Tuesday, April 16, 2013

การใช้ประโยชน์จากอ้อย 1

การใช้ประโยชน์จากอ้อย


อ้อย
     
เป็น ไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก
         
      อ้อย มีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อและสีของลำต้น อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อ้อยที่นำมาคั้นน้ำสำหรับดื่ม เป็นอ้อยที่ปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว ประชาชนเรียกว่า อ้อยเหลือง หรือ อ้อยสิงคโปร์ นิยมปลูกกันมากในบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็นต้น
น้ำตาลจากอ้อย
น้ำตาล ที่ได้จากอ้อยแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ 1) centrifugal และ 2) non-centrifugal ชนิดแรกเป็นน้ำตาลที่ถูกแยกเอาน้ำตาลโมลาส หรือที่ชาวโรงงานน้ำตาลชอบ เรียกว่า น้ำเหลือง ออกจากผลึกของน้ำตาล โดยวิธีอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centrifugal) ส่วนน้ำตาลชนิดที่สอง เป็นน้ำตาลที่ไม่มีการแยกเอาน้ำตาลโมลาสออก นอกจากนี้อาจจะมีน้ำตาลชนิดที่ 3 ได้เรียกว่า เป็นน้ำตาลชนิดไซรับ (syrup) เราเรียกว่า ไซรับ เพราะมีลักษณะเป็นของเหลวข้น ไซรับเกิดจากโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก หีบเอาน้ำอ้อยมาทำให้ข้น แล้วส่งไปทำเป็นน้ำตาลดิบ หรือน้ำตาลทรายที่โรงงานน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่กว่า เราสามารถจัดกลุ่มน้ำตาลได้ดังนี้คือ
Centrifugal sugar :
  • น้ำตาลดิบสามารถส่งไปทำเป็นน้ำตาลทรายขาว, ขาวพิเศษในโรงงานน้ำตาลใหญ่ต่อไปได้
  • น้ำตาล ทรายแดง มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ เช่น golden brown, yellow, washed grey, standard white, plantation white และ Khandsari
Non centrifugal sugar :
  • มี ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ กัน เช่น Gur, jaggery, panela, desi ปกติผลิตในโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก (cottage industries) เพื่อใช้บริโภคในหมู่บ้าน ในกรณี ของน้ำตาล jaggery ชาวบ้านนำไปใช้เพื่อทำเมรัยด้วยการหมักต่อไปอีก
Liquid sugars :
  • ได้แก่ น้ำตาลชนิดข้น มีชื่อเรียกเป็นภาษา อังกฤษ เช่น fancy molasse edible syrup
นอก จากจะหีบอ้อย เอาน้ำอ้อยไปทำ น้ำตาลแล้ว ส่วนประกอบส่วนอื่น ๆ ของอ้อยที่เหลือ เช่น ชานอ้อย กากน้ำตาลหรือโมเลส (molasses) และขี้ผึ้ง ฯลฯ ก็สามารถนำไปดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ทาง อื่นได้อีกด้วย
1. ชานอ้อย (bagasse)
หมาย ถึงเศษเหลือจากการหีบเอาน้ำ อ้อยออกจากท่อนอ้อยแล้ว เมื่อท่อนอ้อยผ่านลูกหีบชุดแรก อาจจะมี น้ำอ้อยตกค้างเหลืออยู่ยังหีบออกไม่หมด แต่พอผ่านลูกหีบชุดที่ 3-4 ก็จะมีน้ำอ้อย ตกค้างอยู่น้อยมาก หรือแทบจะไม่เหลือ อยู่เลย คือเหลือแต่เส้นใยล้วนๆ ผลพลอยได้อันดับต่อมา ได้แก่ ฟิลเตอร์มัด (filter mud) หรือบางแห่งก็เรียกฟิลเตอร์ เพรสเค็ก หรือฟิลเตอร์เค็ก หรือฟิลเตอร์มัด (filter-press cake, filter or filter muck) ซึ่งจะถูกแยกหรือกรองหรือ ทำให้น้ำอ้อยบริสุทธิ์โดยวิธีอื่นใดก็ตาม สิ่งสกปรกที่แยกออกมาก็คือ ฟิลเตอร์เค็ก ผลพลอยได้ อันดับสุดท้ายจากโรง งานน้ำตาลก็ได้แก่ กากน้ำตาล หรือโมลาส (molasses) ซึ่งมีลักษณะข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ ที่ไม่ สามารถจะสกัดเอาน้ำตาล ออกได้อีกโดยวิธีปกติ
