Friday, June 28, 2013

การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

 การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
http://www.xn--12ca4dscc8ayd2f.com/wp-content/uploads/2010/01/1239885614_60301239885614_6030-300x225.jpg
        เทคนิคการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
        การปลูกอ้อยข้ามแล้งเป็นการเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยไม่ต้องอาศัยน้ำชลประทานแต่อาศัยความชื้นในดินช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตจนถึงต้นฤดูฝน และทำการเก็บเกี่ยวเมื่อถึงช่วงเปิดหีบของโรงงาน ระหว่างเดือนธันวาคม – มีนาคม ซึ่งอ้อยจะโตเต็มที่และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง
        ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ

            ได้ผลผลิตต่อไรสูงขึ้นกว่าการปลูกอ้อยในฤดูฝน
            อ้อยที่นำเข้าหีบมีคุณภาพความหวานสูง
            เพิ่มผลผลิตในกลุ่มอ้อยพันธุ์เบาให้สูงขึ้น
            ลดต้นทุนการผลิตอ้อย เช่น การกำจัดวัชพืชน้อยลง
            ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูง

        ขั้นตอนการปลูกอ้อยข้ามแล้ง

            การคัดเลือกพื้นที่ปลูก

                พื้นที่ที่จะใช้ปลูกอ้อยข้ามแล้งต้องมีหน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร เป็นดินร่วนปนทราย
                ดินมีการระบายน้ำดี
                เป็นพื้นที่ราบ ลาดชันไม่เกิน 2 องศา
                ไม่มีชั้นดินดานหนามาก
                ไม่ควรปลูกอ้อยข้ามแล้งในดินเหนียวจัด
                มีปริมาณน้ำฝนพอเพียง
                ทางคมนาคมสะดวก

            การวางแผนการใช้พื้นที่

                เก็บพื้นที่ไว้เพื่อพักดิน เป็นการตัดวงจรของโรคและแมลงและทำการปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ถั่ว เป็นต้น
                พื้นที่ที่ไม่สามารถพักดินได้ จำเป็นต้องปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
                    พรวนดินด้วยคราดสปริง หรือระเบิดดินดานในอ้อยตอเพื่อเป็นการเก็บรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน
                    มีการวางแผนตัดอ้อยต้นฤดูหรือในช่วงที่โรงงานน้ำตาล เปิดหีบ
                    การเตรียมดินปลูกอ้อยข้ามแล้งต้องเตรียมอย่างต่อเนื่อง
                    ควรปลูกด้วยเครื่องปลูก

            การเตรียมดิน

                การเปิดหน้าดินรับน้ำฝนในเดือนกรกฎาคม เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกในเดือนสิงหาคมและกันยายน จะเก็บน้ำฝนได้มาก ดินจะมีความชื้นพอหล่อเลี้ยงต้นอ้อย เป็นการกำจัดวัชพืชและแมลงใต้ดินได้
                การเตรียมดินพร้อมปลูก ชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับการเตรียมดินต้องไม่ให้สูญเสียความชื้นไปมาก เตรียมดินโดยการไถด้วยผาล 3 หรือผาล 4 และต้องมีการพรวนดินด้วยผาล 7 หรือผาล 20 จาน

            การเตรียมท่อนพันธุ์

                อายุของพันธุ์อ้อยที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 8-10 เดือน ท่อนพันธุ์จะเริ่มงอกรากออกมาก่อนและงอกตาตามทีหลังระบบรากที่แข็งแรง จะผ่านฤดูแล้งได้ดี และมีหนอนกอเข้าทำลายน้อย
                เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้ว ต้องปลูกให้เสร็จภายใน 3-5 วัน ถ้าทิ้งไว้จะทำให้จุดเจริญของรากและตาเสียไป

            การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

                ระยะเวลาปลูก แบ่งตามความสูงของพื้นที่ได้ 2 กลุ่มดังนี้
                    พื้นที่ดอน ระยะเวลาปลูกควรอยู่ระหว่างปลายตุลาคม – กลางธันวาคม ของทุกปี
                    พื้นที่ลุ่ม ควรปลูกให้เสร็จระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ฝนหยุดตก
                วิธีการปลูก แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
                    ปลูกด้วยเครื่องปลูก จะทำให้ความชื้นในดินสูญเสียน้อยและลดค่าแรงในการปลูก ชาวไร่ต้องมีความรู้เรื่องการใช้เครื่องจักรพอสมควร
                    ปลูกด้วยแรงงานคนและใช้รถไถเดินตามกลบท่อนพันธุ์ชาวไร่อ้อยต้องเตรียมความพร้อม โดยการยกร่องปลูก วางท่อนพันธุ์ โรยปุ๋ยและกลบท่อนพันธุ์ ทำแต่ละขั้นตอนด้วยความรวดเร็ว ถ้าหากช้าจะทำให้ความชื้นรอบท่อนพันธุ์ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ปุ่มรากจากท่อนพันธุ์งอกเฉพาะบริเวณที่ดินมีความชื้นเท่านั้น การปลูกอ้อยข้ามแล้งต้องให้ท่อนพันธุ์อยู่ในดินที่มีความชื้นรอบท่อนพันธุ์ และจะทำให้รากชั่วคราวจากพันธุ์งอกได้รวดเร็วสร้างรากถาวรจากหน่อได้ดี

            ความหนาของการกลบท่อนพันธุ์อ้อยในการปลูกอ้อยข้าวแล้ง

                ปลูกเดือนตุลาคม กลบดินหนาประมาณ 2 นิ้ว
                ปลูกเดือนพฤศจิกายน กลบดินหนาประมาณ 3 นิ้ว
                ปลูกเดือนธันวาคม กลบดินหน้าประมาณ 4 นิ้ว

            ในเดือนตุลาคมดินยังมีความชื้นสูงอยู่ ต้องทำการพรวนดินในร่องอ้อยเพื่อให้ดินร่วนซุย ถ้าไม่พรวนเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่สามารถแทงพื้นดินได้
            การดูแลและบำรุงรักษา

                การดูแลแปลงอ้อยหลังปลูก (ช่วงผ่านแล้ง) การพรวนดินจะช่วยให้ความชื้นในดินไม่สูญเสียไป ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวดิน ทำให้อ้อยแล้งแตกกอมากขึ้นทำลายไข่แมลงศัตรูอ้อยตามผิวดิน ควรพรวนดิน เพื่อเพิ่มระดับความชื้นในดิน
                การดูแลแปลงอ้อยช่วงหลังฝน อ้อยข้ามแล้งส่วนใหญ่จะเริ่มคลุมร่องอ้อย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ชาวไร่ควรพิจารณาการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช โดยปฏิบัติควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ย

การปลูกอ้อยและวิธีการเพิ่มผลผลิตอ้อย

การปลูกอ้อยและวิธีการเพิ่มผลผลิตอ้อย

                           พูดเรื่องมันสำปะหลังมาก็นานนมแล้ว วันนี้พักสมองเปลี่ยนมาคุยกันเรืองอ้อยบ้างดีกว่านะค่ะ ส่วนใหญ่แล้วคนที่ปลูกอ้อย ก็ มักจะสนใจปลูกมันสำปะหลังด้วย หลักการง่ายๆ โดยการสังเกตุส่วนตัวของปริมเองนะค่ะ ว่าถ้าให้เลือกระหว่างปลูกอ้อย หรือ มันสำปะหลังดี ก่อนอื่นเราต้อง มาดูที่ดินของเราก่อนว่า ถ้าเป็นดินเหนียว หรือร่วนปนดินลูกรัง แน่นอนว่าไม่ควรปลูกมันสำปะหลัง เพราะมันแทงหัวยาก ทำให้หัวเล็ก ถ้าจะปลูกจริงๆ ก็ใช้การยกร่องสูงๆๆๆ เข้ามาช่วยค่ะ แต่ถ้าเป็นดินเหนียว , ร่วนทราย , ทราย , ลูกรัง แบบนี้เอาพื่้นที่ไปปลูกอ้อยดีกว่า
มาดูระยะการเจริญเติบโตของอ้อยกันก่อนมีดังนี้นะค่ะ

1.ระยะงอก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ 
2.ระยะแตกกอ อายุประมาณ 1.5 เดือนเป็นต้นไป มากที่สุดอยู่ระหว่าง 2.5-4 เดือน หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว
3.ระยะย่างปล้อง มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว อายุประมาณ 3-4 เดือน จนถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีช้าลง มีการสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้น
4.ระยะแก่และสุก อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น 

(ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์  กฤชนนทร์ นะค่ะ)


เกริ่นมาซะยาว เอาละ มาว่ากันถึงวิธีการปลูกอ้อยกัน

1. ฤดูการปลูกอ้อย มีสองฤดูปลูกคือ



1.1 การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี
1.2 การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการ ปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือน พ.ย-เม.ย. ซึ่งแล้วแต่พื้นที่ แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้
ดังนั้นปริมจึงแนะนำให้ปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะทำให้อ้อยมีอายุเลย 10 เดือนกำลังโตเต็มที่ น้ำหนักดี ให้ค่า CCS สูง

2. การเตรียมดิน
ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับการปลูกอ้อย ถ้าดูแลในขบวนการนี้ดีๆ อ้อยจะสามารถเก็บไว้ได้หลายตอ และให้ผลผลิตสูง การปลูกอ้อยถ้าละเลยขั้นตอนนี้ในปีถัดๆ ไปผลผลิตจะลดลงมากเก็บได้อย่างเก่งไม่เกิน 2 ตอ การไถต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุด และไถให้ลึก โดยการใช้ ริบเปอร์ ระเบิดดินดาน การไถถึงชั้นดินดานทำให้มีละอองน้ำจากชั้นดินดานระเหยมาล่อเลี้ยงรากอ้อยได้ เพราะว่ารากอ้อยจะลงลึกกว่า 50 ซม. ดูรูปเครื่องระเบิดดินดานจากรูปด้านล่างค่ะ


