Sunday, January 6, 2013

อ้อยสายพันธู์ต่างๆ

อ้อยสายพันธู์ต่างๆ

ขอนแก่น3
  พันธุ์อ้อยแนะนำจากหน่วยงานต่าง ๆ
พันธุ์จากต่างประเทศ คือ
จากไต้หวัน ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษร เอฟ. (F) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น อาร์โอซี. (ROC-Taiwan Republic of Chian) มี พันธุ์ เอฟ.140, เอฟ.154, เอฟ.156, อาร์โอซี.1, อาร์โอซี.10
จาก ฟิลิปปินส์ (ฟิล-Phill) มีพันธุ์ ฟิล. 58-260, ฟิล.63-17, ฟิล.66-07 (มาร์กอส-Marcos) และ ฟิล. 67-23
จากออสเตรเลีย จากรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) มี คิว.83, คิว.130 และจากเอกชน ซีเอสอาร์ .(CSR-Colonial Sugar Refining Co.) คือไตรตัน (Triton)
จากอินเดีย ซีโอ. (CO – Coimbatore) มีพันธุ์ ซีโอ.419, ซีโอ.1148, ซีโอ.62-175
จากฮาวาย เอช. (H-Hawaii) H.483166 H.47-4911 (เอฟ.ใบลาย)
พันธุ์อ้อยที่เกิดในประเทศไทย โดย นักวิชาการชาวไทย คือ
พันธ์จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) โดยศูนย์เกษตรอ้อยภาคกลาง ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ชื่อย่อว่า เค.(K) พันธุ์ เค. ทั้งหลาย ได้แก่ เค.76-4, เค.84-69, เค.84-200, เค.86-161, เค.88-87 , เค.88-92 และ เค.92-102
พันธุ์อู่ทอง จากสถาบันวิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง มีพันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 และอู่ทองแดง (80-1-128)
พันธุ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (กพส.-Kps) ได้แก่ พันธุ์ ม.ก.50, พันธุ์ กพส.85-2 (85-11-2), กพส.89-20 และ กพส.89-26
ในจำนวนนี้พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด คือ เค.84-200 ซึ่งปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และกำลังขยายไปในภาคอื่น ๆ การปลูกอ้อยพันธุ์เดียวเกินกว่าร้อยละ 30 นับว่าเสี่ยงมากเพราะถ้าอ้อยพันธุ์นี้เกิดโรคระบาดรุนแรงก็จะเสียหายมากเช่น เดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปลูกพันธุ์มาร์กอสมากกว่า 40% ขณะนี้อ้อยตอของพันธุ์มาร์กอสกำลังเป็นโรคมาก โดยเฉพาะอ้อยตอ หลังจากไถรื้อตอแล้วชาวไร่ควรหาอ้อยพันธุ์ใหม่มาปลูกทดแทน


http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=33665

วิธีการปลูกอ้อย

วิธีการปลูกอ้อย



หัวใจของการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ ลงทุนต่ำ

หัวใจของการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันเป็นวงจร เพื่อดูแลหล่อเลี้ยงต้นอ้อยให้เติบโตสมบูรณ์ คือ