ใน อดีตใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงสำหรับ ต้มน้ำในหม้อน้ำให้เดือดแล้ว ใช้กำลังไอน้ำสำหรับเดินเครื่องจักรไอน้ำและสำหรับกำเนิดไฟฟ้าในระยะเวลาต่อ มา ชานอ้อยในยุคก่อน ๆ ยังมีน้ำตาลที่หีบ ออกไม่หมดหลงเหลืออยู่มาก และเป็นการสะดวกในการที่ป้อนชานอ้อยจากลูกหีบลูกสุดท้ายเข้าสู่เตาต้มน้ำ หรือ boiler ได้ทันที ถึงกระนั้นก็ตามชานอ้อยก็ยังคงเหลืออยู่อีกมาก เนื่องจากหม้อน้ำใช้ไม่หมดทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด และทำลาย ให้หมดไปจากบริเวณโรงงานแม้ว่าบางโรงงานในแถบเวสต์อินดีสจะดัดแปลงไปใช้ กลั่นเหล้ารัมหรือแอลกอฮอล์บ้าง ชานอ้อยก็ ยังคงเหลืออยู่มากมาย
1.1 การใช้ประโยชน์ชานอ้อยในการอุตสาหกรรม
นัก วิจัยได้พยายามคิดค้นหาวิธี นำชานอ้อยไปประดิษฐ์ใช้ให้เป็น ประโยชน์แก่มนุษย์ผลสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ โดยการนำไปอัดเป็นแผ่นคล้ายไม้อัด และใช้ทำเยื่อกระดาษตลอด จนพลาสติกและสารเฟอฟิวราล (furfural) เป็นที่ทราบกันดีว่ากระดาษอัดที่ทำจากชานอ้อย มีคุณสมบัติเก็บเสียงได้ดี และใช้ทำฝ้าเพดาน ตลอดจนใช้บุผนังห้องในบ้านหรือแม้แต่ในเรือและรถยนต์ ในบรรดาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จากชานอ้อย ต่างก็มีชื่อการค้าจดทะเบียนสิทธิ์ต่าง ๆ กัน เช่น ซีโลเท็กซ์ และเคเน็ก (Celotex and Canec) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของเส้นใยหรือไฟเบอร์ที่ได้จากอ้อยก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ใช้ มากนัก หรือแม้แต่โรงงานทำเยื่อกระดาษ ห่อของก็ยังต้องการให้ชานอ้อยมีเส้นใยยาวกว่านี้
เมื่อ มองในแง่ พลังงาน ซึ่งกำลังมีราคาแพงขึ้นในทุกวันนี้ ชานอ้อยแม้ว่าจะให้พลังงาน น้อยกว่าน้ำมันหรือถ่านหิน แต่ก็เป็นผลพลอยได้ที่โรงงานน้ำตาลไม่ต้องลงทุนซื้อหามาเหมือนน้ำมัน ปิโตรเลียม มีผู้คำนวณไว้ว่า ชานอ้อยหกตันที่มีความชื้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มี ไฟเบอร์ประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำตาลเหลืออยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ จะมีความร้อนเทียบเท่ากับน้ำมันเตาหนึ่งตันทั้งนี้ ถ้าชานอ้อยยิ่งมีความชื้นน้อยมีเปอร์เซ็นต์ไฟเบอร์สูง และมีน้ำตาลซูโครสที่เหลืออยู่สูงก็จะให้ความร้อนสูงมากยิ่งขึ้น โดยวัดค่าความร้อนออกมาเป็น L.C.V. (lower calorific value) ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 2,800 ถึง 3,700 B.T.U. ต่อปอนด์
การ ทำเยื่อกระดาษจากชานอ้อยมี ประวัติมานาน และมีผู้จดทะเบียนสิทธิ์มาตั้งแต่ปี 1838 ต่อมาก็มีการผลิตกระ ดาษชนิดต่าง ๆ จากเยื่อกระดาษที่ได้จากชานอ้อย ในปี 1856 มีรายงานว่า มีผู้ประดิษฐ์กระดาษชนิดกระดาษหนังสือ พิมพ์ได้จากชานอ้อย จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตเยื่อกระดาษจากชานอ้อยได้รุดหน้าไปไกล มาก ชานอ้อยที่จะ ถูกนำมาแยกสิ่งสกปรกและสิ่งที่ละลายปนมาตลอดจน pith ออกก่อนโดยวิธีทำให้เปียกแล้วทำให้แห้งทันที แล้วนำไป ผสมกับเยื่อกระดาษที่ได้จากไม้ไผ่และเยื่อกระดาษจากกระดาษเก่าๆ (cellulosic material) อีกวิธีหนึ่งในการแยก pith ออก ก็โดยวิธีที่เรียกว่า ไฮดราพัลเพอร์ (hydrapulper) คือการใช้น้ำล้างอย่างแรงและชะให้ pith แยกออกโดยผ่านตะแกรง หมุนแล้วทำให้แห้ง
ใน แง่ของการทำเยื่อกระดาษ เส้นใยของวัตถุดิบที่นำมาทำเยื่อนับ ว่ามีความสำคัญที่สุด อันดับต่อไปก็คืออัตราส่วนสัมพันธ์ระหว่างความยาวของเส้นใย ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใย นับเป็นความสำคัญถัดไป Barnes (1964) ได้แยกอัตราส่วนดังกล่าวของพืชต่าง ๆ เทียบกับอ้อยไว้ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงความยาวของเส้นใยวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ทำเยื่อกระดาษเปรียบเทียบกับ อ้อย

