Tuesday, April 16, 2013

รถตัดในความชอบแบบจริงๆจังๆ




รถตัดในความชอบแบบจริงๆจังๆ เพื่อเหมาะสมกับ บอร์ด สอน. มีดังนี้(ขอเรียนว่าต้องใช้ภาษาสุภาพ)
1. ใช้เครื่องยนต์ ชนิด(ไบโอ)ดีเซล อัตรารับประทานน้ำมัน เฉลี่ยต่อตัน(ย้ำ ต่อ ตัน) ไม่เกิน 1 ลิตร ณ.สภาพอ้อย กติกาบังคับ ประมาณ 12 ตันต่อไร่ ร่องยาวไม่น้อยกว่า 90 เมตร มีที่กลับรถ(ถนนรอบหัวแปลง)- ผมไม่แน่ใจว่าการใช้เครื่องยนต์ไบโอดีเซลแท้ๆ จะใช้ต้นทุนเท่าไหร่  แต่ถ้าเป็นการปรับปรุงเครื่องยนต์เดิมให้ใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซลนั้นคงใช้ ต้นทุนไม่มาก โดยการเพิ่มอุปกรณ์อุ่นเชื้อเพลิงป้องกันเชื้อเพลิงเป็นไขอีกสักชุดก็น่าจะ พอ  ปัญหาที่เหลือคือการหาน้ำมันไบโอดีเซลมาเติมให้ได้  พร้อมกันนี้ผมอยากเสนอให้มองการนำแกส NGV หรือ LPG มาเป็นเชื้อเพลิง  ..แนวคิดนี้ได้มาจาก ศิษย์รุ่นน้อง ที่ทำงานอยู่ Double A ซึ่งได้นำเอาระบบแกส NGV มาใช้ในเครื่องจักรกลหนัก-แบ็คโฮล์  โดยการใช้แพ็ค(ถัง)แกสซึ่งยกเปลี่ยนได้เพื่อนำไปเติมหรือสลับกับแพ็คแกสชุด ใหม่  แต่การดัดแปลงเครื่องยนต์ให้ใช้แกสได้นี้เป็นเรื่องใหญ่ต้องค่อยๆคุยกันใน รายละเอียด ไม่อยากให้มองข้ามไป เพราะโดยส่วนตัวเชื่อว่าน้ำมันเชื้อเพลิงจะไม่มีวันลดราคาลง
2. มีระบบที่ไม่ซับซ้อน บำรุงรักษาง่าย มีเกลียวดึงอ้อยด้านหน้า มีพัดลมสับและเป่าใบอ้อยอย่างน้อย 1 ชุด
3. น้ำหนักรถตัด ไม่เกิน 5 ตัน รวมน้ำมันเต็มถัง- ข้อนี้คงเพื่อป้องกันการอัดตัวแน่นของชั้นดินที่เกิดจากน้ำหนักเครื่องจักร และรถบรรทุก  ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะขณะตัดอ้อย แต่เกิดตลอดเวลาที่มีการนำเครื่องจักรเข้าดูแลรักษาอ้อย.. น้ำหนักเครื่องจักรเป็นสาเหตุประการหนึ่ง คือยิ่งหนักชั้นดินก็ยิ่งมีการอัดแน่นมาก  เราพอจะช่วยได้โดยการเปลี่ยนระบบรองรับน้ำหนักเป็นแบบสายพาน.. ผมเคยอธิบายไว้ในกระทู้หนึ่งว่าเครื่องจักรสายพานจะมีพื้นที่รับแรงเท่ากับ ความกว้างหน้าแทร็คคูณความยาวช่วงแทร็ค เมื่อเฉลี่ยแล้วพื้นที่ 1 ตารางนิ้วจะรับน้ำหนักไม่กี่กิโลกรัม  ขณะที่เครื่องจักรแบบล้อยาง น้ำหนักเครื่องจักรจะเฉลี่ยลงเฉพาะที่จุดสัมผัสระหว่างจุดล่างของยางกับผิว ดิน (นึกภาพวงกลม-ล้อ แตะเส้นตรง-ผิวดิน) ซึ่งมีพื้นที่ไม่มาก ดังนั้นแรงกดที่ดินต้องรับจึงมีมากกว่า.. คุณ-นายส่งเสริม กับ Mr.Tommy อาจจะนึกเปรียบเทียบระหว่างการใช้นิ้วกดเส้นกับการใช้ฝ่ามือคลึงคลายความ เครียดกล้ามเนื้อ ว่าจะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน  ส่วนท่านอื่นอาจจะเปรียบเทียบระหว่างการใช้ 2 มืออุ้มถุงข้าวสาร 5 กก. กับการใช้นิ้วเดียวเกี่ยวหิ้วถุงข้าว 5 กก. ก็พอจะทราบโดยคร่าวๆเกี่ยวกับความหมายของคำว่าพื้นที่รับแรง
4. สามารถ สลับล้อยางและแทร็กได้ ในเวลา ไม่มาก- ข้อนี้ดีมากครับ  ระหว่างทำงานเราใช้แทร็คเพื่อลดแรงกดที่กระทำต่อชั้นดินและเพิ่มแรงเสียดทาน ต่อพื้นผิว เครื่องจักรใช้กำลังขับเคลื่อนได้เต็มที่ไม่ลื่นไถล ไม่ปัดป่ายซ้ายขวา ความยาวของช่วงแทร็คช่วยให้รักษาระดับได้ง่ายไม่มุดไม่ยกไปตามระดับผิวดิน  คนขับควบคุมระดับใบมีดตัดอย่างเดียว  และเมื่อต้องการย้ายแปลงไปที่ไกลๆ นับสิบ กม.ก็เปลี่ยนเป็นล้อยางเพื่อให้แล่นได้เร็วขึ้น และเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อเทรลเลอร์(ต้องเสียรถบรรทุกอีกคันมาลาก) แทร็คยางไม่สึกเพราะถนนกัด และในกรณีที่เป็นแทร็คเหล็ก ซี่แทร็คจะสร้างความเสียหายให้ผิวถนนเป็นร่องๆ.. เคยได้ยินว่าทางหลวงที่รักคิดค่าปรับกันเป็นจำนวนรอย!


