Saturday, May 18, 2013

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว
 
    การเก็บเกี่ยวอ้อยให้มีคุณภาพต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของอ้อย พันธุ์อ้อย แรงงานตัดอ้อย ลำดับการตัดที่ได้รับจากทางโรงงาน การตัดอ้อยให้ได้คุณภาพสูงมีข้อพิจารณาดังนี้
เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือนหลังปลูก โดยสังเกตจากยอดอ้อยจะมีข้อถี่กว่าปกติ ใบสีเขียวซีด มีค่าบริกซ์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 22 องศาบริกซ์ โดยอ้อยทุกพันธุ์ควรที่จะตัดอ้อยที่ปลูกปลายฝนก่อน ตามด้วยอ้อยตอ และอ้อยต้นฝน ยกเว้นพันธุ์ เค 88-92 ที่ช่วงเวลาการตัดที่เหมาะสมคือ เดือน กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม
มีการวางแผนการตัดอ้อยและจำนวนของคนตัดอ้อย ให้สัมพันธ์กับลำดับการตัดอ้อยที่ได้รับจากทางโรงงาน จะทำให้ไม่สูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย เนื่องจากการตัดอ้อยค้างไร่ไว้เป็นเวลานาน
ควรตัดอ้อยสด ไม่ควรเผาอ้อยก่อนตัด เนื่องจากอ้อยไฟไหม้ จะมีการสูญเสียน้ำหนัก และรายได้ มากกว่าอ้อยตัดสด นอกจากนั้นอ้อยไฟไหม้จะถูกหักราคาตันละ 20 บาท อ้อยไฟไหม้ยอดยาวตัดราคาตันละ 40 บาท เนื่องจากอ้อยไฟไหม้จะทำให้การทำน้ำตาลยากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การหีบอ้อยได้ช้าลง
ควรมีการควบคุมให้ตัดอ้อยชิดดิน ซึ่งจะทำให้ลดการสูญเสียของน้ำหนักอ้อยที่เหลือค้างไร่ได้ 0.3 - 2 ตัน/ไร่ และทำให้สูญเสียรายได้ 186 - 1,240 บาท/ไร่
ควรตัดอ้อยให้สะอาดและไม่ควรนำสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น ยอดอ้อย กาบ และใบอ้อย เข้า
โรงงานเพราะจะทำให้ค่าซีซีเอส และรายได้ลดลง นอกจากนั้นอ้อยยอดยาวจะถูกตัดราคา
ตันละ 20 บาท
 
 
การดูแลรักษาอ้อยตอ
 
ควรมีการไว้ใบอ้อยคลุมดิน เพื่อเก็บรักษาความชื้นไว้ในดิน ทำให้อ้อยตองอกดี ช่วยป้องกันการงอกของวัชพืช ในกรณีที่อ้อยตองอกไม่สม่ำเสมอ โดยระยะห่างระหว่างกออ้อยมากกว่า 0.5 เมตร หรือไม่งอกเป็นบริเวณพื้นที่กว้าง ควรทำการปลูกซ่อมเมื่อดินมีความชื้นโดยใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่มีตาสมบูรณ์ หรือในกรณีที่ขาดแคลนพันธุ์อ้อยอาจใช้วิธีการปลูกอ้อยถุง แล้วนำไปปลูกซ่อม

การเตรียมดิน

การเตรียมดิน


      มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแปลงปลูกที่ดีให้กับอ้อย เพราะการปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3 ปี หรือมากกว่า เนื่องจากอ้อยจะแตกกอหลังจากตัดเก็บเกี่ยว ดังนั้นการเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และความสามารถในการไว้ตอของอ้อย การเตรียมดินที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้


ถ้ามีชั้นดินดานหรือมีการอัดตัวแน่นหรือปลูกอ้อยมานาน ควรมีการระเบิดดินดาน โดยไถระเบิดดินดานให้ลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บน้ำของดินและรากสามารถเจริญหยั่งลึกนำน้ำมาใช้ได้

ไถบุกเบิกและพรวนด้วยผาน 3 และ 7 เมื่อดินมีความชื้นเหมาะสม สังเกตได้โดยถ้าเป็นดินทรายให้ใช้มือกำดินให้แน่นแล้วคลายมือออก ถ้าดินจับตัวเป็นก้อนแสดงว่ามีความชื้นเหมาะสม ถ้าเป็นดินเหนียวไม่ควรไถเมื่อดินชื้นหรือแข็งจนเกินไป ควรไถดินให้ลึก 30-50 เซนติเมตร เพื่อให้รากหยั่งลึกและสามารถหาน้ำได้ดี

ในกรณีปลูกอ้อยปลายฝน (ดินทราย) ควรไถเปิดหน้าดินด้วยผาล 3 หรือ 7 เพื่อรับ
น้ำฝนในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม จากนั้นทำการพรวนและชักร่องปลูกทันทีในเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

ในกรณีปลูกอ้อยชลประทาน (ดินเหนียว) ควรเตรียมดินให้ละเอียดและเสร็จภายในครั้งเดียว (ไถดะ ไถแปร ไถพรวน ชักร่อง) เพื่อลดการสูญเสียความชื้น