เส้นใย
ความยาว (มม.)
เส้นผ่าศูนย์กลาง
(เฉลี่ย มม.)
อัตราส่วนของ
ความยาวกับเส้นผ่าศูนย์กลาง
ความยากง่ายในการทำเยื่อ*
เส้นใยเอสปาร์โต (esparto)
1.10 - 1.50
0.009 - 0.013
110 - 120 : 1
1
ลำต้นของกก (reed)
1.00 - 1.80
0.008 - 0.020
80 - 120 : 1
2
อ้อย
1.70
0.02
85 : 1
2
ไม้ไผ่
2.70
0.014
200 : 1
4
สน
2.70 - 3.60
0.032 - 0.043
57 - 90 : 1
4
* 1 = ง่าย , 4 = ยาก

ส่วน ประกอบ ทางเคมีของชานอ้อยคล้ายกับของไม้เนื้อแข็ง (ไม้เนื้อแข็ง ในแง่การทำเยื่อกระดาษ) ส่วนประกอบดังกล่าวปรวนแปรไปตามชนิดพันธุ์ อายุและสภาพที่อ้อยเติบโตขึ้นมา ชานอ้อยมีลิกนิน (lignin) น้อยกว่าไม้ยืนต้น มีสารเพนโตแซน (pentosan) มากกว่าไม้สนไม้สปรูซ (spruce) และไม้ยืนต้น อื่น ๆ บางชนิด ส่วนประกอบเซลลูโลส ชนิด Cross และ Bevan ของอ้อยมีลักษณะคล้ายกับไม้ที่ใช้ทำกระดาษชนิดอื่น ๆ ขี้เถ้าของอ้อยมีส่วนประกอบผิดแผกจากไม้ชนิดอื่น คือมี ซิลิกา (silica) สูงมาก และมีโพแทสกับแคลเซียมต่ำ เส้นใยอ้อยยก เว้น pith เหมาะสมที่จะนำมาทำเยื่อกระดาษมาก คือ จัดเป็นเยื่อชนิดดี และฟอกสีได้ง่าย ข้อเสีย คือ จำเป็นจะต้องแยก pith ออกก่อนทำเยื่อและ pith ที่แยกออกมาสามารถนำไปสังเคราะห์ทำอาหารสัตว์ได้โดยผสมกับกากน้ำตาล หรือสามารถ ใช้ทำส่วนประกอบของวัตถุระเบิดได้
การทำเยื่อกระดาษก็เพื่อที่จะละลายส่วนที่เป็นลิกนินและเฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ออกจากชานอ้อย ลิกนินเป็นส่วน หนึ่งซึ่งยึดเส้นใยของชานอ้อยให้ติดกัน ทำให้ไม่สามารถทำให้ได้กระดาษแผ่นบาง ๆ ได้ ส่วนเฮมิเซลลูโลสถ้ามีอยู่เกิน 20% จะทำให้กระดาษที่ได้ขาดง่ายเกินไป ไม่เหนียวและหยุ่นตัว
ก่อนทำเยื่อกระดาษ จะต้องนำชานอ้อยมาล้าง และแยกส่วนที่เรียกว่า “พิท” (pith) ออกก่อน เยื่อที่เหลืออยู่จะถูกนำ ไปย่อย หรือผสมกับส่วนผสมหนึ่ง หรือมากกว่าตามสูตร ซึ่งมักจะปิดบังไม่เปิดเผย เสร็จแล้วนำไปผ่านความร้อน 10 - 12 นาที สิ่งที่ได้เรียกว่า เยื่อกระดาษ ต่อมาเยื่อกระดาษจะถูกนำไปทำให้ขาวโดยการฟอกด้วยนม หรือสารเคมี แล้วแต่ว่าจะนำ เยื่อกระดาษนั้นไปใช้ทำอะไร
1.2 เฟอฟูราล (Furfural)
เฟอ ฟูราล ซึ่งเป็นสารประกอบที่สกัด ได้จากชานอ้อย มีชื่ออื่นอีก คือ ฟูรอล, เฟอฟูรอล, เฟอฟูราลดีไฮด์ (furol, furfurol, furfuraldehyde) เป็นสารเคมีที่ไม่มีสี ไม่ติดไฟมีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่าย เมื่อถูกแสงสว่างหรืออากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดงน้ำตาล เฟอฟูราล ใช้ในอุตสาหกรรม กลั่นไม้และน้ำมันหล่อลื่น หรือใช้เป็นส่วนผสมของกาว หรือตัวการที่ทำให้พลาสติกแข็งตัว นอกจากนี้เฟอฟูราลยังเป็นตัว ละลายชนิดเดียวของสารบูตาดีน (butadiene) ในอุตสาหกรรมผลิตยางสังเคราะห์ และใช้ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม ส่วน มากในปัจจุบันใช้เป็นวัตถุประกอบสำคัญในการผลิต “ไนลอน 5-6” วัตถุดิบอื่นที่นำมาใช้ผลิตเฟอฟูราลได้อีก ได้แก่ ซังข้าว โพด เปลือกข้าวโอ๊ต เมล็ดฝ้าย แกลบ และชานอ้อย ซึ่งวัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีเพนโตแซนและเซลลูโลส ซึ่งเมื่อถูกนำมา ย่อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจาง ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูงถึง 153 องศาเซลเซียส ก็จะได้สารเฟอฟูราลบริสุทธิ์ 98-99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อน้ำ และใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้