ขอข้ามมาคุยใน"ข้อคิดเห็นที่11"ก่อนนะครับ
1. คนงานตัดอ้อยเกลียดเถ้าแก่.!!!!.. ใช้คำไม่สร้างสรรค์ครับ  ควรใช้คำว่า คนงานรักเถ้าแก่ มากเท่ากับที่เถ้าแก่รักคนงาน ไอคนที่แอบจุดเผาอ้อยแปลงที่กำลังจะเอารถตัดเข้าทำงาน  น้ำมันก็เสียเท่าเดิมแต่ไม่ได้ใบอ้อย ถูกหักค่าอ้อยไฟ  แถมยังต้องแบ่งอ้อยไฟให้ เจ้าคนจุดช่วยตัดซะอีกแน่ะ
2. ค่าซ่อม/อะไหล่แพง (ถ้าจะเล่นแต่ของแท้ ไม่แปลง)
.. อะไหล่พวกโอริงบางตัว พึ่งให้ลูกน้องเอาเวสป้าไปซื้อมาแพ็คถุงกะมือเมื่อกี้แท้ๆ ว่างั้นเหอะ
3. เกิดการแพ๊คหน้าดินระหว่างร่อง(ก็รถมันวิ่งทุกร่อง 10ล้อมันก็วิ่งทุกร่อง)
.. ทำริบเปอร์ติดท้ายรถบรรทุกซะเลยดีมั้ย วิ่งรับอ้อยไป ระเบิดดานไปด้วยซะให้รู้แล้วรู้รอด
4. จ่ายค่าน้ำมันเพิ่ม..
.. ในราคาแพงขึ้นทุกวัน
5. โรงงาน บางโรงงาน ไม่ชอบ.
.. ????????????
6. ทางหลวง ไม่ชอบ จับน้ำหนักก็ไม่ได้ จับใส่สูงก็ไม่ได้ จับท้ายยื่นก็ไม่ได้  สม..
.. แต่ก็หาเรื่องจับจนได้สิน่า.. ฮ่าๆๆๆ
7. รัฐฯไม่ชอบ เพราะเก็บภาษีได้น้อย (ก็เขาถอดมาเป็นชิ้นๆแล้วตีว่ามือสองเซียงกง...จบ)
.. ถือว่าหนทางเพื่อการอยู่รอดตามวิถีแบบไทยๆก็แล้วกันครับ
8. คนงานคลุกใบไม่ชอบ  ก็มีงานเพิ่ม..ต้องขับรถคลุกใบ..  มันไม่เท่ย์....
.. เท่ย์กว่าอีตอน มอมแมม หูตาเหลือก ช่วยกันดับไฟไหม้ใบแห้งตอนหน้าแล้งละกัน ขอ บอก
9. ชาวบ้านไม่ชอบ  เพราะเดี๋ยวนี้ เจ้าของไร่ ไม่ให้ตบนกแล้ว..(เวลาตัดอ้อย จะมีนกนางแซวมาบินจับแมลง ชาวบ้านจะเอาด่าง มาตบนก วันนึงเฉลี่ยได้เกือบ 30 ตัว.. )
.. สงสัยเถ้าแก่เนี้ยจะไม่ชอบมากกว่ามั้ง  เพราะท้ายที่สุดเถ้าแก่เหมานกมาทอดกระเทียม มาวกะลูกน้องคาไร่ไม่เข้าบ้าน..
10. ออสซี่ไม่ชอบ  เพราะเราคนไทย เอามาแล้วดัดแปลงจน ฝรั่งเสียหน้า..
.. เมื่อวานได้คุยกับบริษัทเครื่องมือนำเข้าตัวใหม่  แนะไปว่าเวลาจะขายให้คนไทยต้องนำเข้ามาเป็นล็อต แล้วขายรวดเดียวให้หมด  จะ 10 ตัวก็ต้องหมดรวดเดียว  ขืนอ้อยสร้อยนำเสนอขายทีละตัวโดนพี่ไทยลอกแบบหมด แถมปรับปรุงจนดีกว่าซะอีกแน่ะ.. ก็พูดได้แค่นี้ ไม่กล้าแนะนำอะไรมากกว่านี้ เดี๋ยวเซล์จะมองหน้าย้อนว่า "ถ้าพี่รู้ดีนัก ไหงโหงวเฮ้งกระจอกจัง ไม่เห็นรวยสักที"
จบแล้ว
.. ยัง.. ยังไม่ให้จบครับ  ช่วยผมป่วนพี่เว็บต่อก่อนเหอะ

