|
เห็นแล้วน่าใช้นะครับ ราคาก็ไม่น่าจะสูงนัก แต่ดูแล้วก็คงตัดอ้อยแบบไม่ลิดใบ(อีกแล้ว)..
เรื่องการจัดสร้างเครื่องตัดอ้อยขึ้นใช้งานนี่นะ ผมว่าพี่ไทยเราก็เก่งไม่หยอก มุดดูต้นแบบแป๊บเดียวก็ลอกแบบมาทำเองได้แล้ว ผมว่าปัญหาส่วนหนึ่งอยู่ที่การตั้งราคาขายซึ่งต้องให้ได้กำไร
เราลองตั้งราคากันเล่นๆ ก่อนดีมั้ยครับ เผื่อผู้ผลิตมาอ่านเจอแล้วสนใจว่าน่าจะทำกำไรได้ จะได้ออกแบบโดยเอาราคาเป็นตัวตั้ง และประสิทธิภาพก็เป็นไปตามราคา
..ราคาที่ชาวไร่เห็นว่าสู้ได้ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ?
หรือจะเอาปริมาณงาน/วันเป็นตัวตั้ง แล้วออกแบบไปเรื่อยๆ เสร็จเมื่อไหร่ถึงจะรู้ราคา
.. ปริมาณการตัดอ้อย/วัน ที่ชาวไร่เห็นว่าเหมาะสม ควรเป็นเท่าไหร่ ?
หรือจะตั้งโจทย์โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างเช่น ปรับปรุงดัดแปลงจากรถไถเดินตาม ดัดแปลงจากรถไถเล็ก ดัดแปลงจากรถไถใหญ่.. ก็คงต้องช่วยๆ กันคิดนะครับ
|
ได้ยินมาว่า แต่ละปี สอน.ค้นหาเพื่อมอบรางวัลสำหรับชาวไร่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการไร่อ้อย และใช้เงินงบประมาณอีกไม่น้อยในงานทดลองวิจัย.. เป็นไปได้หรือไม่ที่ สอน.จะเจียดเงินบางส่วนเพื่อตั้งเป็นรางวัลสำหรับนวัตกรรมหรือคำตอบทีดีที่ สุด ตามโจทย์ที่ตั้งไว้.. ไม่ใช่นวัตกรรมอะไรก็ได้ซึ่งนั่นเป็นงานของ สวทช. แต่ขอให้เป็นไปตามโจทย์ของ สอน.เอง
เช่น ถ้า สอน.จะตั้งรางวัลสัก.. สมมุติว่า 100,000 สำหรับเครื่องสางใบอ้อยที่ทำงานได้ดีที่สุด และเกินระดับที่กำหนด ก็น่าจะสร้างแรงจูงใจให้นักประดิษฐ์ไทยสนใจลงสนามประลองปัญญา โดยที่รู้ว่าปลายทางของการลงแรงลงความคิด จะไม่สูญเปล่า
.. เคยมีส่วนร่วมในการออกแบบชิ้นงานด้านเครื่องกลของภาครัฐ ซึ่งเมื่อดำเนินการไปค่อนทาง อยู่ระหว่างการทดสอบ พบว่าการออกแบบเดิมจะใช้ไม่ได้ผลอย่างที่คาด การใช้เทคโนโลยีใหม่จะได้ผลดีกว่า แต่จำเป็นจะต้องดำเนินการต่อเพราะมีเงี่อนไขสัญญาเดิมบังคับไว้ สุดท้ายได้ชิ้นงานที่ตรงตามเงื่อนไข แต่ประสิทธิ์ภาพไม่สูงเท่าที่ควร.. ครับ ไม่มีการปรับปรุงต่อเพราะหมดงบและเจ้าของทุนมองว่าการทำต่อโครงการที่ 2 เพื่อปรับปรุงชิ้นงานเดิม แสดงให้เห็นความไม่สมบูรณ์ของโครงการที่ 1 .. ในอีกมุมหนึ่งอาจมองได้ว่าเป็นความไม่รู้รอบของเจ้าของทุนหรือไม่
.. การตั้งรางวัลสำหรับชิ้นงานที่สำเร็จแล้วจะให้ผลที่ต่างออกไป นักออกแบบจะสามารถปรับเปลี่ยนหลักการหรือเทคโนโลยีได้ตลอดเวลา ไม่ถูกจำกัดโดยเงื่อนไข ข้อบังคับ กฏระเบียบของทางราชการ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระโดยมุ่งความสำเร็จสูงสุดเป็นเป้าหมาย แน่ล่ะ นักออกแบบก็ต้องยอมรับการขาดทุนหากงานไม่สำเร็จหรือประสิทธิภาพสูงไม่เท่า นักออกแบบรายอื่น.. ในส่วนของเจ้าของรางวัลจะไม่เสียค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ .. หรืออาจไม่เสียเลย..
.. บังเอิญแอบได้ยินพี่ๆชาว สอน.คุยว่าปีนี้ สอน.ใช้เงินงบประมาณจำนวนมากเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับอ้อย.. หลายหัวข้อแทบจะต้องปีนบันไดไปนั่งฟังเพราะเป็นความรู้ระดับสูงส่งเป็น อุดมคติเหลือเกิน ทำให้อดน้อยใจ เสียดายแทนชาวไร่อย่างเราไม่ได้ เพราะอันที่จริงประดาความรู้ที่ได้สั่งสมกันมานานยังหาโอกาสนำมาใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน ไม่มีโครงการดีๆ สนับสนุน.. การรวบรวมองค์ความรู้ ณ วันนี้จะได้นำไปใช้เมื่อไร ในลักษณะใดกันอีกหนอ
.. อดคิดไม่ได้ว่า บางที ชาวไร่หน้าดำๆ ก็ไม่ได้ต้องการความรู้ระดับบริสุทธุ์ สูงส่งชนิดที่จับใช้ไม่ถึง แค่ต้องการ การสนับสนุนขั้นพื้นฐาน กับความรู้ระดับธรรมดาๆ ที่ใช้ได้ผลจริงสักครึ่ง ก็ได้นะเออ..
0 comments:
Post a Comment