ส่วนประกอบเพนโตแซนในชานอ้อยมีอยู่ประมาณ 24 ถึง 32 เปอร์เซ็นต์ และใน pith จะมีอยู่ประมาณ 27.5 ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันนี้ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันเป็นผู้ผลิตสารเฟอฟูราลได้มากที่สุด คือประมาณ ปีละ 30 ล้านปอนด์
1.3 แอลฟา-เซลลูโลส (µ-cellulose)
เป็น สารที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็นสารขั้นต้นของเยื่อกระดาษซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว วิธีการสกัดสารนี้ ใช้วิธีของ de la Roza (1946) ซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิ์เอาไว้ ผลผลิตตามวิธีนี้จะได้เยื่อกระดาษแอลฟาเซลลูโลส จากการกลืนย่อยโดยใช้กรด และด่างถึงประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์
อีก วิธีหนึ่งที่ ใช้สกัดแอลฟาเซลลูโลส เป็นวิธีของ Lynch และ Aronowsky โดยการย่อย ด้วยกรดไนตริค ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เสร็จแล้วล้างและทำให้สะเด็ดน้ำ แล้วย่อยต่อด้วยโซดาไฟ
สาร แอลฟาเซลลูโลส นี้ นำไปผลิตสิ่งต่าง ๆ ได้อีก เช่น เซลโลเฟน เรยอง พลาสติก วิสโคส (viscose) เซลลูโลสอาซีเตท ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งเป็นสารที่ใช้ทำวัตถุระเบิด เป็นต้น
1.4 พลาสติก (plastics)
พลาสติก มีกรรมวิธีผลิตได้หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ การใช้ชานอ้อยที่บริสุทธิ์ปราศจาก pith ปั่นให้เป็นผง ใช้เป็นฟิล เลอร์ (filler) ของพลาสติก อีกวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ลิกนิน (lignin) บริสุทธิ์เป็นเนื้อพลาสติก เรียกว่าพลาสติกแท้ ชานอ้อย เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับทำพลาสติกมาก เนื่องจากหาได้ง่าย ราคาถูกและมีส่วนประกอบทางเคมีเหมาะสมมาก ชานอ้อยมีส่วน ประกอบของลิกนิน 13 ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับสารพลาสติไซส์ วัสดุอื่นที่ได้จากชานอ้อยในการแยกชานอ้อย เพื่อทำพลาสติก ได้แก่สารอนิลินฟินอล และเฟอฟิวราล ซึ่งแยกโดยการไฮโดรไลซ์เพนโตแซนในชานอ้อย
กรรมวิธี อีกแบบหนึ่ง ได้แก่ การย่อยชานอ้อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจางหรือย่อยด้วยน้ำผสมกับ อนิลิน สารเฮมิเซลลูโลสจะถูกละลายออกมา ซึ่งจะทำให้ ส่วนประกอบที่เป็นลิกนินมีมากขึ้น หลังจากนั้นก็ใช้สารละลายชะล้างสิ่งที่ละลายได้ออกไป นำไปทำให้แห้งและบดเป็นผงนำไป ผสมหรือเข้าแบบหล่อร่วมกับสารพลาสติไซส์ จะได้สารชนิดหนึ่งที่มีประกายแข็งสีดำและไม่ละลายน้ำและเป็นฉนวนไฟฟ้า สารที่ได้นี้สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีได้สารเรซินที่เรียกว่า “โนโวแลค” (Novolak) ซึ่งเป็นสิทธิจดทะเบียนของบริษัท ล็อค พอร์ดแห่งหลุยเซียนา
1.5 โปรดิวเซอร์แก๊ส (Producer gas)
ได้ มีผู้ค้นพบว่าชานอ้อยสามารถผลิตโปรดิวเซอร์แก๊สได้ ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานเผาไหม้ชานอ้อยที่มีความชื้น 30-50 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาผลิตแก็สที่มีค่าพลังงานดังต่อไปนี้
ส่วนประกอบเป็นเปอร์เซ็นต์ Calorific value
CO2 11.2 666 BTU/lb
CO 17.0 1,200 Cal/kg
CH4 6.2 120 BTU/cu ft.
Hydrogen 5.9
Oxygen 0.3
Nitrogen 59.4
 