1. ดิน
2. พันธุ์อ้อย
3. น้ำ
4. ปุ๋ย

โดยมีวิธีการปลูกดังนี้
- การเตรียมดิน
เนื่องจากดินเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของอ้อย การศึกษาเรื่องของดินอย่างลึกซึ้งถึงแก่น ทำให้ทราบว่า ดินที่อ้อยต้องการ จะต้องมีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ ดังนั้น การเตรียมดินจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน,ซิลิคอน ผสมกันในอัตราที่เหมาะสม เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุมากขึ้น สภาพพื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อยสามารถระบายน้ำได้ดี มีแหล่งน้ำที่สะอาด อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นแหล่งน้ำชลประทาน(ในกรณีใช้น้ำหยด)
การเตรียมดิน เนื่องจากอ้อยเป็นพืชอายุยืนและมีรากหยั่งลึกมาก และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้วสามารถไว้ตอหรือเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง ตลอดจนความยาวนานของการไว้ตอ นอกจากจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพลมฟ้าอากาศแล้ว การเตรียมดินนับว่ามีบทบาทสำคัญมาก ชาวไร่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ
การไถ สำหรับการเตรียมพื้นที่ ซึ่งปลูกอ้อยอยู่แล้ว และต้องการรื้อตอเก่าเพื่อปลูกใหม่ก็เริ่มต้นด้วยการเผาเศษที่เหลืออยู่บน ดินโดยเร็วภายหลังการเก็บเกี่ยว เพราะขณะนั้นดินยังมีความชื้นพอที่จะปฏิบัติไถพรวนได้สะดวก ก่อนใช้ไถบุกเบิกรื้อตอเก่า ควรใช้เครื่องไถระเบิดดินดาน (subsoiler) หรือไถสิ่ว (ripper) ไถแบบตาหมากรุกเพื่อให้ดินนั้นเก็บน้ำไว้มากขึ้นภายหลังฝนตกและดินระบายน้ำ ได้ดีแล้ว ยังทำให้รากสามารถหยั่งลึกได้มากขึ้นอีกขณะเดียวกัน ถ้าพื้นดินอยู่ในสภาพที่ขาดน้ำก็จะเป็นทางให้อ้อยใช้น้ำใต้ดินได้อีกด้วย
เมื่อไถระเบิดดินชั้นล่างแล้วก็ตามด้วยไถจาน ๓ อีก ๓-๔ ครั้ง คือ ไถดะ ๑ ครั้ง แล้ว ไถแปรอีก ๑-๒ ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและฤดูกาลที่ปลูก สำหรับการปลูกต้นฝน อาจไม่จำเป็นต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากนัก แต่ถ้าเป็นการปลูกปลายฝนการเตรียมดินให้ละเอียดเป็นสิ่งจำเป็นการไถควรไถให้ ลึกมาก ๆ เพื่อให้สามารถเปิดร่องได้ลึกและปลูกได้ลึกด้วย
ข้อที่ต้องระวังในการเตรียมดินก็คือ ไถในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะวิธีง่ายที่สุดที่จะทราบว่าดินนั้นมีความ ชื้นพอเหมาะหรือไม่ก็คือเอาดินในชั้นที่จะมีการไถใส่ฝ่ามือ แล้วกำพอแน่นแบมือออก ถ้าดินมีความชื้นพอเหมาะ จะจับกันเป็นก้อนในลักษณะพร้อมที่จะแตกออกเมื่อมีอะไรมากระทบ ดินที่มีความชื้นน้อยเกินไปก็จะแข็งมากไถลำบาก ถ้าดินมีความชื้นมากเกินไปก็จะจับกันเป็นก้อน นอกจากนี้ถ้าเป็นพื้นที่ลาดเอียง การปฏิบัติต่าง ๆ ในการเตรียมดินต้องกระทำในทิศทางตั้งฉากกับความลาดเอียงเสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดการกร่อนของดินเนื่องจากน้ำ
