Saturday, May 18, 2013

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว
 
    การเก็บเกี่ยวอ้อยให้มีคุณภาพต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของอ้อย พันธุ์อ้อย แรงงานตัดอ้อย ลำดับการตัดที่ได้รับจากทางโรงงาน การตัดอ้อยให้ได้คุณภาพสูงมีข้อพิจารณาดังนี้
เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือนหลังปลูก โดยสังเกตจากยอดอ้อยจะมีข้อถี่กว่าปกติ ใบสีเขียวซีด มีค่าบริกซ์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 22 องศาบริกซ์ โดยอ้อยทุกพันธุ์ควรที่จะตัดอ้อยที่ปลูกปลายฝนก่อน ตามด้วยอ้อยตอ และอ้อยต้นฝน ยกเว้นพันธุ์ เค 88-92 ที่ช่วงเวลาการตัดที่เหมาะสมคือ เดือน กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม
มีการวางแผนการตัดอ้อยและจำนวนของคนตัดอ้อย ให้สัมพันธ์กับลำดับการตัดอ้อยที่ได้รับจากทางโรงงาน จะทำให้ไม่สูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย เนื่องจากการตัดอ้อยค้างไร่ไว้เป็นเวลานาน
ควรตัดอ้อยสด ไม่ควรเผาอ้อยก่อนตัด เนื่องจากอ้อยไฟไหม้ จะมีการสูญเสียน้ำหนัก และรายได้ มากกว่าอ้อยตัดสด นอกจากนั้นอ้อยไฟไหม้จะถูกหักราคาตันละ 20 บาท อ้อยไฟไหม้ยอดยาวตัดราคาตันละ 40 บาท เนื่องจากอ้อยไฟไหม้จะทำให้การทำน้ำตาลยากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การหีบอ้อยได้ช้าลง
ควรมีการควบคุมให้ตัดอ้อยชิดดิน ซึ่งจะทำให้ลดการสูญเสียของน้ำหนักอ้อยที่เหลือค้างไร่ได้ 0.3 - 2 ตัน/ไร่ และทำให้สูญเสียรายได้ 186 - 1,240 บาท/ไร่
ควรตัดอ้อยให้สะอาดและไม่ควรนำสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น ยอดอ้อย กาบ และใบอ้อย เข้า
โรงงานเพราะจะทำให้ค่าซีซีเอส และรายได้ลดลง นอกจากนั้นอ้อยยอดยาวจะถูกตัดราคา
ตันละ 20 บาท
 
 
การดูแลรักษาอ้อยตอ
 
ควรมีการไว้ใบอ้อยคลุมดิน เพื่อเก็บรักษาความชื้นไว้ในดิน ทำให้อ้อยตองอกดี ช่วยป้องกันการงอกของวัชพืช ในกรณีที่อ้อยตองอกไม่สม่ำเสมอ โดยระยะห่างระหว่างกออ้อยมากกว่า 0.5 เมตร หรือไม่งอกเป็นบริเวณพื้นที่กว้าง ควรทำการปลูกซ่อมเมื่อดินมีความชื้นโดยใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่มีตาสมบูรณ์ หรือในกรณีที่ขาดแคลนพันธุ์อ้อยอาจใช้วิธีการปลูกอ้อยถุง แล้วนำไปปลูกซ่อม

0 comments:

Post a Comment