ต่อด้วย "ความคิดเห็นที่8" ครับ
รถตัดที่เป็นรถตัดในฝ้นของกระผม...
1. ราคาไม่เกิน 30 บาทรักษาทุกโรค  ...ล้อเล่น...   ราคา ไม่เกิน 1 ล้าน และ 2 ล้าน

.. ราคา 30 บาท ซื้อดอกไม้จันทร์ได้ทุกโรคครับ.. อ๊ะ ล้อเล่นเหมือนกัน..
ราคาไม่เกิน 1 ล้าน ทำได้นะครับ แต่เป็นแบบไม่สางใบ ตัดยอด ตัดโคน วางกอง ใช้รถไถเป็นต้นกำลัง
ราคา 2 ล้านหรือกว่าไปหน่อยๆ "ดูเหมือนจะทำได้จริงๆ นะครับ" แต่เป็นราคาชิ้นส่วนในประเทศที่ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ค่าภาษีนำเข้า   และต้อง..ไม่ได้บอกผ่านเลยครับเฮีย  อะไรทำนองเนี้ย
2. ใช้เครื่องยนต์ รถสิบล้อ หรือ รถไถ  (ร้อยกว่าแรง ก็พอ ไม่ต้องเวอร์มาก).. ต้องใช้เครื่องยนต์ รถยนต์รุ่นที่มีจำหน่ายในประเทศอยู่แล้วครับ เพราะง่ายต่อการสต็อคอะไหล่  และโดยเทคนิคแล้วเราต้องการใช้เครื่องยนต์มาขับปั้มไฮดรอลิก จึงเน้นที่แรงม้า แรงบิด รอบเครื่อง  ไม่เกี่ยวกะหน้าตาเครื่อง
3. อะไหล่ หาได้ตามท้องตลาด ... ไม่ใช่ต้องสั่งจาก บ. โดยตรง (แม่ง..โขกราคา).. แต่ยังไงก็ต้องให้มีบริษัทเป็นผู้รวบรวมข้อมูลอะไหล่อยู่ดีแหละครับ เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพอะไหล่  อะไหล่หน้าตาคล้ายกัน แต่ราคาที่ต่างกัน คุณภาพอาจจะต่างกันมาก ถ้าใช้อะไหล่คุณภาพต่ำเพราะเอาราคาถูกเข้าว่า อาจจะมีผลต่ออายุการใช้งาน ทำให้ต้องเสียค่าแรงรื้อเปลี่ยนบ่อยๆ  Mr.Tommy เล่นระบบไฮดรอลิคมานานคงทราบดีว่า อะไหล่โอริงราคาร้อยเดียว ค่าแรงรื้อซ่อมราคาพัน!  ค่าใช้จ่ายเดินทางมาบริการของบริษัทอีกหลายพัน!!!
  ของแพง-อาจจะไม่ใช่ของดี  แต่ของดี-ต้องแพงเสมอ  ของดีราคาถูก-ไม่มี  อะไรประมาณนั้น
4. สามารถใช้ประโยชน์มากกว่าตัดอ้อย !!! นั่นคือ หมดหน้าตัด ก็เอาอุปกรณ์อื่นๆไปติดตั้ง ใช้เป็นบักแบ็คโฮมั่ง เป็นเครื่องขุดมันสำปะหลังมั่ง เอาไปเกี่ยวข้าวมั่ง (โอ้ย..บ้าไปกันใหญ่แล้ว)
.. เอ้า ข้อนี้ไปกันใหญ่แล้วครับคุณพี่ครับ  โดยโครงสร้างของเครื่องตัดอ้อยมันคงไม่เหมาะที่จะทำอะไรอื่นมากกว่าตัดอ้อย  จะทำเป็นแบ็คโฮล์ก็ติดชุดสายพานลำเลียง จะไปขุดมันก็ติดชุดใบตัดที่อยู่ใต้ท้อง  จะเอาไปฉุดลากอะไรมันก็วิ่งช้าเหลือใจแถมซดน้ำมัน..
เอ้อ.. แต่อาจมีทางเป็นไปได้เหมือนกันนะครับ พึ่งนึกได้ว่าเวลานั่งกินข้าวอยู่ร้านโต้รุ่ง จะเห็นควาญพาช้างมาขอค่าอ้อย สอบถามได้ความว่าหมดหน้าเทศกาลงานช้างที่สุรินทร์ก็เอาช้างมาตระเวนหาเงิน..