การปรับระดับ เมื่อไถเสร็จแล้วควรปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบพอสมควร และให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยทางใดทางหนึ่งที่จะสะดวกต่อการให้น้ำและระบาย น้ำ ในกรณีที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนการปรับระดับจะทำให้น้ำไหลช้าลงช่วยลดการชะกร่อน ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในที่บางแห่งซึ่งมีความลาดเอียงค่อนข้างมากอาจต้องทำคันดินกั้นน้ำเป็นตอน ๆ ตัดขวางทางลาดเอียง พร้อมทั้งมีร่องระบายน้ำด้วย ทั้งคันดินและร่องน้ำควรให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลช้าลง บริเวณที่ลาดเอียงมากไม่ควรใช้ปลูกอ้อย
การยกร่อง การยกร่องหรือการเปิดร่องสำหรับปลูกอ้อยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะนอกจากจะสะดวกแก่การปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การปลูก การให้น้ำและการระบายน้ำแล้ว ยังทำให้ปลูกได้ลึกอีกด้วย การปลูกลึกช่วยให้อ้อยไม่ล้มง่าย ทนแล้งได้ดี และสามารถไว้ตอได้นานกว่าการปลูกตื้น เครื่องยกร่องอาจเป็นผานหัวหมู หรือหางยกร่องซึ่งใช้สำหรับยกร่องโดยเฉพาะแนวร่องที่ยกควรให้ตัดกับความลาด เอียงของพื้นที่ ระยะระหว่างร่องประมาณ ๙๐-๑๔๐ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้และวัตถุในการปลูก
- วิธีการปลูก แบบที่1
ก่อนอื่นจะต้องมีการคัดเลือกพันธุ์อ้อย พันธุ์ที่ควรเลือกต้องมีคุณสมบัติแตกกอดี มีความต้านทานต่อโรคสูง ให้ความหวานสูงและให้ผลผลิตต่อไร่สูงอีกด้วย เมื่อคัดพันธุ์อ้อยได้แล้ว เราจะตัดส่วนที่เป็นข้อตาออกมาเพาะไว้ในถุงเพาะชำทีละถุง จนข้อตาเริ่มงอกเป็นหน่อและโตขึ้น เราก็จะคัดเลือกหน่ออีกครั้ง ใช้วิธีการปลูกด้วยข้อตาโดยตัดห่างจากข้อตาด้านละ 2 นิ้ว 1 ถุงเพาะกล้า ใช้ 1 ข้อตา เมื่อกล้ามีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 30 – 45 วัน ก็นำลงปลูก ซึ่งก่อนปลูกให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นในอัตรา 2.5 กิโลกรัม/แถว(ต้องเป็นอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีส่วนผสมสารเพิ่มผลผลิต Active ซิลิคอน) แล้วนำต้นกล้าออกจากถุง นำมาลงดินให้พอดีกับร่องอ้อย โดย 1 ร่อง สามารถลงอ้อยได้ 2 ต้น วางเป็นบล็อกๆ เรียงคู่ขนานกันยาวตลอดร่องอ้อย แล้วจึงกลบดินให้แน่น แปลงปลูกจะมีขนาด 40 เมตร x 40 เมตร(1ไร่) จำนวน 40 แถว โดย 1 แถวจะใช้กล้าจำนวน 1,600 ต้น หรือใช้ทั้งหมดจำนวน 64,000 ต้นต่อไร่ หลังปลูก 2-3 วันใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ้นปุ๋ยน้ำต้องมีคุณภาพสูงที่มีส่วนผสม สารอะมิโนแอซิดและสารโพลิเมอร์(สาร2ตัวนี้ต้องมาจากธรรมชาติ100%) ฉีดครั้งที่ 2 อ้อย 3 เดือน ฉีดครั้งที่ 3 อ้อย 6 เดือน 1ไร่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กิโลกรัม ปุ๋ยน้ำคุณภาพสูง 500-1000 ซีซี ผลผลิตที่ได้ ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1กิโลกรัม 64,000 ต้นจะได้น้ำหนัก 64 ตัน/ไร่ ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1.5 กิโลกรัม 64,000 ต้น จะได้น้ำหนัก 96 ตัน/ไร่ ถ้าอ้อย 1ต้นหนัก 2 กิโลกรัม 64,000 ต้นจะได้น้ำหนัก 128 ตัน/ไร่ จะขายอ้อยได้เงินถ้าความหวานอยู่ที่ 10 ccs 64 ตันเป็นเงินประมาณ 60,000 บาท/ไร่ ถ้า 96 ตันเป็นเงินประมาณ 93,000บาท/ไร่ ถ้า 128 ตันเป็นเงินประมาณ 125,000บาท/ไร่ สอบถามลายละเอีอดเพิ่มโทร 082-459-0346 อ.อนันต์ อัคราช