ในกรณีปลูกอ้อยต้นฝน ควรเตรียมดินและชักร่องอ้อยให้เสร็จก่อนเดือนมีนาคม และปลูกอ้อยทันทีเมื่อมีฝนแรกตก

ระยะปลูกและวิธีปลูก



ทำการยกร่อง ใช้ระยะระหว่างร่อง 0.8-1.5 เมตร โดยระยะร่องที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับวิธีการปฏิบัติหรือการดูแลรักษาของเกษตรกร หากใช้แรงงานคนหรือแรงงานสัตว์ในการดูแลรักษา ควรมีระยะ 0.8 - 1.0 เมตร และระยะ 1.3 - 1.5 เมตร สำหรับการใช้เครื่องจักรกลขนาดกลางถึงใหญ่

ในการปลูกอ้อยต้นฝน เมื่อวางท่อนพันธุ์แล้วควรทำการกลบดินให้สม่ำเสมอหนา 3-5 เซนติเมตร ส่วนอ้อยปลายฝน ควรกลบดินให้แน่นและหนา 10-15 เซนติเมตร

การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก เครื่องจะเปิดร่องใส่ปุ๋ย วางท่อนพันธุ์ และกลบ

การดูแลรักษาอื่นๆ


การให้ปุ๋ย สูตรปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมขึ้นกับผลการวิเคราะห์ดิน โดยการใส่ปุ๋ยครั้งแรกควรใส่พร้อมกับการปลูกอ้อย หรือหลังตัดแต่งตออ้อยไม่เกิน 15 วัน ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ควรใส่ห่างจากการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ประมาณ 3-4 เดือน ในการใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้น โดยโรยข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 30-50 เซนติเมตร และต้อง
ฝังกลบปุ๋ย ยกเว้นการใส่ปุ๋ยรองพื้น

การให้น้ำ สำหรับพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ ควรให้น้ำตามร่องก่อนทำการปลูกอ้อย โดยให้น้ำประมาณเศษสามส่วนสี่ของร่อง และไม่ต้องระบายน้ำออก มีการให้น้ำเสริมอย่างน้อย 3 ครั้ง คือในช่วงปลูก อ้อยแตกกอ และย่างปล้อง เพื่อทำให้อ้อยมีการเจริญเติบโตอย่าง
ต่อเนื่อง

การกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน หรือเครื่องจักรกล 1-2 ครั้ง ในช่วงอ้อยอายุ 1-2 เดือน หรือก่อนวัชพืชออกดอก ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชไม่มีประสิทธิภาพ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืช เช่น อะทราซีน เมทริบูซีน ไดยูรอน พ่นคลุมดินหลังปลูกอ้อย (ก่อนอ้อยและวัชพืชงอก) พ่นในขณะที่ดินมีความชื้นสูง ส่วนอามีทรีน พ่นหลังปลูกอ้อย ก่อนอ้อยและวัชพืชงอกหรืองอกหลังปลูกเมื่อวัชพืชมี 4-5 ใบ เฮกซาซิโนน หรือ ฮิมาซาพิค พ่นคลุมดินหลังปลูกอ้อย ก่อนอ้อยงอกและสามารถฉีดพ่นได้ถึงแม้ว่าดินมีความชื้นต่ำ

พันธุ์ อ้อย


พันธุ์ อ้อย
   อ้อยเป็นพืชที่สะสมน้ำหนักและความหวานได้สูงเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น คือระยะก่อนหรือหลังออกดอกเช่นเดียวกับพืชทั่วไป หลังจากนั้นความหวานและน้ำหนักจะลดลง ดังนั้นชาวไร่อ้อยจึงควรปลูกอ้อยซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวต่างกัน ซึ่งมี 3 ประเภทได้แก่
 
1. อ้อยพันธุ์เบา คืออ้อยที่มีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 8-10 เดือน ผลผลิตต่อพื้นที่และคุณภาพจึงสูงสุด เหมาะสำหรับปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวในต้นฤดูหีบอ้อย เช่น อู่ทอง 3 เค 90-77 เป็นต้น
2. อ้อยพันธุ์กลาง คืออ้อยที่มีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 11-12 เดือน ผลผลิต และคุณภาพจึงสูงสุด เหมาะสำหรับปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวระหว่างกลางฤดูหีบอ้อยเช่น เค 84-200 เป็นต้น
3. อ้อยพันธุ์หนัก คืออ้อยที่มีอายุการเก็บเกี่ยวมากกว่า 12 เดือน ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกเพื่อ เก็บเกี่ยวช่วงท้ายฤดูการหีบอ้อย เช่น อู่ทอง 1, เค 88-92 เป็นต้น
การเตรียมท่อนพันธุ์
    ท่อนพันธุ์อ้อยที่ดีและสมบรูณ์จะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของอ้อยสูง ซึ่งมีผลโดยตรงกับผลผลิตอ้อย ท่อนพันธุ์อ้อยที่นำมาปลูก จึงควรมาจากแปลงที่มีการดูแลรักษาดี มีความสม่ำเสมอ ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง มีอายุเหมาะสม 8-10 เดือน เป็นต้น ปัจจุบันท่อนพันธุ์อ้อยมีราคาแพง ดังนั้นเกษตรกรจึงควรทำแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพันธุ์อ้อย อันเป็นการวางแผนการปลูกอ้อยที่ถูกต้อง และลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลง การทำแปลงพันธุ์อ้อยมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยจากแหล่งที่ปราศจากโรค เช่น โรคใบขาว เหี่ยวเน่าแดง แส้ดำ กอตะไคร้
แปลงพันธุ์ที่ปลูกต้นฝน ให้ตัดอ้อยที่มีอายุ 8 - 10 เดือน ส่วนแปลงปลูกปลายฤดูฝนให้ตัดอ้อยพันธุ์ที่มีอายุ 10 - 11 เดือน
นำท่อนพันธุ์ไปชุบน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง หรือ 52 องศาเซลเซียส ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบด่าง โรคตอแคระแกร็น โรคกลิ่นสัปปะรด ลดการเป็นโรคใบขาว และโรคกอตะไคร้
สำรวจแปลงพันธุ์อ้อยอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีพันธุ์ปน หรือมีต้นที่เป็นโรคให้ทำการขุดอ้อยทั้งกอเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ถ้าพบการทำลายของหนอนกอลายจุดใหญ่ ให้ตัดเฉพาะลำอ้อยที่ถูกทำลายแล้วทำลายหนอน                                          