ความจริงมีต้วที่ยาวกว่านี้นะค่ะ สำหรับริปเปอร์ตัวนี้ ยังสั้นอยู่ ดูรูปด้านล่างประกอบอีกที แต่ไม่ค่อยชัดนะค่ะ


นึกหน้าตาของมันออกอยู่น้อ เป็นงวงยาวๆ แบบนี้ละค่ะ ใช้ไถระเบิดดินดาน ทำให้ดินกักเก็บความชื้นได้ดี ดินร่วนซุยดีด้วย

3. การปลูกอ้อยร่องคู่
แต่ก่อนเกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยว แม้แต่เครื่องจักรยังเป็นแบบร่องเดี่ยวอยู่เลย ที่แนะนำให้ปลูกคือ ปลูกแบบร่องคู่ ทำให้จำนวนประชากรของอ้อยเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนประชากรอ้อยเพิ่มขึ้น น้ำหนักต่อไร่ของอ้อยก็เพิ่มจำนวนได้ค่ะ ดูรูปจากรูปด้านล่างนะค่ะ

จากรูปจะเห็นได้ว่า ระยะห่างระหว่างร่องแต่ละร่อง คือ 120 ซม. แล้วระยะห่างของแถวสองแถวในร่องคือ 50 ซม. ดูจากรูปจะเข้าใจง่ายค่ะ ถ้าเวลาซื้อรถปลูก ก็จะรถปลูกแบบร่องคู่แบบนี้มาขายแล้วไม่ต้องห่วงค่ะ ^__^ ไม่ได้ลำบากอะไร

แต่ว่าขั้นตอนทีสำคัญต้องอย่าลืมรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์นะค่ะ ที่ปริมแนะนำคือ ปุ๋ยวันเดอร์สูตรสีเขียว เป็นอินทรีย์+กรดอะมิโน ทำให้อ้อยมามีความอวบเขียว แตกยอกเร็ว การใช้ก็ไร่ละกระสอบ วันเดอร์เขียวตามรูปภาพด้านล่าง
ถ้าใครไม่อยากใช้ของปริมก็ สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยี่ห้ออื่นได้นะค่ะ แต่การรองพื้นขอให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์เลือกที่ดีๆ หน่อยอย่าเอาถูกมากจนมีแต่ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุเลย จะปลุกอ้อยทั้งทีอย่าขี้เหนียวปุ๋ยรองพื้นนะคะ แต่ไม่แนะให้เป็นเคมีรองพื้นนะ เพราะว่าอ้อยยังไม่งอกเลย ปุ๋ยเคมีมันละลายหมดแล้วกินได้ไม่ถึง 15 วันยังไม่ได้งอกเลยหมดฤทธิ์ซะแล้ว ถ้ามีขี้เค้ก ขี้วัว ขี้ควาย นั่นแหละค่ะของดี ใส่ลงไปเลยเป็นตันได้ยิ่งดี ขึ้นตอนนี้ห้ามละเลยถ้าอยากเก็บอ้อยไว้ได้หลายๆ ตอ อย่าขี้เหนียวนะขึ้นตอนนี้ ถ้าไม่มีตังส์ซื้อปุ๋ยจริงๆ ให้อัดปุ๋ยรองพื้นนี่แหละ ดีที่สุดค่ะ แต่ถ้าใส่ตามช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของมันจะดีกว่านะค่ะ ^__^

แต่ยังก่อน ยังไม่จบ ตอนนี้มีการปลูกอ้อยแบบร่อง 4 ด้วยนะค่ะ เพิ่มจำนวนประชากรอ้อยได้มากขึ้นไปอีก แต่การปลูกร่อง 4 ปริมยังไม่แนะนำ รอดูฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีนี้ก่อนให้รู้ว่าได้ผลผลิตกี่ตันต่อไร่ จะสู้ร่องคู่ได้ใหม ปริมเห็นลูกค้า บริษัท ขุนพลกรุ๊ป เขาปลูก เลยขออนุญาติเก็บรูปในแปลงของพี่เค้ามาโชว์ให้ดูนะค่ะ
นี่เครื่องปลูกร่อง 4 นะค่ะ

 งอกระยะแรกๆ สังเกตุเห็นใหมค่ะว่าเป็นร่อง 4 นะ 


นี่งอกได้ประมาณ 2 เดือน ดูความหนาแน่นของประชากรอ้อย
4. การจัดการะบบน้ำ 
อ้อยมีความต้องการปริมาณน้ำในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ระยะงอกต้องการความชื้้นที่พอเหมาะน้ำไม่ขัง ให้มีความชื้นนิดหน่อยยอดอ้อยก็สามารถแตกยอดขึ้นมาได้ แต่ในระยะ 1- 3 เดือนนี้ อ้อยต้องการน้ำในปริมาณที่มากและต้องไม่ขาดน้ำในช่วงนี้ ดังนั้นในช่วงนี้ถ้าอ้อยขาดน้ำจะชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ที่สำคัญคนที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเจอปัญหาอ้อยขาดน้ำ ในช่วงนี้แนะนำให้ใช้วิธีการปล่อยน้ำลาด หรือให้ฉีดพ่นทางใบให้กับอ้อย ได้ทั้งน้ำได้ทั้งปุ๋ย ทำให้อ้อยโตเร็วหนี้หญ้าได้ ปุ๋ยน้ำที่ปริมแนะนำให้ใช้ในช่วงนี้คือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน + บูตเตอร์สีเงิน จะทำให้อ้อยโตเร็วต้อนรับช่วงย่างปล้องได้เร็ว และบูตเตอร์เงินจะทำให้ลำต้นของอ้อยแข็่งแรง ป้องกันโรคหนอนกอเจาะได้ รูปของปุ๋ยน้ำและบูตเตอร์ดังด้านล่าง 

อันนี้ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบนะค่ะ ในอัตราส่วน 50-100 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับใครที่ไม่อยากใช้ก็ไม่ว่ากันค่ะ จะราดน้ำเฉยๆ หรือฉีดน้ำเฉยๆ ก็ได้ค่ะ แต่ให้ปุ๋ยไปด้วยจะทำให้อ้อยโตเร็วมาก เข้าสู่ช่วงย่างปล้องเร็วมาก 
5. การใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา 
ปุ๋ยทุกอย่างดีหมด ถ้าเรารู้จักใช้ให้ถูกกับเวลาและการเจริญเติบโตของพืช เช่นในระยะ จะเข้าสู่ช่องแตกกอ ต้องเส้นการสร้างใบ และสร้างเนื้อเยื่อ คือช่วงเวลา 2-4 เดือน สำหรับปุ๋ยเม็ด ปริมแนะนำสูตรอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคเอส 16-3-3 อันนี้เอาไว้สร้างใบและต้น ให้โตเร็วหนีหญ้า รูปด้านล่างค่ะ
ปุ๋ยสูตรนี้บำรุงต้น ทำให้ต้นเขียวเร็ว และถ้าเป็นอินทรีย์+เคมีจะทำให้อ้อยเขียวนานมาก มีเคมีในปริมาณที่เหมาะสมทำให้เขียวเร็ว และพอเคมีหมดฤทธิ์เม็ดอินทรีย์ก็ทำงานต่อเนื่องกันทำให้เพียงพอต่อความต้อง การธาตุอาหารของอ้อย ถ้าใช้อินทรีย์อย่างเดียวในช่างนี้ปริมไม่แนะนำนะค่ะ มันช้าเกินไปสำหรับความต้องการธาตุอาหารของอ้อย ถ้าใช้เคมีก็จะหมดเร็วเกิน เคมีมีฤทธิ์อยู่ได้ไม่เกิน 15 วันก็หมดละ หรือถ้าไม่ใช้ของปริมอยากผสมปุ๋ยเองก็เอาปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับ ยูเรีย 40 -0-0 ก็ใช้ได้ค่ะ แต่ระวังผสมให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะนะค่ะ ถ้ายูเรียมากเกินต้นจะเขียวอวบ ๆ แต่ไม่แข็งแร็งหนอกกอเข้าเจาะลำต้นได้ง่าย ถ้าอยากใช้การฉีดพ่นทางในระยะย่างปล้องแล้ว ขอแนะนำ ไอโอเอ็น จุลินทรีย์ ตรึงไนโตรเจนในอากาศ ในอากาศที่วนเวียนอยู่รอบตัวเรา มีไนโตรเจนเต็มไปหมด แต่อ้อยไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าฉีดยาไบโอเอ็นอ้อยตัวนี้ มันจะทำหน้าที่ดึงไนโตรเจนทีมีอยู่ในอากาศมาใช้ได้ในอ้อย ประโยชน์ของมันคือ 
คุณประโยชน์
1. เพิ่มการสร้าง และตรึงไนโตรเจน (Biological Nitrogen Fixation; BNF) จากอากาศ
   ให้กับต้นอ้อย
2. เพิ่มการย่อยสลาย การปลดปล่อย และการเปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดิน
3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้กับอ้อย

แต่ตัวนี้มีข้อกำจัดคือ เนื่องจากมันเป็นจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต ห้ามใช้คู่กับพวกสารเคมี ยาฆ่าหญ้าอะไร
พวกนี้ ไม่งั้นจุลินทรีย์มันตายหมด ก็เสียดายปุ๋ย เสียดายเงินค่ะ รูปดังด้านล่างนะค่ะ 
6. อยากให้อ้อยได้น้ำหนัก
ค่าCCS ( Commercial Cane Sugar ) เพิ่มขึ้นต้องเน้นในช่วงระยะเดือนที่ 5-6 ถ้าจะใส่ปุ๋ยให้ใส่สูตรที่มีตัวหลังสูง อ้อยจะได้น้ำหนักและค่าน้ำตาลพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น ดูจากตารางเปรียบเทียบระยะการเจริญเติบโตในช่วงระยะแก่สุก ต้องหลัง 8 เดือนนะค่ะ อ้อยจะมีความหวานเพิ่มขึ้นสำหรับช่วงนี้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคพี สูตร 5-3-14 จะทำให้อ้อยหวานและได้น้ำหนักดูจากรูปนะค่ะ