วิธีการปลูกแบบที่2เทาที่ปฏิบัติในบ้านเรามี ๒ วิธี คือ ปลูกด้วยเครื่องปลูก และปลูกด้วยแรงคน
๑. ปลูกด้วยเครื่องปลูก เป็นเครื่องมือที่ติดกับรถแทรกเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน นับตั้งแต่การเปิดร่อง ตัดลำต้นอ้อยออกเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์ในร่อง ใส่ปุ๋ยและกลบท่อนพันธุ์ การปลูกด้วยเครื่องต้องใช้แรงงาน ๓ คน คนหนึ่งทำหน้าที่ขับ และควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ส่วนอีกสองคนทำหน้าที่ป้องอ้อยทั้งลำ การปลูกด้วยเครื่องไม่ต้องมีการเปิดร่องหรือยกร่องไว้ก่อนเพียงแต่ไถให้ดิน ร่วนซุยดีเท่านั้น ชาวไร่รายใหญ่นิยมใช้เครื่องปลูกเพราะทุ่นค่าใช้จ่าย และมีความงอกสม่ำเสมอดี เพราะความชื้นในดินสูญเสียไปน้อยกว่าการปลูกด้วยแรงคนซึ่งต้องยกร่องไว้ล่วง หน้า วันหนึ่งปลูกได้ประมาณ ๑๕-๒๐ ไร่
๒. ปลูกด้วยแรงคน ในทางทฤษฎีแนะนำให้เปิดร่องแล้วปลูกทันที แต่ในทางปฏิบัติชาวไร่มักจะเตรียมดินแล้วยกร่องคอยฝน เมื่อฝนตกมากพอก็จะรอจนดินหมาด แล้วจึงลงมือปลูก ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยรองพื้นแล้วกลบปุ๋ยก่อนวางท่อนพันธุ์ การปลูกก็ใช้วิธีวางท่อนพันธุ์ให้ราบกับพื้นร่องแล้วกลบดินให้หนาประมาณ ๕-๑๕ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูปลูก ถ้าปลูกหน้าฝนกลบบาง หน้าแล้งกลบหนา ขณะปลูกต้องมีการคัดเลือกท่อนพันธุ์ไปด้วย ควรปลูกเฉพาะท่อนพันธุ์ที่มีตาสมบูรณ์เท่านั้น
ระยะปลูกแตกต่างกันไปตามสถานที่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างแถวตั้งแต่ ๙๐เซนติเมตร ส่วนระยะระหว่างท่อนห่างกัน 20 เซนติเมตร วัดจากกึ่งกลางท่อนหนึ่งถึงกึ่งกลางของอีกท่อนหนึ่งอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาว ไร่ขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับท่อนพันธุ์ ทำให้ความงอกต่ำจึงต้องใช้ท่อนจึงต้องใช้ท่อนพันธุ์มากขึ้น เช่น ปลูกโดยวางท่อนพันธุ์เป็นคู่ติดต่อกันไป หากชาวไร่ใช้ท่อนพันธุ์ ๓ ตา และมีการระวังในการเตรียมท่อนพันธุ์แล้วจะใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ ท่อนต่อไร่เท่านั้น แทนที่จะใช้ ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ ท่อนต่อไร่อย่างเช่นที่ปฏิบัติกันอยู่
นอกจากนี้ก็มีชาวไร่บางรายที่นิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำลงในร่อง โดยมิได้สับให้ขาดจากกันเป็นท่อน ๆ วิธีนี้ไม่ถูกต้องเพราะอ้อยจะงอกเฉพาะปลายกับโคนเท่านั้น วิธีที่ถูกคือ เมื่อวางอ้อยทั้งลำแล้วใช้มีดสับให้ขาดเป็นท่อน ๆ ละ ๒-๓ ตา วิธีนี้จะช่วยประหยัดแรงงานได้มาก แต่อ้อยที่ใช้ทำพันธุ์ต้องมีอายุระหว่าง ๕-๘ เดือนจึงจะได้ผลดี
ในกรณีที่ดินแฉะหรือมีน้ำขังเล็กน้อย ควรปลูกโดยวิธีปักท่อนพันธุ์ให้เอียงประมาณ ๔๕ องศากับแนวดิ่ง และควรฝังให้ลึกประมาณสองในสามของความยาวท่อนพันธุ์
วิธีใส่ปุ๋ย ให้ใส่แบบวิธีที่1 คือปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยน้ำคุณภาพสูง 500-1000 ซีซี/ไร่ อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 082-4590346 อ.อนันต์ดูลายละเอียดจาก