การปลูกอ้อย ในบ้านเรา


การปลูกอ้อย ในบ้านเรา
มีสองรูปแบบคือ


1.ใช้แรงงานคน รายท่อนพันธุ์ใส่ร่องที่ได้ใช้รถแทรกเตอร์เปิดร่องไว้ แล้วจึงเดินใช้จอบสับท่อนพันธุ์ ออกเป็นท่อนๆ
และ

2.ใช้เครื่องปลูกอ้อยติดท้ายรถแทรกเตอร์
โดยนำลำอ้อยบรรทุกใส่เครื่องปลูก  กระบวนการทำงานดังรูป ประกอบ
ลองเปรียบเทียบดูนะครับ .................



ปลูกแบบไทยก็ดี เพราะกระจายรายได้(คนรับจ้าง) สร้างความสามัคคี(คนตัดอ้อยได้คุยกันสนุกสนาน) ไม่มีมลพิษ(ใช้แรงคน) ผลผลิตไม่ต้องมาก(ประหยัด)


ทุกวิธีการ มีข้อดี แต่ก็มีข้อจำกัด อยู่ในตัวเอง ครับ
ผมส่งเสริมการลงเเขก เอาแรงกัน แต่ข้อจำกัด คือ
ถึงเวลา เเดดร้อน คนงานหายาก
มันเดินหน้าต่อไม่ได้ครับ  

การปลูกอ้อยแบบ SSI  ถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าอ้อย เเละการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องใช้ทั้งท่อนเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลดพื้นที่ เพิ่มรายจ่าย...

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่อ้อยต้องการ
 
          อ้อยเป็นพืชเขตร้อน ความยาวของช่วงวันที่เหมาะสมประมาณ 11.5-12.5 ชั่วโมง และอุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสมตลอดฤดูการปลูกประมาณ 26-30 องศาเซลเซียส สามารถปลูกในดินทรายจนถึงดินเหนียวจัด แต่ดินที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อยคือดินร่วนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ตั้งแต่ 4.5 ถึง 8.5 และมีความลึกของหน้าดินพอสมควรและระบายน้ำหรืออากาศได้ดี จนถึงปานกลาง
 
ฤดูกาลปลูกอ้อย
 
    ในประเทศไทยมีฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตก
ของฝน และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันดังนี้
1. อ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ปลูกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม โดยอาศัยความชื้นที่เก็บไว้ในดินตลอดช่วงฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ในช่วงที่ไม่มีฝนตกจนกระทั่งต้นปี ถัดไปจะมีฝนตกบ้าง ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทรายหรือดินทราย
2. อ้อยชลประทาน อ้อยน้ำราด หรืออ้อยน้ำเสริม ปลูกระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ วิธีการปลูกอ้อยน้ำราดเป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากการให้น้ำเสริม เพื่อช่วยให้อ้อยสามารถงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ สภาพดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว มักอยู่ในเขตชลประทาน หรือมีแหล่งน้ำพอสมควร
3. อ้อยต้นฝนเร็ว ปลูกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากฝนช่วงแรกที่ตก เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ ดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว โดยต้องมีการเตรียมดินและชักร่องรอฝน ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการงอกของอ้อยสังเกตได้จากร่องอ้อยจะมีน้ำขัง
4. อ้อยต้นฝน ปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยอาศัยน้ำฝนในการงอกและเจริญเติบโต ดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว                                        



การปลูกอ้อย ด้วยวิธี SSI + ดูงานโครงการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่


เป็นทางเลือกในการเพิ่มผลผลิต อ้อย และลดการสูญเสียของท่อนพันธุ์ลงได้

หลังจากผมลงบันทึกแรก

เรื่อง ตามติดชีวิตเกษตรกร ไปในตอนแรก

เป็นเรื่องของ "การจัดระเบียบการปลูกข้าว"

ไปแล้ว ก็เป็นตอนที่สอง มาว่ากันด้วย "อ้อย"

ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ



เป็นแนวทางศึกษาเเบบเปรียบเทียบในการหาวิธีการเพาะปลูกในแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่(Yield) การลดต้นทุนการผลิต เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม และรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย


เรื่องข้าว ก็เป็นวิธีการเเบบ SRI ติดตามข้อมูลได้ที่

http://info.worldbank.org/etools/docs/library/245848/overview.html

เรื่องอ้อย ก็เป็นวิธีการเเบบ SSI ติดตามข้อมูลได้ที่

http://assets.panda.org/downloads/ssi_manual.pdf 

สรุปย่อ

เป็นแนวทางปลูกอ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ส่งเสริมในอินเดีย

ลดการใช้ท่อนพันธุ์ลง ใช้เฉพาะตาอ้อย

ลำอ้อยที่เหลือ ก็เอาไปขายได้

แตกต่างจากวิธีการเพาะปลูกเเบบเดิม ที่ใช้

อ้อยทั้งลำ ใส่ลงในเครื่องปลูก และผ่านชุดตัดท่อน และวางลงในดิน (มีเปอร์เซนต์ในการสูญเสียมากกว่า อาจตาย หรือไม่งอก)

วิธีนี้เอาตาอ้อย มาอนุบาล ก่อนลงเเปลงปลูก 25-35 วันในกะบะหลุม แล้วบ่มให้รากงอก ก่อนลงเเปลงเเผ่

ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพการปลูกได้มากขึ้น (จำนวนต้นต่อไร่)

 

อ้อย มีพื้นที่ว่าง รับแสง ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร (5 ฟุต) และปลูกเเบบสลับฟันปลา เพื่อไม่ให้อ้อยเบียดเเย่งเเสงกัน อ้อยมีการแตกลำ ได้มากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต ต่อไร่

 

พัฒนาการคล้าย การทำนาดำ ด้วยรถ คือมีการอนุบาลกล้า ก่อนลงเเปลงปลูก

ก่อนการใช้รถปักดำ ครับ

ข้อจำกัดด้วยวิธีนี้ ยังไม่สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ (ปลูกในเเปลงใหญ่)  ต้องใช้เครื่องปลูกต้นอ้อย อนุบาลมาต่อยอด สามารถทดลองปลูกในพื้น ก่อนได้ครับ สำหรับชาวไร่อ้อย ที่มีพื้นที่น้อย ครับ


ตามไปชม...> อ้อยในประเทศไทย

โครงการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่

นับเป็นความภูมิใจของกลุ่มวังขนาย และมุ่งมั่นที่จะนำความสำเร็จนี้ขยายสู่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดได้ อีกทั้งยังรองรับแผนการขยายอ้อยพันธุ์ดีเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกขยายพันธุ์ในรูปแบบอ้อยอินทรีย์ ซึ่งเป็นอ้อยธรรมชาติบริสุทธิ์ที่นำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ที่แท้จริงได้ในที่สุด

ที่มา:

http://www.wangkanai.co.th/new/activity.php?Id=109

http://wangkanai.co.th/new/activity.php?Id=108



ในอนาคตคาดว่า น่าจะมีรถสำหรับปลูกด้วยวิธีการดังกล่าวได้

ตาม concept เดิมครับ

พันธุ์อ้อยยอดนิยม


พันธุ์อ้อย กำแพงแสน 98-024

อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 98-024 (Kps 98-024)
  • พ่อ x แม่ กพส 93-1-25 x กพส 93-10-10
  • ทรงกอ กว้าง
  • สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ดินเหนียว เขตน้ำฝน และเขตชลประทาน
  • ผลผลิตอ้อย 14-17 ตันต่อไร่
  • ความหวาน 11-13 ซีซีเอส
  • อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
  • ความต้านทานโรค ยังไม่พบการเกิดโรค
  • การเจริญเติบโต ปานกลาง
  • การไว้ตอ ดี

พันธ์อ้อย กำแพงแสน 98-005

อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 98-005 (Kps 98-005)
  • พ่อ x แม่ กพส 93-1-25 x กพส 93-10-10
  • ทรงกอ กว้าง
  • สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตชลประทาน
  • ผลผลิตอ้อย 16-18 ตันต่อไร่
  • ความหวาน 12-13 ซีซีเอส
  • อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
  • ความต้านทานโรค ต้านทานโรคแส้ดำปานกลาง
  • การเจริญเติบโต ช้าในช่วงแรก
  • การไว้ตอ ดี




พันธุ์อ้อยกำแพงแสน 94-13

พันธุ์แนะนำ อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 94-13 (Kps 94-13)
  • พ่อ x แม่ กพส 89-20 open
  • ทรงกอ กว้าง
  • สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนทราย เขตน้ำฝน
  • ผลผลิตอ้อย17-18 ตันต่อไร่
  • ความหวาน 12-14 ซี.ซี.เอส
  • อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
  • ความต้านทานโรค ต้านทานปานกลางต่อโรคแส้ดำ
  • การเจริญเติบโต เร็ว
  • การไว้ตอ ดี