ถ้าไม่อยากใช้ของปริมก็แนะนำให้เอาแม่ปุ๋ย 0-0-60 ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์หว่าน ในระหว่างเดือนที่ 5 หรือ 6 เข้ากลางร่องเลย ก็โอเคค่ะที่สำคัญ ใส่ปุ๋ญให้ถูกช่วงของการเจริญเติบโต ดูแลอย่าให้ขาดน้ำ แค่นี้ก็โอเคแล้วค่ะ ไม่ยากอย่างที่คิด ปลูกอ้อยทั้งทีอย่าปล่อยตามบุญตามกรรม ทุกอย่างที่เราลงมือทำมันคือต้นทุนทั้งหมด ทำแล้วต้องมีกำไรคำว่ากำไรของปริมคือ ต้นทุนที่ลงไป หัก ค่าใช้จ่ายแล้วไม่ขาดทุน ก็คือกำไร จะกำไรมาก กำไรน้อยก็แล้วแต่เราบริหารนะค่ะ 

ดึกมากแล้ววันนี้ ง่วงละไว้คุยกันคราวหน้านะคะ สำหรับใครสนใจสินค้าหรือ อยากโทรมาปรึกษาวิธีการปลูก หรือเรืองอื่นๆ ยกเว้นโทรปรึกษาเรืองเงิน หรือใครเป็นโรคทรัพย์จางไม่รบปรึกษานะค่ะ  อิอิ
ปล. แถมท้ายให้สำหรับการคำนวณค่าของ CCS ค่ะ
ถ้าอ้อย 10 CCS หมายถึงอ้อยหนัก 1 ตัน จะทำน้ำตาลพาณิชย์ได้ 100กิโลกรัม เมื่อโรงงานมีประสิทธิภาพ 100%   ถ้าอ้อย 12 CCS ก็หมายถึงอ้อย 1 ตันจะได้น้ำตาล 120 กิโลกรัมค่ะ

การดูแลรักษา อ้อย

การดูแลรักษา
อ้อยมีระยะการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ
1. ระยะงอก เริ่มปลูก 1.5 เดือน ( 3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นในดินปุ๋ยรองพื้นช่วยให้รากแข็งแรง
2. ระยะแตกหน่อ อ้อยอายุ 1.5 - 3 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต
3. ระยะย่างปล้อง อ้อยอายุ 4-5 เดือน ระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย
4. ระยะสุกแก่ เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งควรจะใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดินร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ชนิด คือ เอ็น – พี – เค ( N,P,K ) เช่น ปุ๋ยสูตร15-15-15 , 13-13-21 เป็นต้น
ควรใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง
  • ดิน ร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 รองก้นร่องพร้อมปลูกหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอหลังตัดแต่งตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร
  • ดิน ร่วน หรือดินร่วนเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทานเมื่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
การให้ปุ๋ยทุกครั้ง ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะดินมีความชื้นโดยโรยข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 10 เซนติเมตร และต้องฝังกลบปุ๋ย ยกเว้นการให้ปุ๋ยรองก้นร่อง
การให้น้ำ
สำหรับในแหล่งปลูกที่มีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
  • ควรให้น้ำตามร่องทันทีหลังปลูก โดยไม่ต้องระบายออก กรณีที่ไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงได้ ควรให้น้ำแบบพ่นฝอย
  • ต้องไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน เป็นระยะการสะสมน้ำตาล
  • งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน ถ้าฝนตกหนักต้องระบายน้ำออกทันที
ให้น้ำทันทีหลังตัดแต่งตออ้อย
การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 3-4 เดือนแรก ถ้าวัชพืชมากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง การกำจัดวัชพืชอาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือเครื่องทุ่นแรง เช่น จอบหมุน
คราดสปริง รวมถึงการใช้สารเคมี ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชแบ่งเป็น 3 พวก ได้แก่
  1. ยาคุมหญ้า ใช้เมื่อปลูกอ้อยใหม่ๆ หญ้ายังไม่งอก ยาที่ใช้ได้แก่อาทราซีน อามีทรีน และเมทบูซีน ใช้ในอัตราที่แนะนำข้างขวด
  2. ยาฆ่าและคุมหญ้า ใช้ เมื่ออ้อยงอกแล้ว และหญ้าอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อามีทรีน อามีทรีนผสมอาทราซีน เมทริบูซีนผสมกับ 2 , 4-ดี ในอัตราที่แนะนำข้างขวด
  3. ยาฆ่าหญ้า ให้เมื่ออ้อยงอกแล้ว และหญ้าโต อายุมากกว่า 6 สัปดาห์ ได้แก่ พาราควอท ? ลิตร ดินประสิว 1 ขีด เกลือแกง 1 ขีด และผงซักฟอก 1 ขีด
วิธีการผสม คือ ละลายเกลือแกงและดินประสิวในน้ำ 10 ลิตร และละลายผงซักฟอกในน้ำ 5 ลิตร คนให้ผงซักฟอกละลายให้หมด นำสารละลายทั้งสองมาผสมให้เข้ากันแล้วเติมพาราควอท คนให้เข้ากันแล้วจึงเติมน้ำอีก 85 ลิตร คนให้เข้ากัน (รวม 100 ลิตร ฉีด ได้ 1 ไร่) ซึ่งยาชนิดนี้ใช้ฆ่าได้เฉพาะลูกหญ้า)
ข้อควรระวัง
ยานี้อันตรายต่ออ้อย เวลาฉีดต้องระวังอย่างให้ละอองยาถูกโคนอ้อย
ในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้องจึงจะทำให้การใช้สารนั้นเกิด ประสิทธิภาพในการคุมและฆ่าวัชพืชได้ อัตราที่ใช้ต้องตรงกับคำแนะนำ ฉีดขณะที่ดินชื้นหัวฉีดควรเป็นรูปพัด ควรมีการทดลองฉีดน้ำเปล่าก่อนเพื่อหาปริมาณของยาที่ต้องใช้ จะทำให้การใช้ตัวยาหรือปริมาณยาเป็นไปตามคำแนะนำ
นอกจากการควบคุมวัชพืชในขณะที่อ้อยยังเล็กอยู่ในระยะ 1-4 เดือนแล้ว เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ระหว่างแถวอ้อย (1.3-1.5 เมตร) ปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ได้ด้วย

พันธุ์อ้อยที่เกิดในประเทศไทย

 พันธุ์อ้อยแนะนำจากหน่วยงานต่าง ๆ
พันธุ์จากต่างประเทศ คือ
http://www.koratdailynews.com/wp-content/uploads/2011/03/phot23.jpg
    จากไต้หวัน ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษร เอฟ. (F) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น อาร์โอซี. (ROC-Taiwan Republic of Chian) มี พันธุ์ เอฟ.140, เอฟ.154, เอฟ.156, อาร์โอซี.1, อาร์โอซี.10
    จาก ฟิลิปปินส์ (ฟิล-Phill) มีพันธุ์ ฟิล. 58-260, ฟิล.63-17, ฟิล.66-07 (มาร์กอส-Marcos) และ ฟิล. 67-23
    จากออสเตรเลีย จากรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) มี คิว.83, คิว.130 และจากเอกชน ซีเอสอาร์ .(CSR-Colonial Sugar Refining Co.) คือไตรตัน (Triton)
    จากอินเดีย ซีโอ. (CO - Coimbatore) มีพันธุ์ ซีโอ.419, ซีโอ.1148, ซีโอ.62-175
    จากฮาวาย เอช. (H-Hawaii) H.483166 H.47-4911 (เอฟ.ใบลาย)

พันธุ์อ้อยที่เกิดในประเทศไทย โดย นักวิชาการชาวไทย คือ

    พันธ์จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) โดยศูนย์เกษตรอ้อยภาคกลาง ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ชื่อย่อว่า เค.(K) พันธุ์ เค. ทั้งหลาย ได้แก่ เค.76-4, เค.84-69, เค.84-200, เค.86-161, เค.88-87 , เค.88-92 และ เค.92-102
    พันธุ์อู่ทอง จากสถาบันวิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง มีพันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 และอู่ทองแดง (80-1-128)
    พันธุ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (กพส.-Kps) ได้แก่ พันธุ์ ม.ก.50, พันธุ์ กพส.85-2 (85-11-2), กพส.89-20 และ กพส.89-26

ในจำนวนนี้พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด คือ เค.84-200 ซึ่งปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และกำลังขยายไปในภาคอื่น ๆ การปลูกอ้อยพันธุ์เดียวเกินกว่าร้อยละ 30 นับว่าเสี่ยงมากเพราะถ้าอ้อยพันธุ์นี้เกิดโรคระบาดรุนแรงก็จะเสียหายมากเช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปลูกพันธุ์มาร์กอสมากกว่า 40% ขณะนี้อ้อยตอของพันธุ์มาร์กอสกำลังเป็นโรคมาก โดยเฉพาะอ้อยตอ หลังจากไถรื้อตอแล้วชาวไร่ควรหาอ้อยพันธุ์ใหม่มาปลูกทดแทน
ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์อ้อย
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มีหน้าที่ทำการทดลองค้นคว้าหาพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี โดยการผสมพันธุ์หรือการชักนำให้กลายพันธุ์ และนำพันธุ์อ้อยพันธุ์ดีจากต่างประเทศมาทดลองเปรียบเทียบคัดเลือกพันธุ์ เพื่อทดสอบหรือคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพน้ำตาลดี ต้านทานต่อโรคและแมลง ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งหรือน้ำขังและอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ทำการรวบรวมพันธุ์อ้อยและศึกษาลักษณะต่างๆ ของพันธุ์อ้อยทุกชนิด รวมถึงพันธุ์พืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน

วัตถุประสงค์
เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของพันธุ์อ้อยและคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์อ้อย แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาเบื้องต้นและสร้างความแปรแรวนทางพันธุกรรม แบ่งย่อย ได้ดังนี้
1.1  การนำเข้า การรวบรวมและการศึกษาเบื้องต้นของลักษณะที่ต้องการของแหล่งพันธุกรรมของพันธุ์ สายพันธุ์และแหล่งรวมพันธุกรรม (Introduction, collection and observation of genetic resources of Variety, clone and gene pool.)
1.2  การสร้างความแปรแรวนทางพันธุกรรม (Creating genetic variation)