http://www.siamadoxy.com

ผลเสียที่เกิดจากการปลูกอ้อย

ผลเสียที่เกิดจากการปลูกอ้อย


ผลกระทบจากการเผาใบอ้อย


ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก แบ่งไดเป็น

1. การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบ
ตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอ
แนวทางแก้ไข คือ ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่ ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งยินไว้ในไร่
2. การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ หลังจากที่มีหน่องอกแล้ว
และทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย แต่มีผลเสียตามมา คือ
* เป็นการทำลาบวัตถุอินทรีย์ในดิน
* ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
* หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
* มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
* มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข คือ ใช้เครื่องสับใบอ้อย คลุกเคล้าลงดิน ระหว่างแถวอ้อย และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ ควรให้น้ำใน

ประโยชน์ที่ได้จากอ้อย

ประโยชน์ที่ได้จากอ้อย



การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม

เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลนั่นเอง ในทางเคมีน้ำตาลส่วนใหญ่ที่ได้จากอ้อยเป็นน้ำตาลซูโครส นอกจากนี้ก็มีน้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลฟรักโทสอยู่ด้วย ซึ่งทั้งสองชนิดนี้รวมเรียกว่าน้ำตาลอินเวิร์ต
(invert sugar) ในทางการค้า น้ำตาลจากอ้อยมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามความบริสุทธิ์และกรรมวิธีในการผลิต เช่น น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลทรายแดง (brownฃ sugar, gur, jaggery, muscovado) น้ำตาลดิบหรือน้ำตาลทรายดิบ (raw sugar) น้ำตาลทรายขาวฃ (white sugar หรือ plantation white sugar) น้ำตาลฃทรายบริสุทธิ์ หรือน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์(refined sugar) อย่างไรก็ดี ในการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยโดยตรงนั้นมีผลผลอยได้ (by-products) เกิดขึ้น หลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่ ชานอ้อย กากตะกอน (filter mud, filter cake) และกากน้ำตาล (molasses) ทั้งน้ำตาลและผลพลอยได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อความสะดวกจะได้แยก กล่าวเป็น 2 พวก คือ การใช้ประโยชน์น้ำตาล และการใช้ประโยชน์ผลพลอยได้
การใช้ประโยชน์น้ำตาล
การใช้ประโยชน์น้ำตาลแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
ก. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ น้ำตาลมีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตในฐานะที่เป็นอาหารทั้งในรูปของอาหารคาว และหวาน นอกจากจะใช้เป็นอาหารโดยตรงแล้ว น้ำตาลยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม น้ำผลไม้กระป๋อง และเครื่องดื่มที่ไม่มีอัลกอฮอล์ ซึ่งได้แก่ น้ำขวดหรือน้ำอัดลมชนิดต่างๆ เป็นต้น
ข. ใช้ประโยชน์อย่างอื่น น้ำตาล (รวมทั้งแป้ง) สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางนับตั้งแต่ใช้ผลิตอัลกอฮอล์โดยขบวนการหมักดอง หรือเฟอร์เมนเตชัน (fermentation) ซึ่งอาศัยเชื้อยีสต์ (yeast) จนถึงการผลิตผงซักฟอก (detergents) โดยอาศัยปฏิกิริยาโดยตรงระหว่างน้ำตาลและไขมัน (fat) ผงซักฟอกประเภทนี้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากเพราะสามารถสลายตัวได้ โดยชีวินทรีย์ (biodegradable)
นอกจากนี้ น้ำตาลยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารเคลือบผิว (surfactant) สำหรับใช้ในการเกษตรสารดังกล่าวสลายตัวได้โดยชีวินทรีย์ เช่นเดียวกันอย่างไรก็ดีการใช้ประโยชน์ของน้ำตาลในรูปที่มิใช่เป็นอาหาร กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นโดยลำดับซึ่งจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบเกิดขึ้นเรื่อยๆ
การใช้ประโยชน์โดยตรง
1. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ส่วนของลำต้นที่เก็บน้ำตาลสามารถนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ได้เช่นทำเป็นอ้อย ควั่น หรือบีบเอาน้ำอ้อยเพื่อบริโภคโดยตรงหรือทำเป็นไอศกรีม เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ฃลำต้นประกอบอาหาร เช่น ต้มเค็มปลาได้อีกด้วย
2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบ ยอด และส่วนของลำต้นที่ยังอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัวควายได้โดยตรง แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลดีควรใช้วิธีหมักก่อนให้สัตว์กิน โดยใช้ยอดสด 100 กิโลกรัมกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม และน้ำ 1 กิโลกรัม
3. ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในอนาคตเมื่อเชื้อเพลิงที่ได้จากไม้หายาก ใบอ้อยแห้ง (trash) อาจจะเป็นแหล่งของพลังงานและเชื้อเพลิงที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะใบอ้อยแห้งให้พลังงานค่อนข้างสูงมาก กล่าวกันว่าคุณค่าของพลังงานที่ได้จากใบอ้อยแห้งของอ้อยที่ให้ผลผลิตไร่ละ 16 ตัน นั้นเพียงพอสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกลางทำงานได้ถึง 80 ชั่วโมง ในปัจจุบันใบอ้อยแห้งถูกเผาทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
4. ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน ใบอ้อยแห้งเมื่อใช้คลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชด้วย ในขณะเดียวกันก็จะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งบางพวกสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้ไนโตรเจนในดินเพิ่มขึ้นอันเป็นผลดีแก่อ้อย นอกจากนี้รากและเหง้าที่อยู่ในดินเมื่อเน่าเปื่อยผุพังก็จะเป็นปุ๋ย