เมื่อต้องการใช้จะต้องให้อากาศ 1 cu.ft ทำปฏิกิริยากับแก๊สนี้ปริมาตรเท่ากัน อัตราการสิ้น เปลืองชานอ้อยต่อหนึ่งแรงม้า/ชั่วโมง มีน้ำหนัก 0.9 ถึง 1.8 กิโลกรัม ถ้าเผาชานอ้อยได้ความร้อนเท่ากับ 100 เปรียบเทียบกับ โปรดิวเซอร์แก๊สน้ำหนักเท่ากันจะให้ความร้อนในการผลิตไอน้ำเท่ากับ 1.8 (เครื่องจักรชนิด non-condensing) และจะได้ ความร้อน 252 Btu จากเครื่องจักรชนิด condensing engine
1.6 การทำไม้อัดชนิด Medium density fiber particle board (MDFB)
โรงงานน้ำตาลส่วนมากจะใช้ชานอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงต้มหม้อน้ำ เพื่อใช้ไอน้ำในการทำน้ำตาลและปั่นกระแส ไฟฟ้าในโรงงาน ทุกปีจะมีชานอ้อยเหลืออยู่มากมายเป็นภาระแก่โรงงาน ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยอย่างน้อย สองโรงงานที่ใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตกระดานไม้อัดชนิดความหนาแน่นปานกลาง (MDFB) การผลิตไม้อัดดังกล่าวถือเป็นความ ลับ ของโรงงานซึ่งไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน
กรรมวิธี การทำไม้อัด เริ่มจากล้างทำความสะอาดชานอ้อยให้สะอาดปราศจากน้ำตาลโดยการใช้น้ำร้อนหรือ ไอน้ำ ในถังล้างซึ่งหมุนรอบตัวเอง เมื่อสะอาดแล้วชานอ้อยจะถูกส่งเข้าเครื่องทำไม้อัด โดยการผสมกับ resin แล้วอัดลงในกรอบ แผ่นไม้อัดที่ผ่านเครื่องออกมาจะยังคงอ่อนตัวและยังชื้นอยู่ ดังนั้นแผ่นไม้อัดจะถูกส่งเข้าสู่เครื่องรีดอัด เพื่อรีดน้ำออกและ ทำให้แห้งให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ หลังจากนั้นก็นำมาตัดและอบให้แห้ง ไม้อัดที่ได้จะไม่บิดเบี้ยวและทาสีได้ไม่ดูดสี ไม้อัดที่ได้จะสามารถทำให้ทนต่อการทำลายของแมลง เชื้อรา หรือทนต่อฝนหรือน้ำค้างก็สามารถทำได้โดยการอาบน้ำยา ไม้อัด ดังกล่าวมักจะทำให้มีขนาด 153 x 350 ซม. มีความหนา 4 ถึง 40 มม. เพื่อให้เหมาะสมแก่ความต้องการของตลาด (Langreney, F and Hugot, 1969)

0 comments:

Post a Comment