    1.2.1  การผสมพันธุ์ (Hybridization)
    - การผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ (Natural hybridization) เช่น การผสมแบบเปิด (Open pollination) เป็นต้น
    - การผสมพันธุ์โอยมีการควบคุม (Controlled or artificial hybridization) เช่น การผสมแบบตัดลำ (Cut cane method) และแบบคลุมช่อดอก (Lantern method) และแบบผสมในที่เฉพาะ (Area cross or isolation area method) เป็นต้น
    1.2.2  การกลายพันธุ์ (Mutation)
    - การกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural mutation)
    - การกลายพันธุ์โดยการชักนำ (Induced mutation) เช่น การฉายรังสี (Irradiation) การใช้สารเคมี (Chemical treatment) และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue cultural) เป็นต้น

ขั้นที่ 2 การคัดเลือก (Selection) เป็นวิธีการคัดเลือกให้ได้พันธุ์หรือสายพันธุ์ที่ดี โดยแบ่งการคัดเลือกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

    2.1  การคัดเลือกช่วงที่ 1 เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์จากเมล็ดอ้อย โดยถือว่าเมล็ดอ้อย 1 เมล็ด เป็น 1 สายพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นเพียง 2% จากลูกอ้อยผสมทั้งหมด สายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับหมายเลขประจำพันธุ์
    2.2  การคัดเลือกช่วงที่ 2 เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ให้ได้ดีเด่นจริง ๆ โดยนำสายพันธุ์อ้อยที่ผ่านการคัดเลือกช่วงที่ 1 หรือการนำเข้าหรือรวบรวมพันธุ์ เป็นต้น มาปลูกแถวเดียวยาว 4 เมตร จำนวน 2-3 ซ้ำ โดยปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นไว้ 5%

ขั้นที่ 3 การประเมินผล (Evaluation) หมายถึงการตรวจสอบลักษณะที่ได้ผ่านการ คัดเลือกตามช่วงดังต่อไปนี้

    3.1  การเปรียบเทียบสายพันธุ์เบื้องต้น (Preliminary trial) เป็นการประเมินผลช่วงแรก โดยการนำสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกช่วงที่ 2 มาปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน ขนาดแปลงย่อย 6.5x6 เมตร จำนวน 4 ซ้ำ และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นเพียง 50%
    3.2  การเปรียบเทียบสายพันธุ์มาตรฐาน (Standard trial) เป็นช่วงต่อจากการเปรียบเทียบสายพันธุ์เบื้องต้น นำสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน ขนาดแปลงย่อย 9.1x8 เมตร จำนวน 4 ซ้ำ และอย่างน้อย 4 ท้องที่ (Location) คือทำการทดลอง ตาม สถานีอ้อย, มหาวิทยาลัย และโรงงานน้ำตาลต่าง ๆ เป็นต้น และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นเพียง 50%
    3.3  การเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่กสิกร (Farm trial) เป็นช่วงต่อจากการ เปรียบเทียบสายพันธุ์มาตรฐาน เมื่อได้พันธุ์อ้อยที่ให้ผลดีแล้ว จำนวน 3-5 พันธุ์ นำมาปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานในสภาพไร่กสิกรตามคำแนะนำของนักวิชาการและมีขนาดแปลงย่อยใหญ่ขึ้นประมาณ 13.0 x 10.0 เมตร จำนวน 4 ซ้ำ ดำเนินงานในแหล่งที่มีการปลูกอ้อย
    3.4  การทดสอบพันธุ์ในไร่กสิกร (Field test) เมื่อต้องการที่จะแสดงให้กสิกรเห็นถึงความดีเด่นของพันธุ์ ก็ควรกระทำการทดลองให้เห็นโดยการปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานหรือพันธุ์ในท้องถิ่นนั้น ๆ ตามวิธีการที่แนะนำของนักวิชาการ

ขั้นที่ 4 การรับรองพันธุ์ (Approval) สำหรับพันธุ์อ้อยที่ผ่านวิธีการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว จะต้องได้รับการพิจารณาเห็นชอบตามขั้นตอน ดังนี้

    4.1  การพิจารณารับรองพันธุ์อ้อย ภายในงานเกษตรอ้อยของศูนย์เกษตรอ้อย หรือสถานีอ้อยอื่น ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นเบื้องต้น
    4.2  การพิจารณารับรองพันธุ์ของคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์อ้อย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
    4.3  ผ่านการเห็นชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม
    4.4  ผ่านการเห็นชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พันธุ์อ้อยที่ผ่านขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์อ้อยทุกขั้นตอนสมบูรณ์แล้วสามารถนำ พันธุ์อ้อยพันธุ์นั้นออกเผยแพร่สู่ชาวไร่กสิกรปลูกต่อไป

ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกพันธุ์อ้อย

 ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกพันธุ์อ้อย

มาตรฐานที่ใช้จำแนกลักษณะภายนอกของอ้อย

http://www.wikalenda.com/images/business_kalenda_image/Sugar-Asia-2012-110231.jpeg

ก่อนที่จะกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการศึกษาลักษณะ ภายนอกเสียก่อน มาตรฐานที่กล่าวต่อไปนี้เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วไป การกำหนดมาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็นทั้งนี้เพราะว่าลักษณะบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและอายุ เช่น สีของลำต้นในพันธุ์เดียวกัน กอที่อยู่ริมไร่อาจแตกต่างจากกอที่อยู่กลางไร่ หรือแม้แต่ในกอเดียวกัน สีของลำต้นที่แก่ ก็อาจแตกต่างจากลำต้นที่อ่อน หรือในที่สุดแม้กระทั่งในลำต้นเดียวกันสีส่วนที่ไม่กาบหุ้มก็อาจแตกต่างจากส่วนที่มีกาบหุ้มดังนี้เป็นต้น นอกจากสีของลำต้นแล้วลักษณะอื่น ๆ เช่น ตาแต่ละตาก็อาจแตกต่างกันตั้งแต่โคน จนถึงยอด ทั้งนี้เพราะอายุต่างกันนั่นเอง ตาที่อยู่ต่ำกว่ามีอายุมากกว่า ส่วนตาที่อยู่เหนือขึ้นไปจะมีอายุลดหลั่นตามลำดับ และในระหว่างตาแก่ที่สุดซึ่งอยู่ส่วนโคนและอ่อนที่สุดซึ่งอยู่ส่วนยอดนั้น ก็จะมีตาที่เหมาะสมสำหรับใช้ดูลักษณะของตาอยู่เพียง 2 หรือ 3 ตา เท่านั้น นอกจากนี้ขนาดของหูใบและลิ้นใบก็อาจแตกต่างกันในใบที่แก่หรืออ่อนเกินไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานเสียก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน มาตรฐานดังกล่าว มีดังนี้ (เกษม และคณะ. 2520)

    อายุของอ้อย อายุที่เหมาะสำหรับใช้จำแนกพันธุ์ คือระหว่าง 8-10 เดือน เพราะเป็นระยะที่อ้อยเติบโตทางด้านลำต้นและใบเต็มที่แล้ว
    สีของลำต้น ส่วนของลำต้นที่แก่และไม่มีอะไรปกปิดอยู่กลางไร่ ไม่ถูกลมและ แสงแดดโดยตรง
    ตา ตาที่ดีที่สุด คือตาที่อยู่สูงสุดซึ่งมีกาบแห้งหุ้มอยู่
    ข้อและปล้อง ส่วนกลางของลำต้นก็ใช้ได้แต่นิยมใช้ปล้องที่อยู่ส่วนปลาย ซึ่งกาบแห้งหุ้มอยู่
    รอยแตกต่าง ๆ ของร่องตา ดูจากปล้องสูงสุดที่มีกาบแห้งหุ้มอยู่ หรือปล้องที่อยู่ถัดลงมา
    ลักษณะใบ ขนาดวัดจากใบที่เติบโตเต็มที่ เช่น ใบที่ 2-4 โดยนับใบสูงสุดที่เห็น ดิวแล็ปเป็นใบที่ 1 ส่วนลิ้นใบ หูใบ และดิวแล็ป ดูจากใบที่ 3

อย่างไรก็ดีแม้จะได้ใช้มาตรฐานเดียวกัน แต่ลักษณะที่ได้จากแต่ละตัวอย่างก็อาจจะแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูจากหลาย ๆ ตัวอย่าง ลักษณะรูปร่างอย่างใดมีมากกว่าก็ให้ถือลักษณะรูปร่างนั้นเป็นเกณฑ์
นอกจากรู้จักส่วนที่จะนำมาศึกษาลักษณะต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ก็จำเป็นต้องพิจารณาลักษณะอื่น ๆ ประกอบกันด้วย คือ

    พันธุ์ที่เป็นพ่อ การทราบพ่อแม่จะช่วยทำให้การศึกษาลักษณะพันธุ์กระทำได้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    ลักษณะการเจริญเติบโต ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปของอ้อยขณะที่เติบโตอยู่ในไร่นับว่าช่วยในการจำแนกพันธุ์ได้เป็นอย่างดี อ้อยบางพันธุ์อาจมีลักษณะเฉพาะซึ่งเราอาจจะบอกว่าเป็นพันธุ์ใดได้ โดยไม่ต้องดูอย่างใกล้ชิด ลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ทรงกอ ทรงใบ และธรรมชาติของแต่ละใบ เป็นต้น