ฉะนั้น แล้วหมดหน้าตัดอ้อย Mr.Tommy ล้างรถตัดให้สะอาด ลงสีให้แจ่มรูปการ์ตูน ขนไปจอดกลางงานตลาดนัด เก็บตังค์เด็กคนละ 5 บาทให้มาปีนเล่น  จากบ่ายถึงมืดคงพอได้ค่าโซดาอยู่หรอกกระมัง
5. รัฐฯสนับสนุนเงินกู้ซื้อรถตัด ปลอดดอก 10 ปี ให้ชาวไร่ ...55555.. บ้าสุดๆ..
.. ทำเป็นเล่นไป เป็นไปได้นะเออ.. โดยการเลือกพรรคการเมืองที่รู้ใจชาวไร่ให้จัดตั้งรัฐบาล  รัฐฯจะหาทางตั้งงบฉุกเฉินไว้ล่วงหน้าเผื่อวิกฤตทางการเกษตร  จากนั้นรัฐฯจะสนับสนุนโครงการ"เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้เครื่อง จักร" ให้ชาวไร่กู้เงินซื้อรถตัด ผ่านกองทุนอ้อยซึ่งไม่มีเงิน จึงส่งต่อให้ธนาคารพานิชย์เป็นผู้ปล่อยกู้โดยมีรัฐบาลค้ำประกัน.. ค้ำประกันโดยเอางบฉุกเฉินนั้นแหละมาต่อรอง
กรณีเกิดวิกฤตจนชาวไร่ไม่มี เงินคืนค่ารถตัด.. ก็ไม่ต้องคืน ก็..มันเป็นวิกฤตนี่คุณ ต้องช่วยๆกัน  ชาวไร่ก็สามารถเอาเงินค่ารถตัดไปจ่ายให้ลูกเรียนโรงเรียนเอกชนค่าเทอมแพงได้ จะได้จบไปเป็นเจ้าคนนายคน  ส่วนลูกคนงานก็ปล่อยให้โตเป็นคนงานตัดอ้อยต่อไปเพราะงบสร้างโรงเรียนใกล้ บ้านถูกแปรเป็นงบฉุกเฉินหมดแล้ว..
  ประชดครับ ประชด ไม่ใช่สนับสนุน  โธ่.. ทั่นก็
6. ใครใช้รถตัดรุ่นนี้ รัฐฯต้องช่วยค่าน้ำมัน 30%(เรียนแบบประมง).. ยอมให้ชักค่าต๋งมั้ยล่ะครับ  แบบว่าหักเป็นอ้อยไปสักหลายๆ เปอร์เซ็นต์เพื่อให้รัฐฯเอาไปผลิตเอทานอลออกขายในตลาดทั่วไปแบบไม่ย้อนกลับ มาคืนชาวไร่อีก
7. บริษัท ที่ผลิต ต้อง เป็น คนไทย และรัฐฯ สนับสนุนเงินกู้..  (บ้า)
.. อยู่แล้วล่ะครับ  ระเบียบพัสดุของทางราชการกำหนดให้จ้างให้ซื้อจากบริษัทคนไทยก่อน ส่วนบริษัทที่ว่านั้นจะเป็นนอมินีของใครหรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง
8. โรงงานฯต้องให้เข้าเทอ้อยภายใน 3 ชม. และไม่กระแดะ หักคิว..(ตลกสุดๆ)
.. ข้อนี้ไม่เข้าใจครับ  จะกรุณาขยายความได้หรือไม่..หมายความว่าถ้าอธิบายแล้วจะยังส่งอ้อยได้เป็นปกติหรือไม่ 55555
9. ทางหลวง ต้องไม่ทำนา ช่วง เปิดหีบ ... อ้าว เละแล้ว...คร้าบนายtommy
.. กลับเข้าทางก่อนครับ เรื่องรถตัดอ้อยในความฝันไม่เกี่ยวกะทางหลวงครับพี่ครับ  เว้นแต่พี่กำลังวิ่งเพื่อย้ายแปลงอยู่บนทางหลวง
10. เฮ้อ... ไม่เอาแล้ว นอกเรื่องไปเรื่อย... จบครับ..
.. ไม่นอกเรื่องเลยครับ  ในเรื่องเลยล่ะ  แค่เกินกรอบความรู้ของผมและอาจจะเป็นประโยชน์กับอีกหลายๆท่านที่ได้อ่าน  ยังไงก็ช่วยกันเล่าอะไร ๆที่นอกตำรากันอีกนะครับ  ได้ความรู้ดีมั่กๆ
.. แถมยังหาเรื่องมาให้ผมพลอยเสียวไปด้วยอย่างมั่กๆ