http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1450

ดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย



ดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย

จากการสำรวจดินที่ใช้ปลูกอ้อยกันในประเทศไทย มี 6 ลักษณะคือ

1. ดินสีน้ำตาลชุดกำแพงแสน เป็นดินที่ใช้ปลูกอ้อยมากที่สุดของประเทศ มีความอุดมสมบูรณ์สูงได้แก่ดินในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และลำปาง
2. ดินสีเทาชุดบ้านบึงและโคราช เป็นกลุ่มดินที่มีความอุดมสมบูรณ์รองลงมา ได้แก่ดินในจังหวัดชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี และเพชรบุรี
3. ดินสีจางชุดวาริน เป็นดินที่ใช้ปลูกอ้อยไม่มากนัก ได้แก่ ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอ้อยที่ปลูกมักให้ผลผลิตต่ำ
4. ดินแดงชุดยโสธร คล้ายกับดินชุดวาริน มีการปลูกอ้อยไม่มากนัก เนื่องจากอ้อยที่ปลูกในดินชุดนี้จะให้ผลผลิตต่ำ
5. ดินร่วนปนทรายชุดจตุรัส มีความอุดมสมบูรณ์สูง ให้ผลผลิตดี ได้แก่ดินในจังหวัดชัยภูมิ
6. ดินชุดตาคลี เป็นดินเหนียวสีดำ เป็นด่าง อ้อยเจริญเติบโตได้แต่จะมีรากสั้น เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก แมงกานีส และสังกะสี ถ้าฝนแล้งจะทำให้ผลผลิตลดต่ำ ได้แก่ดินในจังหวัดนครสวรรค์ และบางแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี

