพู
,แมลง หวี่ขาวอ้อย,เพลี้ยกระโดดดำ,มวนอ้อย,เพลี้ยหอยอ้อย,แมลงนูนหลวง,หนอนบุ้ง, ตั๊กแตนไมเกรทอเรีย,ตั๊กแตนผี,จิ้งหรีดทองดำ,เพลี้ยจั๊กจั่นแดง,เพลี้ยจั๊ก จั่นหัวเหลือง,เพลี้ยจั๊กจั่นอ้อยสีน้ำตาล,เพลี้ยไก่แจ้อ้อย,เพลี้ยกระโดดไพ ริลล่า,เพลี้ยอ่อนอ้อย,ด้วงกว่าง,ด้วงกุหลาบ,หนอนกัดโคนหน่ออ้อย,แมลงดำหนาม อ้อย,หนอนสีครีม,หนอนเจาะยอดอ้อยผีเสื้อสีขาวขนสีน้ำตาล,หนอนเจาะยอดอ้อย ผีเสื้อสีขาวขนสีชมพู,หนอนเจาะยอดอ้อยลายจุด,ไรอ้อยใยสีขาว,ไรอ้อยสีแดงหรือ ไรข้าวฟ่าง,หนอนกอลายใหญ่,ปลวก 
 
เข้าชมข้อมูลแมลงศัตรูธรรมชาติเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaibiocontrol.org