รณรงค์เลิกเผาไร่อ้อยก่อนตัด

รณรงค์เลิกเผาไร่อ้อยก่อนตัด

เผาไร่อ้อย

กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงปริมาณอ้อยไฟไหม้ส่งโรงงานที่มีแนวโน้มสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี ว่าในฤดูการผลิตปี 2551/52 ที่ผ่านมา มีอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงานน้ำตาลทั้งประเทศสูงถึงร้อยละ 64 ความหวานเฉลี่ย 12.28 CCS. โดยในภาคตะวันออกมีอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงานน้ำตาลสูงที่สุด มากถึงร้อยละ 75 และความหวานเฉลี่ย 11.88 CCS. ซึ่งเป็นระดับความหวานต่ำที่สุดของประเทศ
อย่างไรก็ตามการเผาอ้อย ก่อนตัดเพื่อนำเข้าโรงงานมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการตัดอ้อยเผาเป็นที่นิยมของแรงงานตัดอ้อย เพราะมีรายได้มากกว่าการตัดอ้อยสด ซึ่งเป็นผลจากค่าจ้างตัดอ้อยคิดตามน้ำหนัก และในแต่ละวันการตัดอ้อยเผาจะตัดได้ปริมาณมากกว่า
จากปัญหาดังกล่าว หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการขาดแคลน แรงงานในอนาคต และดำเนินมาตรการเร่งด่วน สร้างแรงจูงใจและรณรงค์ลดการเผาอ้อยอย่างจริงจัง โดยชี้แจงเกษตรกรชาวไร่อ้อยและแรงงานเก็บเกี่ยว ให้เข้าใจถึงผลกระทบจากการเผาอ้อย เนื่องจากการเผาอ้อยจะทำให้สูญเสียน้ำหนักและคุณภาพความหวาน ซึ่งหากตัดทิ้งไว้ในไร่นาน ๆ คุณภาพความหวานจะยิ่งลดต่ำลง และยังถูกตัดราคาตามประกาศของโรงงานและคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รวมทั้งมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนมาก เพราะอ้อยเผาจะมีน้ำตาลเยิ้มออกมาที่ลำอ้อย หากตัดวางสัมผัสกับพื้นดินก็จะมีเศษหิน ดิน ทราย ปนเข้ามา และเมื่อลำเลียงขึ้นรถเพื่อขนส่งจะทำให้สิ่งสกปรกติดปนเปื้อนเข้ามามากขึ้น
นอก จากนี้ การเผาอ้อย จะทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงและทำให้โครงสร้างของดินไม่เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของอ้อย ทำให้เสียค่าใช้จ่ายดูแลรักษาเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีเศษซากอ้อยต่าง ๆ คลุมดิน เกิดวัชพืชขึ้นง่าย โตเร็ว ส่งผลต่อต้นทุนการกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้นตาม อีกทั้งการเผาจะทำให้ตออ้อยถูกทำลาย อ้อยงอกช้ากว่าปกติหรืออาจจะไม่งอกเลย การเจริญเติบโตช้า ไว้ตอไม่ได้ และไม่ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้ง และยังทำลายแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ-ตัวเบียน ที่ช่วยควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูถูกทำลาย เกิดการระบาดของแมลงศัตรูอ้อยได้ง่าย เช่น หนอนกอ ตลอดจนอาจส่งผลต่อตลาดน้ำตาล เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วอาจจะนำมาเป็นข้ออ้างงดซื้อน้ำตาลจากประเทศไทย ได้ เนื่องจากการเผาอ้อยจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายร่วมกันให้ข้อมูลแก่เกษตรกร ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาคุณภาพของอ้อยแล้ว ยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมตอบรับกระแส ลดมลพิษ ลดโลกร้อนที่ทุกคน ทุกชาติกำลังตื่นตัวกันอยู่ในขณะนี้อีกด้วย.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 8 มกราคม 2553

วัชพืชและการควบคุมกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย


วัชพืชและการควบคุมกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย

ไร่อ้อย การควบคุมวัชพืช

ชนิดของวัชพืช

  1. วัชพืชใบกว้าง เป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่  ลักษณะแผ่นใบกว้างเมื่อเทียบกับความยาวใบ เส้นใบจัดเรียงเป็นร่างแหหรือตาข่าย การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ด เช่น ผักเบี้ยหิน โคกกระสุน ผักยาง สาบเสือ ฯลฯ
  2. วัชพืชใบแคบ เป็นวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะแผ่นใบแคบเมื่อเทียบกับความยาวใบเส้นใบจัดเรียงลักษณะขนานกับด้านใบ การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดรากและลำต้น ฯลฯ วัชพืชพวกนี้มี 2 กลุ่ม คือ
    1. วงค์หญ้า จะมีลำต้นกลม ข้อปล้องชัดเจน มีจุดเจริญอยู่ใต้ดิน และตามข้อ เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก ฯลฯ
    2. วงค์กก จะมีลำต้นส่วนใหญ่เป็นเหลี่ยม แต่ไม่มีข้อปล้องเหมือนกับวัชพืชอื่น เช่น กกทราย แห้วหมู ฯลฯ