ความจำเป็นที่จะต้องรู้จักพันธุ์อ้อย
พันธุ์อ้อยที่มีอยู่ในประเทศไทยขณะนี้มีมากกว่า 200 พันธุ์ ในจำนวนนี้มีประมาณ 20 พันธุ์ เท่านั้นที่ปลูกเป็นการค้าอยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศ จากการที่มีพันธุ์เป็นจำนวนมากนี้เอง ทำให้เกิดการสับสนในเรื่องพันธุ์ขึ้น มีชาวไร่จำนวนไม่น้อยที่ปลูกอ้อยโดยไม่ทราบว่าเป็นพันธุ์อะไร เพราะบางพันธุ์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน บางรายก็ไม่แน่ใจว่าพันธุ์ที่ตนปลูกนั้นเป็นพันธุ์แท้ตรงตามชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องหาข้อยุติ โดยการสอบถามผู้รู้ ซึ่งบางครั้งก็หาได้ไม่ง่ายนัก
การรู้จักพันธุ์อ้อยนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาพันธุ์แล้ว ยังเป็นประโยชน์ในด้านการผลิตอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าอ้อยแต่ละพันธุ์ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแตกต่างกัน และต้องการดูแลรักษาแตกต่างกันด้วย ดังตัวอย่าง เช่น พันธุ์ เค.76-4 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงในที่ลุ่ม ซึ่งมีการชลประทานดี ส่วนพันธุ์ ซีโอ.1148 เติบโตได้ดีกว่าในที่ดอน ซึ่งอาศัยน้ำฝนดังนี้ เป็นต้น นอกจากนี้อ้อยแต่ละพันธุ์ยังมีความแตกต่างกันในด้านอื่น ๆ อีก เช่น อายุเก็บเกี่ยว น้ำหนัก ความหวาน ความทนทานต่อโรคและแมลง ตลอดจนการสูญเสียน้ำหนัก และความหวานภายหลังตัด เป็นต้น
ดังนั้น การรู้จักพันธุ์อ้อยนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น อย่างน้อยที่สุดก็ช่วยให้ชาวไร่แน่ใจว่าอ้อยที่ปลูกนั้นเป็นพันธุ์ที่ต้องการ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตน ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็จะมีผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อไร่เพิ่มขึ้นด้วย
ในการศึกษาพันธุ์ครั้งนี้ คณะผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ชาวไร่ได้รู้จักพันธุ์อ้อยของตนเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงได้พยายามเน้นเฉพาะลักษณะที่เห็นได้ง่าย และเด่นชัด แต่ก็ได้รวมเอาลักษณะที่สังเกตได้ยาก เช่น กลุ่มขนที่อยู่บนส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจเป็นพิเศษได้ใช้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาพันธุ์อ้อยต่อไป
นอกจากลักษณะทางพฤกษศาสตร์ซึ่งเป็นสาระสำคัญในหนังสือเล่มนี้แล้ว คณะผู้เขียน ยังได้รวบรวมลักษณะบางอย่างทางเกษตรที่เห็นว่าจำเป็นไว้ด้วย เพื่อให้ชาวไร่ใช้ประโยชน์การตัดสินใจเลือกพันธุ์อ้อยสำหรับปลูกอย่างไรก็ดีลักษณะทางเกษตรมีการเปลี่นแปลงได้ง่ายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม และการปฏิบัติของชาวไร่เป็นสำคัญ ตัวอย่าง เช่น
ผลผลิตอ้อย เค.88-92 ในหนังสือนี้กล่าวว่าให้ผลผลิตสูง (มากกว่า 15 ตัน/ไร่) แต่ถ้า ชาวไร่มีการปฏิบัติอย่างเหมาะสมอาจให้ผลผลิตสูงกว่านี้ในทำนองเดียวกันถ้าปฏิบัติไม่ถูกก็ทำให้ได้ ผลผลิตต่ำกว่า 15 ตัน/ไร่ เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ การออกดอก อ้อยบางพันธุ์อาจไม่เคยออกดอก มาก่อน จนกระทั่งถึงเวลาที่ศึกษา แต่อาจออกดอกในระยะต่อมาดังนั้น เป็นต้น ส่วนลักษณะทาง พฤกษศาสตร์นั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่น้อยมาก เมื่อเทียบกับลักษณะทางเกษตร ดังนั้นจึงเชื่อถือได้มากกว่า
ลักษณะภายนอกของอ้อย
ในการจำแนกพันธุ์อ้อยสิ่งจำเป็นที่จะต้องทราบก่อนก็คือส่วนต่าง ๆ ของอ้อยและศัพท์ทางวิชาการที่ใช้เรียกชื่อส่วนต่าง ๆ เหล่านั้น ความจริงนักพฤกษศาสตร์ทางอ้อยได้ศึกษาไว้โดยละเอียด แต่ลักษณะบางอย่างก็ไม่สะดวกที่จะใช้ศึกษาในไร่โดยชาวไร่ ดังนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะลักษณะสำคัญที่ใช้ในการจำแนกพันธุ์เท่านั้น ลักษณะบางอย่างสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและรู้สึกได้ด้วยการสัมผัส แต่บางอย่าง เช่น ขนที่อยู่บนส่วนต่าง ๆ ของใบและตา อาจจำเป็นต้องใช้แว่นขยายเข้าช่วย ลักษณะเหล่านี้ ได้แก่

1.  ลำต้น   ประกอบด้วยข้อและปล้องเป็นจำนวนมากเรียงติดต่อกัน ข้อ หมายถึง ส่วนที่อยู่ระหว่างรอยกาบถึงวงเจริญ ปล้อง คือ ส่วนตั้งแต่วงเจริญถึงรอยกาบที่อยู่เหนือขึ้นไป โดยทั่วไปมักเรียก สั้น ๆ ว่าปล้อง หมายถึง ความยาวจากรอยกาบหนึ่งถึงรอยกาบอีกอันหนึ่ง หรือกล่าวคืออย่างหนึ่งคือส่วนที่มีหนึ่งข้อกับหนึ่งปล้อง ลำต้นประกอบด้วยหลายปล้อง ซึ่งมีความยาวต่างกัน ตอนโคนสั้นมากและค่อย ๆ ยาวขึ้นจนถึงยาวที่สุด และลดลงเมื่อใกล้ยอด ความยาวของปล้องขึ้นอยู่กับพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปล้องมี รูปร่างแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่น ทรงกระบอก มัดข้าวต้ม โคนโป่ง ปลายโป่งและโค้ง รายละเอียดส่วน ต่าง ๆ ของข้อและปล้องตลอดจนลักษณะรูปร่างได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 และ 2 การจัดเรียงของปล้องอาจเป็นเส้นตรง หรือซิกแซ็กก็ได้ ดังรูปที่ 3 ลำต้นประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

    1.1  ตา เกิดที่ข้อในบริเวณเกิดราก ปกติแต่ละข้อมีหนึ่งตาเกิดสลับกัน ในบางกรณีบางข้ออาจไม่มีตาหรือมีมากกว่าหนึ่งตาก็ได้ สี ขนาด และลักษณะของตา แตกต่างกันไปตามพันธุ์ ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป
    1.2  วงเจริญ หรือวงแหวน คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนเรียบอยู่เหนือบริเวณเกิดราก ไม่มีไขเกาะ การที่เรียกวงเจริญก็เพราะว่าส่วนนี้จะเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เช่น อ้อยล้ม ส่วนของวงเจริญด้านล่างจะยืดตัวมากกว่าด้านบน ทำให้ลำต้นตั้งขึ้น วงเจริญส่วนที่อยู่ตรงกับตาอาจโค้งขึ้นเหนือตา หรือผ่านไปทางด้านหลังของตาก็ได้ ดังรูปที่ 9
    1.3  รอยกาบ เป็นรอยที่เกิดขึ้นหลังจากใบหลุดแล้ว การหลุดของกาบใบเป็นลักษณะประจำพันธุ์ บางพันธุ์กาบใบแห้งจะหลุดเอง บางพันธุ์ติดแน่นอยู่กับ ลำต้น ลักษณะต่าง ๆ ของรอยกาบ เช่น ความลาดเท และความยื่นของรอยกาบเป็นลักษณะประจำพันธุ์
    1.4  ร่องตา เป็นร่องเกิดขึ้นที่ปล้องซึ่งอยู่ตรงและเหนือตาขึ้นไป บางพันธุ์อาจไม่มี พันธุ์ที่มีร่องนี้ อาจยาวหรือสั้น ตื้นหรือลึก ซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์

2.  ตา  เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในการจำแนกพันธุ์ บางพันธุ์ตามีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนต่าง ๆของตาดูได้จากรูปที่ 4 ส่วนรูปของตาได้แสดงไว้ในรูปที่ 5 ลักษณะที่ควรสังเกตจากตามีดังนี้

    2.1  ขนาด รูปร่าง และตำแหน่ง แตกต่างกันตามพันธุ์ บางพันธุ์มีตาขนาดใหญ่ บางพันธุ์มีตาขนาดเล็ก บางพันธุ์ตาโปนออกมา แต่บางพันธุ์ตาแบนมาก นอกจากนี้รูปร่างก็แตกต่างกัน ตั้งแต่ค่อนข้างกลมจนถึงคล้ายสามเหลี่ยม ส่วนตำแหน่งของตาคือระยะระหว่างรอยกาบกับฐานตาก็ แตกต่างกัน บางพันธุ์ตาอยู่ชิดหรือสอดเข้าไปในรอยกาบ แต่บางพันธุ์อยู่สูงขึ้นมา จนเกิดช่องว่างระหว่างฐานตากับรอยกาบ ลักษณะเหล่านี้จะต้องสังเกตให้ดี
    2.2  กลุ่มขน นักพฤกษศาสตร์ใช้หมายเลขแทนชื่อกลุ่มขนที่อยู่บนส่วนต่าง ๆ ของอ้อย กลุ่มขนที่ตาได้แสดงไว้ในรูปที่ 11 จำนวน ความยาว ความแข็ง และสี ของขนเป็นลักษณะประจำพันธุ์