เครื่องยนต์ใหม่ครับใช้ NGV 100% ผลิตมาจากเมืองจีน ยี่ห้อ เซี่ยงไฮ้ ดีเชล 260 แรงม้า  ราคาไม่ทราบ แต่ถ้าจับยัดลงในรถตัดอ้อยได้ ก็ทำงานได้  เพียงแต่ปัญหาของทางอุดรคือมีปั้มแกส NGV ปั้มเดียว คงไม่สะดวกที่จะนำระบบนี้มาใช้งานได้จริง  จึงขอให้ถือว่าเป็นการอ่านเอาความรู้ไปพลางก่อนละกัน
ระหว่างนี้ผมกำลังหาข้อมูลกับศิษย์รุ่นพี่ รุ่นน้อง เกี่ยวกับวิธีแปลงเครื่องดีเซลให้ใช้แกส LPG ได้  เบื้องต้นทราบว่าทุกเครื่องที่ดัดแปลงแล้ว เจออาการลูกสูบแตกทุกเครื่อง กำลังวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขอยู่ครับ  มีอะไรคืบหน้าจะเอามาบอกเล่าให้ทราบ ครับผม




1 comment:

  1. อยากได้ซักคันเอาค่ายไหนดีแนะนำหน่อยจ้าจะเข้าฤดูตัดแล้ว

    ReplyDelete