ความรุนแรงของวัชพืช
วัชพืชแต่ละชนิดจะมีความรุนแรงต่ออ้อยแตกต่างกัน เช่น วัชพืชใบแคบจะมีความรุนแรงมากกว่าวัชพืชใบกว้าง วัชพืชอายุยาว (หลายฤดู) จะมีความรุนแรงกว่าวัชพืชอายุสั้น (ฤดูเดียว) ความหนาแน่นวัชพืชมากจะมีความรุนแรงต่ออ้อยมากตามไปด้วย
การแข่งขันระหว่างอ้อยและวัชพืช
ถึงแม้ประเทศไทยจะผลิตน้ำตาลส่งออกเป็นสำคัญต้นๆ ของโลก แต่ถ้าพิจารณาในด้านผลผลิตอ้อยต่อไร่ ยังถือว่าต่ำกว่าต่างประเทศมาก สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตอ้อย คือ วัชพืชซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยการแย่งธาตุอาหาร ความชื้น แสงแดด และเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงหลายชนิด นอกจากนี้การกำจัดวัชพืชของชาวไร่ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสม  เช่น มักกำจัดวัชพืชเมื่อวัชพืชงอกแล้ว และมีปริมาณมาก หรือ หลังวัชพืชออกดอกหรือเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชไม่เหมาะสม ฯลฯ
อ้อยเป็นพืชปลูกที่ต้องการช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 3 – 4 เดือน ดังผลงานวิจัยของ เกียวพันธ์ สุวรรณรักษ์และคณะ พบว่า
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  1 – 4 เดือน  ผลผลิต  16.2 ตัน/ไร่
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  2 – 4 เดือน  ผลผลิต  12.1 ตัน/ไร่  25.3%
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  3 – 4 เดือน  ผลผลิต  9.5 ตัน/ไร่  41.1%
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  4 เดือน  ผลผลิต  5.7 ตัน/ไร่ 64.8%
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  5 เดือน  ผลผลิต  2.5 ตัน/ไร่  84.6%
  • ไม่กำจัดวัชพืช ผลผลิต  1.9 ตัน/ไร่  88.3%
ดังนั้น ชาวไร่จำเป็นต้องควบคุมวัชพืช ให้ทันเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่
การกำัจัดวัชพืชในไร่อ้อย
หมายถึง  วิธีการจัดการลดการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างอ้อยกับวัชพืชซึ่งมีหลายวิธีการ  เช่น การใช้การเขตกรรม  การใช้เครื่องมือเครื่องจักรและการใช้สารเคมี วิธีการจัดการวัชพืชในไร่อ้อยจะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องผสมผสานวิธี การให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากต้นทุนและผลกำไรเป็นหลัก
หลักสำคัญการกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย
  1. ต้องเตรียมดินดี จะต้องให้เศษวัชพืชเก่าตายให้หมด
  2. ต้องให้อ้อยมีช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงย่าปล้อง)
  3. อ้อยที่ปลูกต้องงอกดี  และสม่ำเสมอ
วิธีการกำจัดวัชพืชที่นิยมมี 3 วิธี
  1. การกำจัดวัชพืชด้วยการเขตกรรม
  2. การกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือเครื่องจักร
  3. การกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี
การกำจัดวัชพืชด้วยเขตกรรม
การกำจัดวัชพืชด้วยเขตกรรมถือว่าเป็นการจัดการวัชพืชเชิงอนุรักษ์  โดยอาศัยประสบการณ์หลายด้าน ทั้งในด้านพืช  สภาพแวดล้อมและการจัดการ เพื่อลดความรุนแรงของวัชพืชเท่านั้น ถึงแม้การควบคุมวัชพืชไม่ดีมากเหมือนวิธีอื่นๆ แต่การลงทุนน้อยมากๆ เพราะอาศัยประสบการณ์ที่เรียกว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน การกำจัดวัชพืชด้วยเขตกรรมให้มีประสิทธิภาพต้องผสมผสานกับวิธีอื่นๆ เช่น
  1. ฤดูปลูก เช่น การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
  2. ระยะปลูก เช่น ระยะแคบ 80 ซม. ฯลฯ
  3. พันธุ์อ้อย (งอกเร็ว แตกกอ ทรงกอกว้างใบใหญ่)
  4. วัสดุคลุมดิน เช่น ใบอ้อย ฯลฯ
  5. การปลูกพืชแซม (ต้องเก็บเกี่ยวก่อนอ้อยแตกกอ)
การกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือเครื่องจักร
เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก แต่วิธีการนี้จะต้องใช้เงินทุนครั้งแรกสูงสุดกับเครื่องจักร เครื่องมือ แต่เมื่อเทียบระยะเวลาที่ใช้คนและปริมาณงานที่ได้แล้วถือว่าเป็นการกำจัด วัชพืชที่มีต้นทุนต่ำ วิธีการนี้เหมาะสมกับไร่อ้อยขนาดใหญ่ และมีปัญหาด้านแรงงานด้วย
ประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือขึ้นอยู่กับ
  1. ชนิดดินและการเตรียมดิน
  2. ชนิดความหนาแน่นและขนาดวัชพืช
  3. ฤดูกาลและช่วงเวลาทำงาน
  4. ทักษะและประสบการณ์ทำงาน
เครื่องมือในการกำจัดวัชพืช แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
  1. เครื่องต้นคำสั่ง (แทรกเตอร์) จะบ่งถึงปริมาณงานที่ได้หรือความเร็วในการทำงานมีหลายขนาด เช่น แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
  2. ชนิดเครื่องมือเกษตร การใช้เครื่องมือจะขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และปริมาณวัชพืช มี 3 กลุ่มใหญ่ๆ
    1. คราด เช่น คราดสปริง คราดขาแข็ง คราดลูกหญ้า
    2. พรวน เช่น พรวน 6จาน พรวน 12จาน
    3. จอบหมุน
การกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีในไร่อ้อย
  1. สารคุมวัชพืช ฉีดหลังปลูก หลังตัดแต่งตอพรวนดินใส่ปุ๋ยก่อนวัชพืช
    1. อิมาซาฟิค+เพนดิเมทาสิน (คาเดร+สตอมฟ์) สามารถฉีดพ่นได้แม้ดินชื้นน้อย ควบคุมได้ทั้งใบแคบ ใบกว้าง และแห้วหมู
      ข้อดี หน้าดินถูกรบกวน ยายังคงประสิทธิภาพดีกว่าสารชนิดอื่น
      ข้อเสีย คุมวัชพืชตระกูลถั่วไม่ได้ อัตรา 50 ซีซี+400 ซีซี/1 ไร่
    2. อาทราซีน ไดยูรอน เมตริบูซีน คุมได้ทั้งใบแคบและใบกว้าง มีทั้งเม็ดและผง ขณะฉีดดินต้องมีความชื้น ถ้าดินแห้งจะไม่ได้ผล หลังฉีดห้ามเข้าไปรบกวนหน้าดิน อัตรา 125 กรัม/1 ไร่
  2. สารคุมและฆ่าวัชพืช  ฉีดหลังปลูกหลังจากแต่งตอพรวนดินใส่ปุ๋ยก่อนวัชพืชงอกหรือหลังวัชพืช
    1. สารที่มีชื่อการค้าลงท้ายด้วย คอมบี พวกนี้จะฉีดพ่นดินต้องมีความชื้น อัตราตามฉลาก
    2. เฮกซาซิโนน+ไดยูรอน (เวลปาร์-เด) ฉีดพ่นในดินชื้นน้อยห้ามพ่นทับยอดอ้อย พื้นที่ต่ำน้ำขังหรือสภาพแวดล้อมเป็นนข้าว ไม่ควรใช้อัตรา 375-500 กรัม/ไร่
    3. พาราควอท+อาทราซีน หรือพาราควอท+เมตริบูซีน ฉีดทับยอดอ้อยได้ในที่ที่อ้อยเริ่มงอกใบยังไม่คลี่  คือ มี  5-4  ใบ พาราควอทจะฆ่าสารคุมจะได้อีก 2-3 เดือน อัตราพาราควอท 50 ซีซี+อาทราซีน 400–600 กรัม/1 ไร่
  3. สารฆ่าวัชพืช
    1. สัมผัสตาย ฆ่าสีเขียวทุกชนิด เช่น พาราควอท อัตรา 300-500 ซีซี/ไร่
    2. ดูดซึม จะดูดซึมเข้าทางใบและทางรากจะทำให้วัชพืชตายถึงรากถึงเหง้า
    • ไกลโฟเซท จะดูดซึมทางใบถ้าดินชื้นจะดูดซึมทางรากทำให้วัชพืชถึงรากถึงโคน แต่จะใช้เมื่ออ้อยย่างปล้องแล้วถ้าใช้กับอ้อยเล็กจะกระทบกับอ้อย อัตรา 500–750  ซีซี/ไร่
    • อะมีทรีน มีทั้งเม็ดและผงฉีดพ่นเมื่อวัชพืชงอกมีใบ 3-4 ใบหรือไม่เกิน 15ซม. สามารถฉีดทับอ้อยได้โดยไม่ชงักยกเว้น พันธุ์ฟิลิปปินส์ต้องฉีดขณะดินมีความชื้น
    • ทูโพดี ใช้กำจัดเถาวัลย์เชือกเถาและใบกว้างอื่นๆ ในไร่อ้อยและปลอดภัยต่อต้นอ้อย
    • บาซาเซ่ ใช้กำจัดวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง อัตรา 660–760 ซีซี/ไร่
เทคนิคการใช้สารคุมและฆ่าวัชพืชใ้ห้มีประสิทธิภาพ
  1. ชนิดของสารกำจัดวัชพืช ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
  2. คุณภาพของน้ำมีใช้ฉีดพ่น การหลีกเลี่ยงการใช้น้ำขุ่นหรือน้ำสกปรกมาก
  3. อัตราสารและปริมาณน้ำมีใช้ต่อพื้นที่ ต้องทราบปริมาณน้ำที่ใช้ต่อใช้ จึงจะให้การฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพราะอัตราสารที่ใช้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่ใช้ต่อไร่ ถ้าหากคำนวณปริมาณน้ำผิดพลาด นอกจากไม่ได้ผลแล้ว อาจเกิดอันตรายต่อต้นอ้อยด้วย  เนื่องจากได้รับสารน้อยหรือมากเกินไป
  4. สภาพก่อน/หลังฉีดพ่น เช่น ความชื้นฝน แสงแดด ลม ฯลฯ
  5. ต้องฉีดพ่นให้สม่ำเสมอและทั่วถึง
การวัดปริมาณน้ำที่ใช้ต่อพื้นที่ในการฉีดสารเคมีในไร่อ้อย
วัตถุประสงค์ :เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำที่ใช้ต่อไร่
วัสดุอุปกรณ์
  1. สายเทปวัดระยะ
  2. มาตรวัดน้ำ 1 ลิตร
  3. ถ้วยตวงน้ำทรงกรวย
  4. ถังน้ำพลาสติก
  5. นาฬิกา
  6. เครื่องฉีดยา 1 ชุด
  7. รถไถ
  8. รถบรรทุกน้ำ
  9. ยา
  10. แรงงาน
วิธีการปฏิบัติ
โดยการใช้ระยะเวลา 1 นาที/1 หัวฉีด (การทดสอบต้องเช็คทุกหัวฉีด)
ติดตั้งปั้มฉีดยาเสร็จ ติดเครื่องปั้มเปิดวาร์ว ตรวจเช็คความสม่ำเสมอของหัวฉีด เตรียมวัสดุต่างๆ ให้พร้อม เช่น ถังพลาสติก ถ้วยตวง  ฯลฯ เช็คน้ำเดินสม่ำเสมอทุกหัวฉีด จับเวลาพร้อมใช้ถังพลาสติกกรองรับน้ำจากหัวฉีด 1 หัว โดยจับเวลา 1 นาที พอครบนำถังน้ำออกมาทำการวัดโดยเทใส่กระบอกลิตรว่าได้จำนวนเท่าใด (มาตรฐาน  170–180  ลิตร/ไร่)
วัดน้ำเสร็จให้ทำการวัดระยะโดยการเคลื่อนไหวรถไถไปข้างหน้าพร้อมกับเดิน เครื่องฉีดยาโดยจับเวลา 1 นาที วัดจากเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด 1 นาที วัดระยะดูว่าเท่าไหร่ (ประมาณ 50 เมตร) และทำการวัดความกว้างของหัวฉีดด้วยทั้งหมดได้เท่าไหร่
การคำนวณ
น้ำ 1 หัวฉีด X จำนวนหัวทั้งหมด = น้ำที่ใช้ทั้งหมดต่อนาที เช่น 1 หัวฉีด 1 นาที วัดน้ำได้ 5 ลิตร
ถ้าทั้งหมดมี  8  หัว = 5 X 8
1 นาที จะใช้น้ำ = 40 ลิตร (8  หัวฉีด)
การคำนวณพื้นที่ = ความกว้างของหัวฉีดทั้งหมด X ระยะความยาวที่วัดได้ 1 นาที
สมมุติความกว้าง = 7.5  เมตร
ความยาว/นาที  = 50  เมตร
1 นาทีจะวัดได้พื้นที่  = 7.5 X 50
= 375  m2
ถ้าพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้น้ำเท่าไหร่
= 5 X 8 = 40 ลิตร/นาที
= 7.5 X 40 = 375 m2
ถ้าพื้นที่ 1 ไร่ = 1600  m2  จะใช้น้ำ = 40 คูณ 1600 หาร 375
1 ไร่ จะใช้น้ำ = 170.66 ลิตร/ไร่
การใส่ปริมาณยาก็ปฏิบัติตามฉลากได้
การปรับตั้งเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตามความต้องการ
  1. ปรับเปลี่ยนขนาดของหัวฉีดยา
  2. เพิ่มหรือลดจำนวนหัวฉีดยา
  3. เพิ่มหรือลดความเร็วของรถฉีด
  4. เพิ่มหรือลดแรงดันของปั้มฉีดยา ฯลฯ