3.  ใบ

    3.1  หูใบ คือส่วนยื่นที่เกิดขึ้นตรงส่วนปลายของกาบใบ ขนาดและรูปร่าง แตกต่างกันไปตามพันธุ์ หูใบอาจมีทั้งสองข้าง ข้างเดียว ยาวหรือสั้น หรือไม่มีเลยก็ได้ ในกรณีที่ข้างเดียวจะอยู่ด้านในเสมอ
    3.2  ลิ้นใบ คือส่วนยื่นที่เกิดขึ้นตรงส่วนปลายของกาบใบตรงคอใบด้านใน มีลักษณะคล้ายลิ้น จึงเรียกว่าลิ้นใบ รูปร่างลักษณะของลิ้นใบแตกต่างกันตามพันธุ์
    3.3  กลุ่มขนหลังกาบใบ ความยาวปริมาณและความแข็งของขนที่เกิดขึ้นบนส่วนต่าง ๆ ของกาบใบเป็นลักษณะประจำพันธุ์ แต่จะต้องสังเกตต่อไปว่าขนดังกล่าวร่วงหรือไม่ เพราะบางพันธุ์มีขนในขณะที่ใบอ่อน พอใบแก่ขนร่วงหลุดไปเอง
    3.4  ดิวแล็ป ที่คอใบด้านนอกซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมสองรูปพบกันที่ฐานของแกนใบ “ดิวแล็ป” ส่วนนี้ยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ใบเนื่องจากลม บางพันธุ์ดิวแล็ปเปราะฉีกขาดได้ง่าย เช่น พันธุ์ เอฟ.148 เป็นต้น ขนาด รูปร่าง และสี ตลอดจนปริมาณไขที่เกาะแตกต่างกันไปตามพันธุ์

การปลูกอ้อย

 การปลูกอ้อย


อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ  มีอายุเก็บเกี่ยว  10-12 เดือน เก็บผลผลิตได้  2-3  ปี  สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อยอ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท  ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ  ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง
การเตรียมพันธุ์
            พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี  ตรงตามพันธุ์  ปราศจากโรคและแมลง  มีอายุประมาณ  8-10  เดือน  ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อยที่ตัดไว้แล้วในไร่  ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย  อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน)  ปลูกขยายได้ 10  ไร่     สำหรับแปลงพันธุ์  ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อนนาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว  และกอตะไคร้  จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล  อัตรา  66  ซีซี/น้ำ20  ลิตร  นาน  30  นาที  เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ  เหี่ยวเน่าแดง
และกลิ่นสัปปะรด                             
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน  สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น  2  ประเภท คือ
            การปลูกอ้อยต้นฝน  ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ
                 -  ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง     
                      เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
                  -  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน  -  มิถุนายน
            การปลูกอ้อยปลายฝน  (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน     ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย  การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม
 การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
                 -  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก
                 -  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด  เพื่อช่วยลด      ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง
วิธีการปลูก
                 -  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้  1.3  เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ2  ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
                 -  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว  ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง  และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ  และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง  และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่  โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก  และจะปลูกแถวคู่  ระยะแถว  1.4-1.5  เมตร  ระยะระหว่างคู่แถว  20-30  เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
 การใส่ปุ๋ย
 โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่
            ใส่ปุ๋ยครั้งแรกให้ใช้    ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 25-7-7 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
            ใส่ปุ๋ยครั้งที่สองให้ใช้ ปุ๋ยสูตร 20-8-20 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
การป้องกันกำจัดวัชพืช
           - ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน
           -ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก
           - ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก
           - การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว  เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ  อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช  และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข    คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
            - การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ  หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย  แต่มีผลเสียตามมา  คือ
                     *  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน         
                     *  ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
                     *  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
                     *  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
                     *  มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
              - การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียม

ความหวานของอ้อย อ้อย-หวาน-ไม่หวาน

ความหวานของอ้อย
http://kasetintree.com/wp-content/uploads/2010/10/2.jpg

อ้อย-หวาน-ไม่หวาน
          สวัสดีปีใหม่ท่านผู้อ่านทุกท่าน  ปีใหม่ปีนี้สำหรับผู้เขียน  นับว่าเป็นช่วงเวลาของการสงบนิ่ง  เพื่อฝึกตนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททั้งหลาย
ทั้งปวง สงบนิ่งจนกระทั่งต้องส่งต้นฉบับช้าเกินกว่ากำหนดไปหลายวัน  เป็นการวางแผนการทำงานที่ท่านผู้อ่านไม่ควรเอาเป็นแบบอย่างอย่างยิ่งช่วง
สัปดาห์ แรกของปี  ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางผ่านจังหวัดอุดรธานี สกลนคร    และเข้าสู่จังหวัดนครพนม ระหว่างทางสังเกตเห็นรถบรรทุกอ้อยเข้าสู่
โรง งานเป็นจำนวนมาก บรรทุกกันแบบไม่เกรงใจเพื่อนร่วมทาง    ซึ่งต้องคอยช่วยลุ้นว่าอ้อยที่บรรทุกไว้จะร่วงลงมาหรือไม่ เวลาเข้าโค้งจะพลิกหรือ
ไม่พลิก เรียกว่าลุ้นกันได้กันไปตลอดทาง  ก่อนที่จะเห็นประชากรรถบรรทุกอ้อยจอดเรียงรายหน้าโรงงานนับสิบนับร้อยคัน  ส่วนใหญ่อ้อยที่ผู้เขียน
เห็นเป็นอ้อยที่ผ่านการเผาแล้วทั้งสิ้น   คำแนะนำการตัดอ้อยโดยไม่เผาเห็นทีจะต้องกลับไปพิจารณากันให้ลึกซึ้ง เหตุการณ์ดังกล่าว    ทำให้ผู้เขียน
สนใจว่าอ้อยที่ว่าหวาน ณ พ.ศ.ใหม่ หวาน หรือ ไม่หวาน     ขออนุญาตนำผู้อ่านเข้าสู่เรื่องที่ว่าหวานๆ ใน “ฉีกซอง” ฉบับต้อนรับปีเถาะ พ.ศ. 2554
โปรดติดตาม
โลกของอ้อย
          ในอดีตหากกล่าวถึงอ้อยจะต้องคิดถึงน้ำตาลในทันใด     แต่ยุคปัจจุบันอาจต้องคิดถึงเอทานอลพ่วงเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม น้ำตาลยังคง
เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของอ้อย       จากรายงานของสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป       ได้สรุปรายงานของบริษัท
Czarnikow   ผู้ค้าน้ำตาลรายเก่าแก่ที่สุดของ UK    เรื่อง “Sugar in 2030 : How the World will meet an Extra 50% Demand”     โดยทำการ
วิเคราะห์แนวโน้ม การผลิตและการบริโภคน้ำตาลในอีก 20 ปีข้างหน้า     โดยความต้องการบริโภคน้ำตาลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 168 ล้านตัน
ใน ปี 2010 เป็น 260 ล้านตัน ภายในปี 2030 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 50%  ภายใน 20 ปีข้างหน้า     ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของประเทศเศรษฐกิจใหม่
(emerging market) ที่ทำให้ความต้องการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น 
 
 
 