อ้อย

อ้อย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.
วงศ์ : Poaceae (Graminceae)
ชื่อสามัญ : Sugar Cane
ชื่ออื่น : อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยดำ (ภาคกลาง) อำโป (เขมร)
แหล่งกำเนิด
แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของอ้อยอยู่ในนิวกีนี ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ในมหาสุมทรแปซิฟิก มีหลักฐานยืนยันว่าชาวพื้นเมืองของเกาะนี้ปลูกอ้อยไว้ในสวนสำหรับเคี้ยวกิน เล่นมาตั้งแต่สมัยโบราญ นักพฤกษศาสตร์ในยุคหลัง ๆ ได้สันนิษฐานตรงกันว่า Saccharum officinarum L. นี้มีกำเนิดจากเกาะนิวกีนีอย่างแน่นอน และเชื่อว่าอ้อยพันธุ์ดั้งเดิมนี้เป็นอ้อยที่เรียกขานกันต่อมาว่า “อ้อยมีตระกูล” (noble canes) และนอกจากนั้น “อ้อยมีตระกูล” นี้ยังมีพืชในสกุลเดียวกัน คือ อ้อและแขม
ในโลกนี้มีพืชสกุลเดียวกับอ้อยมากกว่า 7 ชนิด นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดียกล่าวว่าอ้อยอีกชนิดหนึ่งมีชื่อว่า S.barberi นั้นมีพื้นเพดั้งเดิมเกิดอยู่ในทางตอนเหนือของอินเดีย แล้วถูกนำไปปลูกในประเทศจีนในราว 250 ปีก่อนพุทธกาล ภาษาสันสกฤตเรียกอ้อยว่า “Shakkara” ซึ่งพ้องหรือใกล้เคียงกับภาษาลาตินว่า Saccharum และมีความหมายว่า “พืชใหม่จากทางตะวันออก” นั่นแสดงว่าแหล่งกำเนิดของอ้อยนั้นอยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย
ในราว ค.ศ. 1853 มีนักวิทยาศาสตร์หลายคณะ ที่สนใจในแหล่งกำเนิดของอ้อยได้เดินทางไปแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกาะนิวกีนี และได้พบหลักฐานทั้งด้านพฤกษศาสตร์ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ว่า S.officinarum L. มีแหล่งกำเนิดที่เกาะนั้น
การแพร่พันธุ์ของอ้อยจากเกาะนิวกีนีนั้น เกิดจากการอพยพของคนในสมัยโบราณสันนิษฐานว่าอ้อยกระจายออกจากนิวกีนีไป 3 ทาง คือ เริ่มแรกอ้อยถูกนำไปที่เกาะโซโลมอน เกาะนิวเฮบริติส และเกาะนิวคาลิโดเนีย ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล อีกทางหนึ่งอ้อยถูกนำไปทางทิศตะวันตก ไปสู่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และในที่สุดไปสู่ด้านเหนือของอินเดียในราวประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางที่สามคาดว่าอ้อยถูกนำไปสู่เกาะทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะไซโลมอน ซึ่งได้แก่เกาะฟิจิ ตองกา ซามัว เกาะคุก หมู่เกาะมาร์คีซาส์ เกาะโซไซตี เกาะอีสเตอร์ และฮาวาย รวมทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยในมหาสมุทรแปซิฟิก
อเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำอ้อยจากอินเดียไปสู่มาซีโดเนียในราว ค.ศ. 218 ในสมัยพุทธกาลอ้อยอาจถูกนำไปสู่เปอร์เซีย อราเบีย อียิปต์ หลังจากนั้นมาอ้อยก็ไปถึงสเปญ มาไดรา (Madeira) หมู่เกาะคานารีและเซาโตเม ทั้งนี้อาจเป็นไปโดยการจงใจดังเช่นในการเดินทางไปอเมริการครั้งที่ 2 ของโคลัมบัสในปี ค.ศ. 1493 และภายหลังก็มีการนำไปอีกโดยนักเผชิญโชคทางเรือในศตวรรษที่ 18 และ 19 นอกจากโคลัมบัสแล้วยังมีนักเดินเรือผู้อื่นอีกที่นำอ้อยไปแพร่หลาย โดยอาศัยประโยชน์ใช้เป็นอาหารในระหว่างเดินเรือได้ ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 16 นักเดินเรือล่าเมืองขึ้นเป็นผู้นำอ้อยไปสู่แถบศูนย์สูตรโลก
อ้อยในประเทศไทย
อ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญที่ชาวไทยนำมาใช้ในพิธีต่าง ๆ มาแต่โบราณกาลไม่ว่างานเทศกาลหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น แต่งงาน โกนจุก ขึ้นบ้านใหม่ หรือเทศน์มหาชาติ สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คืออ้อย ในงานหมั้นหรือแต่งงานก็มีต้นอ้อยแห่มากับขบวนขันหมาก และนำมาผูกที่ประตูบ้านเจ้าสาว ในการไหว้พระจันทร์ของชาวจีนก็ใช้อ้อยประดับทำซุ้ม ในพิธีต่าง ๆ ที่ต้องมีมณฑปพิธีตั้งราชวัติฉัตรธง ก็จะต้องประดับประดาด้วยอ้อย รวมทั้งกล้วย มะพร้าวต่าง ๆ ด้วย
ในตำรับยาแผนโบราณใช้อ้อยแดงมาต้มกับเครื่องยาอื่น ที่เรียกว่าอ้อยแดงก็เพราะมีเปลือกสีแดงจนเกือบดำ บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่าอ้อยดำหรืออ้อยขม เนื่องจากตาและเปลือกมีรสขม