การปลูกอ้อย พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ


การปลูกอ้อย

อ้อย
เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ  มีอายุเก็บเกี่ยว  10-12 เดือน เก็บผลผลิตได้  2-3  ปี  สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและ คุณภาพของอ้อยอ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท  ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ  ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง
การเตรียมพันธุ์
พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี  ตรงตามพันธุ์  ปราศจากโรคและแมลง  มีอายุประมาณ  8-10  เดือน  ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อยที่ตัดไว้แล้วในไร่  ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย  อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน)  ปลูกขยายได้ 10  ไร่     สำหรับแปลงพันธุ์  ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อนนาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว  และกอตะไคร้  จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล  อัตรา  66  ซีซี/น้ำ20  ลิตร  นาน  30  นาที  เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ  เหี่ยวเน่าแดง
และกลิ่นสัปปะรด
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน  สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น  2  ประเภท คือ
การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ
-  ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง
เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
-  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน  -  มิถุนายน
การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน     ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย  การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม
การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
-  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก
-  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด  เพื่อช่วยลด      ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง
วิธีการปลูก
-  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้  1.3  เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ2  ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
-  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว  ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง  และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ  และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง  และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่  โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก  และจะปลูกแถวคู่  ระยะแถว  1.4-1.5  เมตร  ระยะระหว่างคู่แถว  20-30  เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
การใส่ปุ๋ย
โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง ใช้สูตรที่ 2 สำหรับปาล์น้ำมันและพืชผักผลไม้
ใส่ปุ๋ยครั้งแรก : ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ไถ พลวน ชักร่องแล้วปลูก
ปริมาณ 60 – 80 กิโลกรัม / ไร่
ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง : ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 – 4 เดือน
ปริมาณเดิม 60 – 80 กิโลกรัม / ไร่
การป้องกันกำจัดวัชพืช
– ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน
-ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก
- ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก
- การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว  เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ  อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความ หวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช  และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข    คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
- การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ  หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย  แต่มีผลเสียตามมา  คือ
*  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน
*  ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
*  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
*  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
*  มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
- การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียม