Saturday, May 18, 2013

การเตรียมดิน

การเตรียมดิน


      มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแปลงปลูกที่ดีให้กับอ้อย เพราะการปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3 ปี หรือมากกว่า เนื่องจากอ้อยจะแตกกอหลังจากตัดเก็บเกี่ยว ดังนั้นการเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และความสามารถในการไว้ตอของอ้อย การเตรียมดินที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้


ถ้ามีชั้นดินดานหรือมีการอัดตัวแน่นหรือปลูกอ้อยมานาน ควรมีการระเบิดดินดาน โดยไถระเบิดดินดานให้ลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บน้ำของดินและรากสามารถเจริญหยั่งลึกนำน้ำมาใช้ได้

ไถบุกเบิกและพรวนด้วยผาน 3 และ 7 เมื่อดินมีความชื้นเหมาะสม สังเกตได้โดยถ้าเป็นดินทรายให้ใช้มือกำดินให้แน่นแล้วคลายมือออก ถ้าดินจับตัวเป็นก้อนแสดงว่ามีความชื้นเหมาะสม ถ้าเป็นดินเหนียวไม่ควรไถเมื่อดินชื้นหรือแข็งจนเกินไป ควรไถดินให้ลึก 30-50 เซนติเมตร เพื่อให้รากหยั่งลึกและสามารถหาน้ำได้ดี

ในกรณีปลูกอ้อยปลายฝน (ดินทราย) ควรไถเปิดหน้าดินด้วยผาล 3 หรือ 7 เพื่อรับ
น้ำฝนในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม จากนั้นทำการพรวนและชักร่องปลูกทันทีในเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

ในกรณีปลูกอ้อยชลประทาน (ดินเหนียว) ควรเตรียมดินให้ละเอียดและเสร็จภายในครั้งเดียว (ไถดะ ไถแปร ไถพรวน ชักร่อง) เพื่อลดการสูญเสียความชื้น

ในกรณีปลูกอ้อยต้นฝน ควรเตรียมดินและชักร่องอ้อยให้เสร็จก่อนเดือนมีนาคม และปลูกอ้อยทันทีเมื่อมีฝนแรกตก

ระยะปลูกและวิธีปลูก



ทำการยกร่อง ใช้ระยะระหว่างร่อง 0.8-1.5 เมตร โดยระยะร่องที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับวิธีการปฏิบัติหรือการดูแลรักษาของเกษตรกร หากใช้แรงงานคนหรือแรงงานสัตว์ในการดูแลรักษา ควรมีระยะ 0.8 - 1.0 เมตร และระยะ 1.3 - 1.5 เมตร สำหรับการใช้เครื่องจักรกลขนาดกลางถึงใหญ่

ในการปลูกอ้อยต้นฝน เมื่อวางท่อนพันธุ์แล้วควรทำการกลบดินให้สม่ำเสมอหนา 3-5 เซนติเมตร ส่วนอ้อยปลายฝน ควรกลบดินให้แน่นและหนา 10-15 เซนติเมตร

การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก เครื่องจะเปิดร่องใส่ปุ๋ย วางท่อนพันธุ์ และกลบ

การดูแลรักษาอื่นๆ


การให้ปุ๋ย สูตรปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมขึ้นกับผลการวิเคราะห์ดิน โดยการใส่ปุ๋ยครั้งแรกควรใส่พร้อมกับการปลูกอ้อย หรือหลังตัดแต่งตออ้อยไม่เกิน 15 วัน ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ควรใส่ห่างจากการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ประมาณ 3-4 เดือน ในการใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้น โดยโรยข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 30-50 เซนติเมตร และต้อง
ฝังกลบปุ๋ย ยกเว้นการใส่ปุ๋ยรองพื้น

การให้น้ำ สำหรับพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ ควรให้น้ำตามร่องก่อนทำการปลูกอ้อย โดยให้น้ำประมาณเศษสามส่วนสี่ของร่อง และไม่ต้องระบายน้ำออก มีการให้น้ำเสริมอย่างน้อย 3 ครั้ง คือในช่วงปลูก อ้อยแตกกอ และย่างปล้อง เพื่อทำให้อ้อยมีการเจริญเติบโตอย่าง
ต่อเนื่อง

การกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน หรือเครื่องจักรกล 1-2 ครั้ง ในช่วงอ้อยอายุ 1-2 เดือน หรือก่อนวัชพืชออกดอก ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชไม่มีประสิทธิภาพ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืช เช่น อะทราซีน เมทริบูซีน ไดยูรอน พ่นคลุมดินหลังปลูกอ้อย (ก่อนอ้อยและวัชพืชงอก) พ่นในขณะที่ดินมีความชื้นสูง ส่วนอามีทรีน พ่นหลังปลูกอ้อย ก่อนอ้อยและวัชพืชงอกหรืองอกหลังปลูกเมื่อวัชพืชมี 4-5 ใบ เฮกซาซิโนน หรือ ฮิมาซาพิค พ่นคลุมดินหลังปลูกอ้อย ก่อนอ้อยงอกและสามารถฉีดพ่นได้ถึงแม้ว่าดินมีความชื้นต่ำ

0 comments:

Post a Comment