          รายงานฉบับดังกล่าว คาดว่าการบริโภคน้ำตาลในอนาคต  เอเชียจะยังคงครองตำแหน่งภูมิภาคที่มีการบริโภคน้ำตาลมากที่สุด   โดยสัดส่วน
การบริโภคอาจเพิ่มขึ้นจาก 40% ในปัจจุบัน เป็น 49% ภายในปี 2030   โดยอินเดียจะบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า   ภายช่วงเวลา 20 ปีข้างหน้า
ส่วนจีนมีแนวโน้มบริโภคน้ำตาลสูงกว่ายุโรปภายในปี 2014  คาดการณ์ว่าภายในปี 2030     การบริโภคน้ำตาลของอินเดียและจีน    คิดเป็นสัดส่วน
ประมาณ 17.6 %  และ 14.7% ตามลำดับ  เมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำตาลทั่วโลก          ในขณะที่ยุโรปการบริโภคน้ำตาลจะอยู่ในระดับคงที่  แต่
แอฟริกาจะบริโภค น้ำตาลเพิ่มขึ้นจาก 10%  เป็น 13% ภายในปี 2030 (โดยเฉพาะในบางประเทศ เช่น อูกันดา กินี บูร์กินาฟาโซ) ซึ่งเป็นผลมาจาก
การเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรและ GDP
          ทางด้านการผลิต  รายงานฉบับดังกล่าว  ยืนยันว่า บราซิลจะยังคงเป็นประเทศที่มีการผลิตและส่งออกน้ำตาลมากที่สุดในโลก  โดยผลผลิต
ของบราซิล เพิ่มขึ้นถึง 35%  ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา        และมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของปริมาณน้ำตาลที่ส่งออกทั้งหมดทั่วโลก ใน
อนาคตบราซิลน่าจะยังมี อิทธิพลต่อตลาดน้ำตาลโลกสูงสุดต่อไป บริษัท Czarnikow ระบุว่า        การผลิตน้ำตาลของโลกจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นอีก 90
ล้านเมตริกตัน (raw value) ภายใน 20 ปีข้างหน้า       เพื่อรองรับกับความต้องการบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น    คาดว่าด้วยกำลังความสามารถในการ
ขยายการผลิตและทรัพยากรที่มีอยู่ ของบราซิล   น่าจะทำให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้อีก 45 ล้านตันในอนาคต     ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับ
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการเปลี่ยนแปลงการจัดการภายในของประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาล เช่น ประเทศไทย เป็นต้น
          องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ  หรือ FAO     ได้คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 9.1 พันล้านคน
ภายในปี 2050   ซึ่งจะทำให้การผลิตอาหารของโลกจะต้องเพิ่มขึ้นอีก 70%  ภายใน 30 ปีข้างหน้า ความต้องการบริโภคส่วนใหญ่จะมาจากประเทศ
เศรษฐกิจ ใหม่เป็นหลัก แต่สำหรับภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป  ความต้องการบริโภคอาหารอาจคงที่หรือมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น
ในอนาคต ประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ยุโรปและแอฟริกา อาจมุ่งเน้นความสนใจไปที่การเพิ่มผลผลิตอาหารเป็นหลัก เพื่อให้ประเทศเกิดความ
มั่นคงด้านอาหาร (food security) และลดความผันผวนในตลาด ส่วนการผลิตน้ำตาลที่จะต้องเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการบริโภคที่ เพิ่มสูงขึ้น
แต่ในทางตรงข้าม         การผลิตน้ำตาลอาจเผชิญปัญหาจากการแก่งแย่งใช้ที่ดินกับพืชอาหารอื่นๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด         ซึ่งถือเป็นอาหารหลัก
(staple food)  ที่มีความสำคัญมากกว่า      และอาจเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ราคาน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น      คงเหลือแต่ประเทศบราซิลเท่านั้นที่มีที่ดินและ
ทรัพยากรเพียงพอ สำหรับขยายการเพาะปลูก     ในอนาคตผู้นำเข้าและผู้บริโภคจึงน่าจะขึ้นอยู่ กับอุปทานน้ำตาลที่มาจากบราซิลมากยิ่งขึ้นอย่างไร
ก็ตาม   บราซิลจำเป็นต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการขยายการผลิตน้ำตาล    เนื่องจากในปัจจุบันบราซิลมีทางรถไฟเพียง 10%
เมื่อ เทียบกับสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าประเทศจะมีขนาดใกล้เคียงกันก็ตาม ดังนั้นปัญหาด้านการขนส่งอาจเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของ
บราซิลได้ ส่วนสหภาพยุโรปและรัสเซียควรหาทางกลับมาเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลให้ได้อีกครั้ง
          ปัจจุบัน น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อยคิดเป็นสัดส่วนราว 3 ใน 4 ของผลผลิตน้ำตาลทั่วโลก     ส่วนใหญ่ผลิตมาจากประเทศในเขตร้อนหรือกึ่งร้อน
เช่น บราซิล อินเดีย จีนและไทย     ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 4 เป็นน้ำตาลที่ผลิตจากต้นบีท (sugar beet)       โดยผลิตกันมากในประเทศที่มีอุณหภูมิ
ปานกลาง เช่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา การผลิตน้ำตาลจากอ้อยมีความได้เปรียบเหนือกว่าน้ำตาลจากต้นบีท  เนื่องจากมีฤดูเพาะปลูกที่ยาวนานกว่า
และต้นทุนการผลิตต่ำกว่า   แต่โอกาสในการขยายตัวของการเพาะปลูกอ้อยต่ำกว่าต้นบีทเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศ  ปริมาณน้ำฝนและ
สภาพ ภูมิอากาศ  ในอนาคตภาคการผลิตน้ำตาลบีทอาจมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น      เนื่องจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่หลายแห่ง  เช่น KWS, SES
Vander Have และ Syngenta เป็นต้น   กำลังพัฒนาการเพาะปลูกต้นบีทที่มีความเหมาะสมกับสภาวะในเขตร้อน โดยทดลองปลูกในประเทศอินเดีย
ปากีสถาน และแอฟริกาใต้ อีกทั้งการเพาะปลูกต้นบีทยังใช้น้ำน้อยกว่าอ้อยถึง 2 ใน 3  สามารถเติบโตได้ในดินที่มีความเค็ม และเก็บเกี่ยวได้ภายใน
ระยะเวลา 6 เดือน จึงมีความเป็นไปได้ที่การผลิตน้ำตาลบีทจะขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต     ดังนั้น หากภาคการผลิตน้ำตาลบีทเติบโตมากขึ้น ควบคู่ไป
กับการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลจากอ้อย      และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลแล้ว  เช่น ด้าน
กฎ ระเบียบ ราคาน้ำตาลและค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น  ความเป็นไปได้ที่ผลผลิตน้ำตาลของโลกจะเพิ่มขึ้นได้ทันกับความต้องการบริโภค ที่เพิ่มขึ้นจึงจะ
มีโอกาสเกิดได้
 
อ้อยในไทย
 
          หากมีใครสักคนถามท่านผู้อ่านว่าอ้อยในเมืองไทยหน่วยงานใดรับผิดชอบ  คาดว่าคำตอบที่ได้รับในใจหลายๆ ท่านคือ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์   แต่ในความเป็นจริงแล้วอ้อยในเมืองไทยไม่เหมือนใครในโลก    และคงไม่มีใครเหมือน สิ่งที่ผู้เขียนนึกถึงเวลาที่มีเหตุการณ์เกี่ยวกับอ้อย
คือ คำสอนของอาจารย์สมัยเป็นนักเรียนเกษตรในวิชาพืชไร่อุตสาหกรรม   สำหรับคำจำกัดความของอ้อยในเมืองไทย คือ พืชการเมือง ดังนั้นจึง
ไม่ต้องแปลกใจที่อ้อยไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   แต่กลับอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  ภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ควบคุมการผลิตและการจำหน่าย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
          พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527  เกิดขึ้มาจากความจำเป็นที่ต้องรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ  และคุ้มครอง
รักษาผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยในด้านการผลิตและการจำหน่าย      จึงควรจัดระบบและควบคุมการผลิตและจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทรายที่ผลิต
จาก อ้อย โดยให้ชาวไร่อ้อยและเจ้าของโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดย ตรงเข้าร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่การผลิตอ้อยไปจนถึงการ
จัดสรรเงินรายได้จากการขายน้ำตาลทรายทั้งในและนอกราชอาณาจักรระหว่างชาวไร่อ้อย และเจ้าของโรงงานน้ำตาลทรายเพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อย
และน้ำตาลทรายเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของโรงงานน้ำตาลและผู้บริโภค
          การบริหารระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ป ระกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมด 5 คณะ  กล่าวคือ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
ทราย (กอน.)
  ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทราย  กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธี
การ ปฏิบัติและมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการคณะอื่นๆ   ตามที่กฎหมายกำหนด   ซึ่ง กนอ. ได้แก่ ผู้แทนฝ่ายราชการ 5 คน ผู้แทนชาวไร่อ้อย 9 คน
และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 7 คน

          ลำดับต่อมา  คือ คณะกรรมการบริหาร (กบ.)   ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ 3 คน   ผู้แทนชาวไร่อ้อย 4 คน ผู้แทนฝ่ายโรงงาน
4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ทำหน้าที่หลักในการให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ กอน.และควบคุมการปฏิบัติงานของ กอน. ด้วย
          คณะกรรมการอ้อย(กอ.) ประกอบด้วย  ผู้แทนจากส่วนราชการ 4 คน  ผู้แทนชาวไร่อ้อย 6 คน และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 4 คน ทำหน้าที่ให้
คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ กอน.และ กบ. ในกิจการที่เกี่ยวกับอ้อย
          คณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.)  ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ 5 คน    ผู้แทนชาวไร่อ้อย 5 คน   และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 5 คน
ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ กอน.และ กบ.  ในกิจาการที่เกี่ยวกับน้ำตาลทรายคณะกรรมการชุดสุดท้าย คือ คณะกรรมการบริหาร
กองทุน (กท.)
ประกอบด้วย  ผู้แทนจากส่วนราชการ 6 คนผู้แทนชาวไร่อ้อย 3 คน  และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 3 คน   ทำหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วย
การเก็บรักษา การหาผลประโยชน์และการใช้จ่ายเงินกองทุนและบริหารควบคุมการปฏิบัติงานกองทุนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้สำนักงาน
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมทั้งมีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนด
นโยบาย กำกับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีเสถียรภาพ    โดยการกำหนดนโยบายส่งสริมการ
วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย     ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ในระบบอุตสาหกรรม
อ้อยและน้ำตาลทรายและผู้บริโภค
อ้อยอุตสาหกรรม
          อุตสาหกรรมอ้อย  และน้ำตาลทรายเกี่ยวข้องกับชีวิตของเกษตรกรกว่า 600,000 คน      และเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ
ประเทศปีละกว่า 80,000 ล้านบาท     โดยมีสัดส่วนในการส่งออกมากกว่าการบริโภคในประเทศราว 2 ใน 3  ของผลผลิตน้ำตาลที่ผลิตได้เนื่องจาก
อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมตามที่กล่าวมาข้างต้น    คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ประกาศกำหนดพันธุอ้อยที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ชาวไร่
อ้อย ปลูกในท้องที่ที่คณะกรรมการกำหนด   จำนวน 35 พันธุ์     ซึ่งมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูกของแต่ละภาค  โดยมีศูนย์ส่งเสริม
อุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายประจำภาคต่างๆ ได้แก่ ภาค 1 กาญจนบุรี  ภาค 2 กำแพงเพชร  ภาค 3 ชลบุรี และภาค 4 อุดรธานี  ทำหน้าที่ใน
การส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

          ในภาพรวมแล้ว  อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย   มีสถาบันชาวไร่อ้อยอยู่เป็นจำนวนมาก    แต่มีเพียง 29 สถาบันที่มีคุณลักษณะตามที่
กฎหมายกำหนด  คือ มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 600 คน และมีปริมาณอ้อยส่งโรงงานไม่น้อยกว่า 55%      ซึ่งทั้ง 29 สถาบันได้รวมตัวกันเป็น 3 องค์กร
ชาวไร่อ้อย ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย  สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และชมรมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน ในส่วนของโรงงาน
น้ำตาล มีทั้งสิ้น 47 โรงงาน  ก่อตั้งเป็น 3 สมาคมเช่นกัน     ได้แก่ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล   สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย และสมาคม
โรงงานน้ำตาลไทย
 
          สำหรับระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายของประเทศไทย  กำหนดจัดสรรโควต้าน้ำตาลทรายของประเทศออกเป็น 3 ส่วน  ประกอบด้วย
        
           น้ำตาล โควต้า ก
   คือ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลชนิดอื่นๆ   ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตายทรายกำหนดให้
ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะกำหนดเป็นแต่ละฤดูการผลิต

          น้ำตาล โควต้า ข
คือน้ำตาลทรายดิบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตเพื่อส่งมอบให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
ส่งออกและจำหน่ายไปยังต่างประเทศ จำนวน 8 แสนตัน เพื่อใช้ทำราคาในการคำนวณราคาน้ำตาลส่งออก

           น้ำตาล โควต้า ค
คือ น้ำตาลทรายดิบ  หรือ น้ำตาลทรายขาว  หรือ น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ที่คณะกรรมการอ้อย และน้ำตาลทรายกำหนดให้
โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกหลังจากที่โรงงานผลิตน้ำตาลทรายได้ครบตามปริมาณที่จัดสรรให้ตามโควต้า ก และ โควต้า ข แล้ว
          ส่วนระบบการซื้อขายอ้อยในปัจจุบันจะซื้อขายกันตามค่าความหวาน ระบบดังกล่าวเริ่มใช้มาตั้งแต่ปีการผลิต 2535/36 เป็นระบบที่นำมาจาก
ออสเตรเลีย ค่าคุณภาพความหวานวัดเป็น C.C.S   หรือ Commercial Cane Sugar หมายถึง ปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อย ซึ่งสามารถหีบสกัดออก
มา เป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์    โดยในระหว่างผ่านกรรมวิธีการผลิต     ถ้ามีสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่ละลายอยู่ในน้ำอ้อย 1 ส่วน จะทำให้สูญเสียน้ำตาลไป
50%  ของจำนวนสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ อ้อย 10 C.C.S.    จึงหมายถึง เมื่อนำอ้อยมาผ่านกระบวนการผลิต  จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 10%  กล่าวคือ
อ้อย1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 100 กิโลกรัม โดยมีสูตรการคำนวณราคาอ้อยดังนี้
          ราคาอ้อย = รายได้ส่วนที่ 1 + (รายได้ส่วนที่ 2  x ค่า C.C.S)+ รายได้จากกากน้ำตาล    โดย รายได้ส่วนที่ 1 = รายรับจากการขายน้ำตาล
ที่คิดตามน้ำหนัก
          รายได้ส่วนที่ 2 = รายรับจากการขายน้ำตาลที่คิดตามค่าความหวาน
          สำหรับระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ หรือน้ำตาลโควต้า ก คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มอบหมายให้คณะกรรมการ
น้ำตาลทราย เป็นผู้วางแผนควบคุม และกำหนดวิธีการจำหน่าย  โดยมีศูนย์บริหารการผลิต การจำหน่าย และการขนย้ายน้ำตาลทราย เป็นฝ่ายปฏิบัติ
การ  โดยจำหน่ายเป็นลักษณะตลาดกลาง  ซึ่งโรงงานน้ำตาลดำเนินการขายอย่างเสรี  คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะควบคุมปริมาณน้ำตาล
ทรายที่จะเข้าสู่ตลาดกลาง และรักษาเสถียรภาพของราคาไว้ โดยคณะกรรมการจะกำหนดงวดการนำน้ำตาลทรายออกมาจำหน่ายตามความต้องการ
ของตลาดปริมาณน้ำตาลทราย โควต้า ก  ในปีการผลิต 2552/53  กอน.  กำหนดไว้ที่ 22 ล้านตัน     โดยแบ่งเป็นงวดจำหน่าย จำนวน 52 งวด ตาม
จำนวน สัปดาห์ในรอบปี    เพื่อให้โรงงานน้ำตาลนำน้ำตาลออกจำหน่ายสัปดาห์ละ 1 งวด ให้แก่ผู้ค้าส่งหรืออุตสาหกรรมต่างๆ   ที่ใช้น้ำตาลทรายเป็น
วัตถุดิบ โดยศูนย์บริหารฯ  เป็นหน่วยงานควบคุมด้วยระบบใบอนุญาตขนย้ายน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลต่างๆ  ให้กับผู้ซื้อภายหลังจากชำระค่าน้ำตาล
ให้กับผู้แทนโรงงานแล้วและผู้ซื้อน้ำตาลจะนำใบอนุญาตดังกล่าวของโรงงานไปรับน้ำตาลเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป

ขั้นตอนการปลูกอ้อย

ขั้นตอนการปลูกอ้อย

http://img521.imageshack.us/img521/1407/clip42.jpg
การปลูกอ้อย
เทคโนโลยีการปลูก
การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก
1. ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร
2. ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
3. การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก


--------------------------------------------------------------------------------

การ เตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง
2. ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
3. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------

วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย


--------------------------------------------------------------------------------

การ ใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ
1. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่
2. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่


--------------------------------------------------------------------------------

การ กำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้
1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก


การ ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย


--------------------------------------------------------------------------------

การ ตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน

--------------------------------------------------------------------------------

การบำรุงตออ้อย

1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา
2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก
3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย
4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน
6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่

แนวทาง การปลูกอ้อย ให้ได้ 20-30 ตันตอไร่

แนวทาง การปลูกอ้อย ให้ได้ 20-30 ตันตอไร่
             

การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน จะช่วยให้ลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยเคมีลงไปได้มาก
องค์ประกอบของดินที่สมบูรณ์มี  อินทรีย์วัตถุ5%  แร่ธาตุ45%  น้ำ25%  อากาศ25%  ถ้าอินทรีย์วัตถุมีน้อยจะทำให้โครงสร้างของดินที่มีอินทรีย์ต่ำจะต้องมีการ เพิ่มให้กับดินโดยการใส่ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยพืชสด,ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆเพื่อให้ดิน สามารถอุ้มน้ำและดูดซับอาหารไว้ได้มากและนาน
การสร้างรากอ้อยให้หยั่งลึก

การใส่ปุ๋ยรองพื้นอย่างถูกวิธี ถ้าใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มี NและKมากจะทำลายปุ่มรากและรากอ่อนจำให้อ้อยไม่งอกหรืองอกแล้วตายเนื่องจาก ความเค็มของปุ๋ย  ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยครั้งแรกควรมี NและKน้อยหรือไม่มีเลยแต่ควรมีPสูงๆเพื่อเร่งรากให้แข็งแรงและควรฝังใต้ท่อน พันธุ์เพื่อให้รากหยั่งลึกลงในดินอ้อยจะทนแล้งมากขึ้นสูตรปุ๋ยที่ใช้ เช่น  16-16-8หรือ 28-10-10และให้ใช้ร่วมกับน้ำหมัก เอ็นไซม์ และ ขี่ไก่อัดเม็ด ขี้หมูอัดเม็ด แกลบดิบเครื่องมือที่มีหัวริบเปอร์สามารถฝังปุ๋ยใต้ท่อนพันธุ์ยกร่องลึก ประมาณ 25 ซม.การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าควรใช้เครื่องฝังปุ๋ยกลางร่องที่มีหัวริบเปอร์ 30ซม.เมื่ออ้อยอายิ10สัปดาห์  เพื่อไม่ให้รากอ้อยขาดการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าควรมี NและKสูง เช่น 16-11-14หรือ 24-4-24  และให้ใช้ร่วมกับน้ำหมัก เอ็นไซม์ และ ขี่ไก่อัดเม็ด ขี้หมูอัดเม็ด แกลบดิบเป็นต้น  
                    

               การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเริ่มตั้งแต่ตุลาคม-กุมภาพันธ์และการปลูกอ้อยต้นฝนจะ เริ่มมีนาคม-มิถุนายน  อ้อยจะได้รับน้ำฝนตั้งแต่ต้นปีจนกระทั้งหมดฤดูฝน ถ้ามีฝนตกปริมาณ 1,000มม.ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 12ตัน/ไร่  หรือฝน 1,200  มม.ผลผลิตจะได้ไม่ต่ำกว่า 15  ตัน/ไร่  อ้อยที่ปลูกต้นฝนเดือนมิถุนายน จะได้รับปริมาณฝนน้อยลงเพียง 3-4  เดือนผลผลิตอ้อยจะต่ำมาก  ดังนั้นจะต้องปลูกอ้อยข้ามแล้งช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์จะได้ผลผลิตสูง   หรือใช้ระบบน้ำหยดซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูงและคุ้มค่ากับการลงทุนและไม่จำเป็น ต้องเสี่ยงรอน้ำฝน แต่ก็จะเพิ่มต้นทุนขึ้นมาเช่นเดียวกัน ดังนั้นอยากให้ศึกษาให้ดีเสียก่อนสำหรับตัวผม ผมว่าคุ้มในการทำน้ำหยด
                หลังจากตัดอ้อยสดควรปล่อยให้ใบอ้อยแห้ง แล้วจึงทำการพรวนใบอ้อยด้วยพรวน 7 จานเครื่องสับตออ้อยพร้อมถังใส่ปุ๋ย  (อุปกรณ์ 3อย่างในชุดเครื่องมือเดียว) เพื่อสับใบอ้อยให้คลุกลงไปในดินเพิ่มอินทรีย์ให้กับดิน  บำรุงอ้อยและดิน ดินสามารถรักษาความชื้นได้นานและย่อยสลายธาตุอาหารให้แก่อ้อยรากอ้ออยก็จะ ยั่งรากลงลึกในการหาอาหารและสามารถไว้ตอได้มากกว่า 3ตอ   เมื่อพรวนแล้วใส่ปุ๋ยแล้ว  หน่ออ้อยที่เกิดจากตาใต้ดินจะมีขนาดใหญ่สมบูรณ์แข็งแรงถึงแม้ฝนทิ้งช่วงก็ ไม่กระทบผลผลิตอ้อยมากนัก
                เกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่เคยปลูกมานานหลายปี หรืออาจจะปลุกกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว อาจจะไม่ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง  แต่ผมอยากให้ลองคิดง่ายๆว่า ถ้าท่านทำแบบเดิม ท่านก็จะได้เท่าเดิม ไม่มีทางที่จะได้ดีกว่าเดิม หัวใจสำคัญอยู่ที่ดิน  ควรปลูกดินก่อนปลูกพืช ครับและต้องมีน้ำด้วยนะครับ
                 นอกจากการคำนึงถึงผลิตต่อไร่แล้ว ต้องคำนึงถึง ต้นทุน การปลูกอ้อย ต่อไร่ ด้วยนะครับ
สอบถาม แลกเปลี่ยนความรู้กันได้นะครับ