ประโยชน์ที่ได้จากอ้อย
การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลนั่นเอง ในทางเคมีน้ำตาลส่วนใหญ่ที่ได้จากอ้อยเป็นน้ำตาลซูโครส นอกจากนี้ก็มีน้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลฟรักโทสอยู่ด้วย ซึ่งทั้งสองชนิดนี้รวมเรียกว่าน้ำตาลอินเวิร์ต
(invert sugar) ในทางการค้า น้ำตาลจากอ้อยมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามความบริสุทธิ์และกรรมวิธีในการผลิต เช่น น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลทรายแดง (brownฃ sugar, gur, jaggery, muscovado) น้ำตาลดิบหรือน้ำตาลทรายดิบ (raw sugar) น้ำตาลทรายขาวฃ (white sugar หรือ plantation white sugar) น้ำตาลฃทรายบริสุทธิ์ หรือน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์(refined sugar) อย่างไรก็ดี ในการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยโดยตรงนั้นมีผลผลอยได้ (by-products) เกิดขึ้น หลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่ ชานอ้อย กากตะกอน (filter mud, filter cake) และกากน้ำตาล (molasses) ทั้งน้ำตาลและผลพลอยได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อความสะดวกจะได้แยก กล่าวเป็น 2 พวก คือ การใช้ประโยชน์น้ำตาล และการใช้ประโยชน์ผลพลอยได้
การใช้ประโยชน์น้ำตาล
การใช้ประโยชน์น้ำตาลแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
ก. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ น้ำตาลมีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตในฐานะที่เป็นอาหารทั้งในรูปของอาหารคาว และหวาน นอกจากจะใช้เป็นอาหารโดยตรงแล้ว น้ำตาลยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม น้ำผลไม้กระป๋อง และเครื่องดื่มที่ไม่มีอัลกอฮอล์ ซึ่งได้แก่ น้ำขวดหรือน้ำอัดลมชนิดต่างๆ เป็นต้น
ข. ใช้ประโยชน์อย่างอื่น น้ำตาล (รวมทั้งแป้ง) สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางนับตั้งแต่ใช้ผลิตอัลกอฮอล์โดยขบวนการหมักดอง หรือเฟอร์เมนเตชัน (fermentation) ซึ่งอาศัยเชื้อยีสต์ (yeast) จนถึงการผลิตผงซักฟอก (detergents) โดยอาศัยปฏิกิริยาโดยตรงระหว่างน้ำตาลและไขมัน (fat) ผงซักฟอกประเภทนี้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากเพราะสามารถสลายตัวได้ โดยชีวินทรีย์ (biodegradable)
นอกจากนี้ น้ำตาลยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารเคลือบผิว (surfactant) สำหรับใช้ในการเกษตรสารดังกล่าวสลายตัวได้โดยชีวินทรีย์ เช่นเดียวกันอย่างไรก็ดีการใช้ประโยชน์ของน้ำตาลในรูปที่มิใช่เป็นอาหาร กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นโดยลำดับซึ่งจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบเกิดขึ้นเรื่อยๆ
การใช้ประโยชน์โดยตรง
1. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ส่วนของลำต้นที่เก็บน้ำตาลสามารถนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ได้เช่นทำเป็นอ้อย ควั่น หรือบีบเอาน้ำอ้อยเพื่อบริโภคโดยตรงหรือทำเป็นไอศกรีม เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ฃลำต้นประกอบอาหาร เช่น ต้มเค็มปลาได้อีกด้วย
2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบ ยอด และส่วนของลำต้นที่ยังอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัวควายได้โดยตรง แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลดีควรใช้วิธีหมักก่อนให้สัตว์กิน โดยใช้ยอดสด 100 กิโลกรัมกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม และน้ำ 1 กิโลกรัม
3. ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในอนาคตเมื่อเชื้อเพลิงที่ได้จากไม้หายาก ใบอ้อยแห้ง (trash) อาจจะเป็นแหล่งของพลังงานและเชื้อเพลิงที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะใบอ้อยแห้งให้พลังงานค่อนข้างสูงมาก กล่าวกันว่าคุณค่าของพลังงานที่ได้จากใบอ้อยแห้งของอ้อยที่ให้ผลผลิตไร่ละ 16 ตัน นั้นเพียงพอสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกลางทำงานได้ถึง 80 ชั่วโมง ในปัจจุบันใบอ้อยแห้งถูกเผาทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
4. ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน ใบอ้อยแห้งเมื่อใช้คลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชด้วย ในขณะเดียวกันก็จะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งบางพวกสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้ไนโตรเจนในดินเพิ่มขึ้นอันเป็นผลดีแก่อ้อย นอกจากนี้รากและเหง้าที่อยู่ในดินเมื่อเน่าเปื่อยผุพังก็จะเป็นปุ๋ย
http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1450
0 comments:
Post a Comment